ชื่อเรื่อง/Title การปฏิบัติของพยาบาลเพื่อช่วยเหลือบุคคลในช่วงวิกฤตการณ์ทางอารมณ์จากเหตุการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ / Nurses
     บทคัดย่อ/Abstract การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย(descriptive rsearch)มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการปฏิบัติของพยาบาล เพื่อช่วยเหลือบุคคลในช่วิกฤตทางอารมณ์จากเหตุการณ์ความไม่สงบร่วมใน3จังหวัดชายแดนภาคใต้ กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลวิชาชีพที่ได้รับมอบหมายจากหน่วยงานให้ร่วมรับผิดชอบ ในการให้การช่วยเหลือบุคคลในช่วงวิกฤตอารมณ์จากเหตุการณ์ความไม่สงบร่วมกับบุคลากร ของศูนย์วิกฤตสุขภาพจิตในโรงพยาบาล จำนวน 150 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ประกอบด้วย 2 ส่วนได้แก่ ส่วนที่ 1เป็นแบบสอบถามข้อมูลทั่วไปและส่วนที่2 เป็นแบบสอบถามการปฏิบัติของพยาบาล เพื่อช่วยเหลือบุคคลในช่วงวิกฤตทางอารมณ์จากเหตุการณ์ความไม่สงบใน3จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้นจากการทบทวนวรรณกรรม ลักษณะแบบสอบถามเป็นแบบประมาณค่า 5 ระดับ(1-5)ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา โดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน และวิเคราะห์ความเที่ยงโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค( Crobach's alpha coefficient)มีค่าความเที่ยงทั้งฉบับเท่ากับ0.90วิเคราะห์ข้อมูล โดยการแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างปฏิบัติเพื่อช่วยเหลือบุคคลในช่วงวิกฤตทางอารมณ์จากเหตุการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดน โดยรวมอยู่ในระดับปานกลางค่อนข้างมาก เมื่อพิจารณาการปฏิบัติของพยาบาลในรายได้ พบว่า การปฏิบัติของพยาบาลเกือบทุกด้านอยู่ในระดับปานกลางค่อนข้างมากเช่นเดียวกัน ได้แก่ ด้านการสนับสนุนด้านจิตใจ ด้านการสร้างเสริมความหวังในการจัดการกับปัญหาในอนาคตและด้านการส่งเสริมความหวังในการจัดการกับปัญหาในอนาคตและด้านการส่งเสริมความหวังในการจัดการกับปัญหาเฉพาะหน้า ส่วนด้านการความเชื่อมั่นและความไว้วางใจเพียงด้านเดียวที่มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก
ส่วนการปฏิบัติกิจกรรมการช่วยเหลือของกลุ่มตัวอย่างในแต่ละด้านเป็นดังนี้1)ด้านการสร้างความเชื่อมั่นและความไว้วางใจ พบว่า กลุ่มตัวอย่างปฏิบัติอยู่ในระดับมาก เกือบทุกกิจกรรม ยกเว้น การควบคุมอารมณ์ตนเองให้ผู้ได้รับผลกระทบเห็นเป็นแบบอย่างเมื่ออยู่ในเหตุการณ์ความรุนแรงกิจกรรมเดียวที่กลุ่มตัวอย่างปฏิบัติระดับปานกลางค่อนข้างมาก ด้านการสร้างเสริมความหวังในการจัดการกับปัญหาในอนาคต พบว่ากลุ่มตัวอย่างปฏิบัติเกือบทุกกิจกรรม ในระดับปานกลางค่อนข้างมาก ยกเว้น การปฏิบัติในเรื่อง การให้กำลังใจเมื่อผู้ได้รับผลกระทบพยายามวางแผนชีวิตการเป็นอยู่ในอนาคต เพียงกิจกรรมเดียวที่กลุ่มตัวอย่างปฏิบัติในระดับมาก ด้านการส่งเสริมการจัดการกับปัญหาเฉพาะหน้า กลุ่มตัวอย่างปฎิบัติเกือบทุกกิจกรรมในระดับปานกลางค่อนข้างมาก ยกเว้น การปฏิบัติในเรื่อง การประเมินความต้องการที่จำเป็นเฉพาะหน้าหลังเกิดเหตุการณ์รุนแรงเพื่อให้การช่วยเหลือเร่งด่วนที่กลุ่มตัวอย่างปฏิบัติในระดับมาก และระดับปานกลางค่อนข้างมากมีจำนวนข้อใกล้เคียงกัน
ผลการวิจัยสามารถเป็นข้อมูลส่งเสริมและพัฒนาพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานกับศูนย์วิกฤตสุขภาพจิตในการปฏิบัติการพยาบาล เพื่อการช่วยเหลือบุคคลในช่วงวิกฤตทางอารมณ์จากเหตุการณ์ความไม่สงบทั้งใน3จังหวัดชายแดนภาคใต้และเหตุการณ์ความรุนแรงที่อื่นๆ

     ผู้ทำ/Author
Nameศุภวรรณ ทองแดง
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. คณะพยาบาลศาสตร์
     เนื้อหา/Content
เนื้อหา
     กลุ่มหัวเรื่อง: ด้านเศรษฐกิจและสังคม
--ปัญหาทางสังคม
ด้านสุขภาพอนามัย
--สุขอนามัยชุมชน
--หน่วยงานบริการสาธารณสุข
     Contributor:
Name: บุญวดี เพชรรัตน์
Roles: ที่ปรึกษา
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
Address:สงขลา (Songkhla)
     Year: 2551
     Type: วิทยานิพนธ์/THESES
     Copyrights :
     Counter : 2409
     Counter Mobile: 30