ชื่อเรื่อง/Title ความเครียดและการจัดการความเครียดของวัยรุ่นในสถานศึกษาต่อสถานการณ์ความไม่สงบ อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา / Stress and Stress Management of School Adolescents Encountering the Situation of Unrest at Sabayoi District, Songkhla Province
     บทคัดย่อ/Abstract การศึกษาครั้งนี้วัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาระดับความเครียด และพฤติกรรมการจักการความเคียดของวัยรุ่นในสถานศึกษาต่อสถานการณ์ความไม่สงบ อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา กำลุ่มตัวอย่างจำนวน 300 คน เป็นนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 โรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งหนึ่งในอำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา โดยการสุ่มแบบโควต้า เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามซึ่งประด้วย 3 ส่วน คือ (1) ข้อมูลทั่วไป (2) แบบสอบถามความเครียด และ (3) แบบสอบถามการจัดการความเครียดจากครอบแนวคิดของเพนเดอร์ เมอร์ดาฟ และพาร์สัน ซึ่งแบบสอบถาม ส่วนที่ 2 และ ส่วนที่ 3 โดยคำนวณหาค่าสัมประสิทธิแอลฟ่าของครอนบาค (Cronbach's alpha coefficient) ของแบบสอบถามความเครียด และแบบสอบถามการจัดการความเครียด เท่ากับ 0.8 และ0.95 ตามลำดับ ผลการศึกษาพบว่าความเครียดของวัยรุ่นในสถานศึกษาในสถาการณ์ความไม่สงบโดยรวมและรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับปานกลาง โดยวัยรุ่นมีคะแนนเฉลี่ยความเครียดด้านการดำเนินชีวิตประจำวันสูงสุด รองลงมาคือ ด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม และด้านการเรียน ส่วนการจัดการความเครียด พบว่า วัยรุ่นในสถานศึกษามีพฤติกรรมการจัดการความเรียดโดยรวมและรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีคะแนนเฉลี่ยด้านการเพิ่มความต้านทานต่อความเครียดสูงสุด รองลงมาคือ ด้านการลดความถี่ของสถานการณ์ และด้านการสร้างเงื่อนไขเพื่อหลีกเลี่ยงการกระตุ้นทางสรีระวิทยาที่เกิดจากความเครียด ผลการศึกษาในครั้งนี้พบว่าวัยรุ่นในสถานศึกษามีความเครียดในการดำเนินชีวิตประจำวันมากกว่าด้านการเรียน ดังนั้นพยาบาลควรส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการความเครียดที่เหมาะสมของกลุ่มวัยรุ่นในอำเภอสะบ้าย้อย จังวัดสงขลา

This purpose of this study was to identify the level of stress and stress management of adolescents encountering the situation of unrest at Sabayoi District,Songkhla Province.Three hundred subjects were randomly samplied from 7th to 12th grade students in one school at Sabayoi district. A questionnaire was used for data collection. It consisted of three parts (1) General Data Form, (2) stress Questionaire, and (3) Stress Management Questionnaire based on Pender's frameword. Stress and stressManagement were scored on scale of 0-4. The content verified by three experts. Cronbach's alpha coefficient was used to test internal consistency of parts 2 and 3 of the questionaire giring the values of 0.84 and 0.95, respectively.
     ผู้ทำ/Author
Nameอรอุมา อุดมเศรษฐ์
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. คณะพยาบาลศาสตร์
     เนื้อหา/Content
เนื้อหา
     กลุ่มหัวเรื่อง: ด้านเศรษฐกิจและสังคม
--ปัญหาทางสังคม
ด้านสุขภาพอนามัย
--สุขอนามัยชุมชน
     Contributor:
Name: วันดี สุทธรังษี
Roles: ที่ปรึกษา
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
Address:สงขลา (Songkhla)
     Year: 2550
     Type: วิทยานิพนธ์/THESES
     Copyrights :
     Counter : 2171
     Counter Mobile: 31