ชื่อเรื่อง/Title การเสริมสร้างพลังอำนาจแก่พยาบาลประจำการโดยหัวหน้าหอผู้ป่วยในโรงพยาบาล 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ระหว่างสถานการณ์ความไม่สงบ: ตามการรับรู้ของพยาบาลประจำการ / Head Nurses
     บทคัดย่อ/Abstract การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาการเสริมสร้างพลังอำนาจแก่พยาบาลประจำการโดยหัวหน้าหอผู้ป่วยในโรงพยาบาล 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ระหว่างสถานการณ์ความไม่สงบ ตามการรับรู้ของพยาบาลประจำการ กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานภายใต้การบังคับบัญชาของหัวหน้าของผู้ป่วย โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลผู้ที่ปฏิบัติงานโรงพยาบาลศูนย์และโรงพยบาลทั่วไปใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ระหว่างสถานการณ์ความไม่สงบ อย่างน้อย 6 เดือนขึ้นไป จำนวน 188 คน สุ่มตัวอย่างแบบโควต้า เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นตามแนวคิดการเสริมสร้างพลังอำนาจของคองเกอร์ และคาร์ และคาร์นันโก ตรวจสอบความตรงของเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน คำนวณหาค่าความเทียงของเครื่องมือโดยใช้สัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคได้ค่าความเที่ยงทั้งฉบับเท่ากับ 0.96 จำแนกเป็นรายด้านได้ดังนี้ ด้านการบริหารงานแบบมีส่วนร่วมได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.90 ด้านการสร้างเป้ากมายงานได้ค่าความเที่ยงกับ 0.89 ด้านการเสริมแรงได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.89 ด้านการจัดระบบงานที่ท้าทายได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.85 และการทำตัวเป็นแบบอย่างได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.85 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐาน ผลการวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยการเสริมสร้างพลังอำนาจแก่พยาบาลประจำการโดยหัวหน้าหอผู้ป่วยโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง และมื่อจำแนกเป็นรายด้านพบว่า ด้านการสร้างเป้าหมายอยู่ในระดับมาก เพียงด้านเดียว ส่วนด้านอื่น ๆ อยู่ในระดับปานกลางตามลำดับ ดังนี้ ด้านการทำตัวเป็นแบบอย่าง การให้ข้อมูลย้อนกลับ การจัดระบบที่ท้าทาย การเสริมแรง และการบริหารแบบมีส่วนร่วม ผลการวิจัยครั้งนี้เป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับหัวหน้าหอผู้ป่วยในการวางแนการเสริมสร้างพลังอำนาจให้แก่พยาบาลประจำการต่อไป

the purpose of this descriptive research was to study level of head nurses' empowerment perceived by registered nurses in hospitals during the situation of unrest in the three border provinces, southern Thailand. subjects comprised 188 registered nurses working more than 6 months in regional hospitals and general hospitals in three border provinces, southem Thailand,selected by quota sampling technique. The instrument consisted of 2 parts: part(1) the demographic data form, part (2) the head nurses'empowerment perceived by registered nurses questionnaire which was developed by the researcher based on conger&kanungo's empowerment concept(1988).content validity was examined by three experts. reliability of part 2.was tested using cronbach's alpha coefficient. the totel alpha coefficient was 0.96 and that for the phase of participative management 0.90, the phase of goal setting 0.89, the phase of feed back system 0.89, the phase of contingent/competence based reward 0.89,the phase of job enrichment 0.85 and phase of modeling 0.85. the results were analyzed using frequency,percentage, mean and standard deviation.The overall mean score of the empowerment of head nurses perceived by registered nurses was at a medium level (x=3.47,Sd=0.98). the mean score of the phase of goal setting was at a high level(x=3.71,Sd=0.95),but those for the phase fo modeling(x=3.63,Sd=0.98),feed back system (x=3.49,Sd=0.88), job enrichment(x=3.38,Sd=0.98),contingent/competence based reward(x=3.38,Sd=0.98)and participative management(x=3.29,Sd=1.03)were at medium levels.the results can be used by head nurses in planning empowerment for registered nurses in the future.
     ผู้ทำ/Author
Nameพรสุมนต์ ผ่องใส
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. คณะพยาบาลศาสตร์
     เนื้อหา/Content
เนื้อหา
     กลุ่มหัวเรื่อง: ด้านเศรษฐกิจและสังคม
--ปัญหาทางสังคม
ด้านสุขภาพอนามัย
--หน่วยงานบริการสาธารณสุข
     Contributor:
Name: ปราโมทย์ ทองสุข
Roles: ที่ปรึกษา
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
Address:สงขลา (Songkhla)
     Year: 2550
     Type: วิทยานิพนธ์/THESES
     Copyrights :
     Counter : 1800
     Counter Mobile: 29