ชื่อเรื่อง/Title ประสบการณ์การปฏิบัติหน้าที่ของพยาบาลในสถานการณ์ความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ / Nurse
     บทคัดย่อ/Abstract การศึกษาเชิงคุณภาพปรากฏการณ์วิทยาเเบบเฮอร์เมนิวติกครั้งนี้เพื่อบรรยายและอธิบายประสบการณ์การปฏิบัติหน้าที่ของพยาบาลในสถานการณ์ความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ผู้ให้ข้อมูลในการศึกษาครั้งนี้ คือ พยาบาลระดับต่างๆ ที่ปฏิบัติหน้าที่พยาบาลในสามจังหวัดชายเเดนภาคใต้ และมีประสบการณ์ในการปฏิบัติหน้าที่พยาบาลจากเหตุการณความไม่สงบจำนวน 11 ราย ซึ่งคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก และการบันทึกภาคสนาม ระหว่างเดือนธันวาคม พ.ศ. 2549 ถึง เดือนพฤษภาคมพ.ศ. 2550 วิเคราะห์ข้อมูลโดยผ่านการประยุกต์ใช้ขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปรากฏการณ์วิทยาเเบบเฮอร์เมนิวติกของเเวนมาเเนน (van Manen,1990)
ผลการศึกษาพบว่าผู้ให้ข้อมูลได้สะท้อนความหมายของการปฏิบัติหน้าที่ของพยาบาลในสถานการณ์ความไม่สงบใน 4 ลักษณะคือ 1) เป็นชีวิตที่มีเเต่อันตราย เสมือนปฏิบัติงานในสงคราม 2) เป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของพยาบาลที่ต้องยืนหยัดให้การช่วย เหลือดูเเลผู้ป่วย 3) เป็นความภูมิใจที่ได้ทำงานที่ท้าทาย 4) เป็นการปฏิบัติงานด้วยความระหวาดระเเวงในสถานการณ์ที่ขัดเเย้งและไม่เเน่นอน ส่วนความรู้สึกในการปฏิบัติหน้าที่ของพยาบาล ผู้ให้ข้อมูลสะท้อนความรู้สึกใน 3 ลักษณะคือ 1) เครียด 2) กลัวความไม่ปลอดภัย 3) เสียใจ สลดใจ และหดหู่ ผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตเเละการปฏิบัติหน้าที่ของพยาบาล ผู้ให้ข้อมูลสะท้อนผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตใน 5 ลักษณะคือ 1) การใช้ชีวิตส่วนตัวเกี่ยวกับการอยู่ลำบากขึ้น 2) ความไม่สะดวก แออัด และความไม่ป็นส่วนตัวในการใช้ชีวิตของพยาบาล เนื่องจากไม่สามารถกลับบ้านได้ 3) การเดินทางมาปฏิบัติงานลำบากเนื่องจากความไม่ปลอดภัยในการใช้รถโดยสารประจำทาง และมีการปิดถนนสายหลัก 4) มีเวลาอยู่กับครอบครัวเเละพบปะกับเพื่อนน้อยลง 5) กระทบต่อการใช้สิทธิลาราชการของพยาบาล ผลกระทบต่อการปฏิบัติหน้าที่ของพยาบาลโดยแบ่งเป็น 2 ลักษณะคือ 1) ผลกระทบต่อการปฏิบัติหน้าที่ในโรงพยาบาล พบว่า พยาบาลทำงานหนักขึ้น เนื่องจากมีผู้บาดเจ็บจำนวนมาก และ 2) ผลกระทบต่อการปฏิบัติหน้าที่ของพยาบาลที่ปฏิบัติหน้าที่นอกโรงพยาบาลมีลักษณะคือ (1) เผชิญความเสี่ยงในการส่งต่อผู้ป่วยเวลากลางคืน (2) เผชิญความเสี่ยงในการออกรับผู้ป่วย ณ จุดเกิดเหตุและการชันสูตรในเวลากลางคืน (3) การทำงานเชิงรุกร่วมกับชุมชนลดลง ส่วนปัญหาการปฏิบัติหน้าที่ของพยาบาลสะท้อนใน 5 ลักษณะคือ 1)อัตรากำลังไม่เพียงพอ เนื่องจากเจ้าหน้าที่ลาออก และต้องใช้เจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติหน้าที่เฉพาะในการส่งต่อ 2) ระบบการส่งต่อไม่เหมาะสม ทำให้เสียเวลาในการเดินทางระหว่างส่งต่อผู้ป่วย 3) ภาระงานเพิ่มขึ้นในเวรเช้าและนอกเวลาราชการ จากที่ผู้ป่วยไม่กล้ามารับการรักษาในเวลากลางคืน 4) อุปกรณ์ เครื่องมือไม่เพียงพอ จาที่มีผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้น 5) พยาบาลทำงานเสี่ยงเเต่ไม่ได้รับเงินปฏิบัติงานพื้นที่พิเศษ สิทธิบัตรเหรียญชายเเดน เหรียญพิทักษ์เสรีชน การเเก้ปัญหาและการปรับตัวในการปฏิบัติหน้าที่ของพยาบาลสะท้อนใน 8 ลักษณะคือ1) ปรับระบบการส่งต่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ 2) งดออกนอกชันสูตรนอกโรงพยาบาล 3) มีมาตราคัดกรองและตรวจสอบก่อนการับผู้ป่วย ณ จุดเกิดเหตุ 4) มี แนวปฏิบัติในการเดินทางเพื่อความปลอดภัย 5) ไม่ควรเเต่งกายชุดเครื่องแบบในขณะเดินทางไปปฏิบัติงาน 6) เพิ่มระบบรักษาความปลอดภัย 7) สำรองเครื่อมือให้พร้อมใช้ตลอด 8) เตรียมความพร้อมฉุกเฉินตลอดเวลา และการประกาศใช้แผนอุบัติเหตุหมู่ ส่วนปัจจัยส่งเสริมให้พยาบาลยังคงปฏิบัติหน้าที่ของพยาบาลในสถานการณ์ความไม่สงบสะท้อนใน 3 ลักษณะ 1) เป็นคนในพื้นที่ ภูมิลำเนาอยู่ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ 2) ผูกพันกับสถานที่ทำงาน 3) ย้ายไม่ได้ เขาไม่ให้ย้าย ไม่มีใครมาแทน
ผลการศึกษาครั้งนี้ ทำให้ผู้วิจัยเกิดจากอย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับประสบการณ์การปฏิบัติหน้าที่ของพยาบาลในสถารการณ์ความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ข้อมูลที่ได้สามารถใช้เป็นแนวทางในการให้การพยาบาลผู้ป่วยจากสถานการณ์ความไม่สงบ โรงพยาบาลใช้ในการวางแผนเตรียมรับผู้ป่วยจากสถานการณ์ความไม่สงบ อีกทั้งยังป็นข้อมูลพื้นฐานในการศึกษาวิจัยในประเด็นที่เกี่ยวข้องต่อไป

     ผู้ทำ/Author
Nameสุนีย์ เครานวล
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. คณะพยาบาลศาสตร์
     เนื้อหา/Content
เนื้อหา
     กลุ่มหัวเรื่อง: ด้านเศรษฐกิจและสังคม
--ปัญหาทางสังคม
ด้านสุขภาพอนามัย
--หน่วยงานบริการสาธารณสุข
     Contributor:
Name: อุไร หัถกิจ
Roles: ที่ปรึกษา
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
Address:สงขลา (Songkhla)
     Year: 2551
     Type: วิทยานิพนธ์/THESES
     Copyrights :
     Counter : 2381
     Counter Mobile: 32