|
||||||||||||||||||||||
ชื่อเรื่อง/Title | การประเมินความเครียดและการเผชิญความเครียดของเจ้าหน้าที่สถานีอนามัยจากสถานการณ์ไม่สงบในภาคใต้ : กรณีศึกษาจังหวัดสงขลา / Stress Appraisal and Coping of Health Personnel from the Situation of Unrest in Southern Thailand: A Case Study at Songkhla Province | |||||||||||||||||||||
บทคัดย่อ/Abstract | การวิจัยเชิงบรรยายครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการประเมินความเครียดและการเผชิญความเครียดของเจ้ากน้าที่สถานีอนามัยต่อสถานการณ์ไม่สงบในภาคใต้ จังหวัดสงขลา กลุ่มตัวอย่างเป็นเจ้าหน้าที่สถานีอนามัยอำเภอสะบ้าย้อย อำเภอเทพา และอำเภอจะนะจำนวน 113 คน ยกเว้นลูกจ้างชั่วคราว เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวัดการประเมินความเครียดและแบบสอบถามการเผชิญความเครียดต่อสถานการณ์ไม่สงบของเจ้าหน้าที่สถานีอนามัยซึ่งได้ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน และตรวจสอบความเที่ยง โดยแบบสอบถามการประเมินความเครียดนำมาหาความเที่ยงของเครื่องมือโดยการทำการทดสอบซ้ำได้ค่า สัมประสิทธิ์สัมพันธ์แบบเพียร์สัน เท่ากับ.74 สำหรับแบบสอบถามการเผชิญความเครียดนำมาหาความสอดคล้องภายในโดยการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าครอนบาค ได้ค่าความเที่ยงทั้งฉบับ มีค่าเท่ากับ .88 ด้านมุ่งแก้ปัญกาเท่ากับ .87 และด้านมุ่งแก้อารมณ์เท่ากับ.78 ผลการวิจัยเกี่ยวกับการประเมินความเครียดพบว่า 1. เจ้าหน้าที่สถานีอนามัยร้อยละ 8.0 ถึง 56.6 ประเมินสถานการณ์ไม่สงบว่าเป็นอันตรายโดยร้อยละ 56.6 ประเมินว่าการส่งต่อผู้ป่วยในเวลากลางคืนเป็นอันตราย รองลงมา คือ การวางระเบิดในที่ต่าง ๆ และการที่ตำรวจ ครู ทหาร และข้าราชการถูกฆ่าตาย 2. เจ้าหน้าที่สถานีอยามัยร้อยละ 4.4 ถึง 42.5 ประเมินเหตุการณ์ไม่สงบว่าเป็นเหตุการณ์คุคาม โดยร้อยละ 42.5 ประเมินเกี่ยวกับการมีข่าว/แผ่นปลิวขู่ฆ่า วางระเบิด และวางเพลิง รองลงมา ประเมินการเผารถยนต์ของทหาร/ชาวบ้าน เผา/ทำลายสวนยางสวนผลไม้ ของตำรวจและชาวบ้านร้อยละ 33.6 และการลอบวางเพลิงที่พักสายตรวจบ้านพักตำรวจและขนำของตำรวจและของชาวบ้าน และประเมินการมีเอกสาร/แผ่นปลิวจูงใจให้โกรธรัฐบาล 3.เจ้าหน้าที่สถานีอนามัยร้อยละ 4.4 ถึง 26.5 ประเมินเหตุการณ์ไม่สงบว่าเป็นเหตุการณ์ ท้าทายโดยร้อยละ 26.5 ประเมินการประกาศเป็นพื้นที่ใช้กฎอัยการศึกของทางการ รองลงมาประเมินการมีตำรวจ ทหารกระจายอยู่ตามพื้นที่ต่าง ๆร้อยละ 22.1 และประเมินการแต่งกายที่คล้านคลึงประชาชนทั่วไป ร้อยละ 17.7 4.เจ้าหน้าที่สถานีอนามัยร้อยละ 3.5 ถึง 56.6 ประเมินเหตุการณ์ไม่สงบว่าไม่เครียดโดยร้อยละ 56.6 ประเมินเกี่ยวกับการแต่งกายที่คล้ายคลึงกับประชาชนทั่วไป รองลงมา คือ การไปตลาดเพื่อซื้ออาหาร/ของใช้มที่จำเป็นในการดำรงชีวิต ร้อยละ 43.4 และรจัดงานบุญประเพณีหมู่บ้าน/ชุมชน ร้อยละ 41.6 สำหรับวิธีการเผชิญความเครียด ผลการวิจัยพบว่า 1. เจ้าหน้าที่สถานีอนามัยร้อยละ 26.5 ถึง 59.3 ใช้วิธีการมีสติรู้เท่าทันความรู้สึกนึกคิด นอกจากนี้พบว่ามากกว่าร้อยละ 50 ใช้การค้นการค้นหาสาเหตุ กำหนดเป้าหมายในการแก้ปัญหาเป็นเรื่อง ๆ และหลีกเหลี่ยงการเดินทางผ่านพื้นที่เสี่ยงภัย ในระดับบางครั้งถึงปานกลาง ร้อยละ 57.6,ร้อยละ 55.7, ร้อยละ 53.1 ตามลำดับ 2. เจ้าหน้าที่สถานีอนามัยร้อยละ 15.0 ถึง 69.0 ใช้วิธีเผชิญความเครียดแบบมุ่งแก้อารมณ์บ่อยครั้งถึงทุกครั้ง โดยร้อยละ 69.0 คิดว่าสักวันเหตุการณ์คงดีขึ้น รองลงมาร้อยละ 67.3 ให้กำลังใจตนเองว่าไม่เบียดเบียนใครคงไม่คิดทำร้ายใคร นอกจากนี้ยังพบว่ากลุ่มตัวอย่างร้อยละ 69.0 ไม่เคยพกอาวุธไปทำงาน และร้อยละ 63.7 ไม่เคยร้องไห้เมื่อมีเหตุการณ์ไม่สงบ ผลการวิจัยสามารถนำมาใช้เป็นแนวทางในการวางแผนช่วยเหลือเจ้ากน้าที่สถานีอนามัยจัดการกับความเครียดที่เกี่ยวข้องกับการประเมินเหตุการณ์ไม่สงบให้สามารถเผชิญความเครียดได้อย่างเหมาะสมต่อไป |
|||||||||||||||||||||
ผู้ทำ/Author |
|
|||||||||||||||||||||
เนื้อหา/Content |
|
|||||||||||||||||||||
กลุ่มหัวเรื่อง: |
ด้านเศรษฐกิจและสังคม --ปัญหาทางสังคม ด้านสุขภาพอนามัย --หน่วยงานบริการสาธารณสุข |
|||||||||||||||||||||
Contributor: |
|
|||||||||||||||||||||
Publisher: |
|
|||||||||||||||||||||
Year: | 2549 | |||||||||||||||||||||
Type: | วิทยานิพนธ์/THESES | |||||||||||||||||||||
Copyrights : | ||||||||||||||||||||||
Counter : | 2205 | |||||||||||||||||||||
Counter Mobile: | 37 | |||||||||||||||||||||