|
||||||||||||||||||||||
ชื่อเรื่อง/Title | ประสบการณ์อารมณ์ซึมเศร้าและการจัดการอารมณ์ซึมเศร้าของครูในสถานการณ์ความไม่สงบในภาคใต้ / Experinces and Management of Depressive Mood among Teachers in the Unrest Situation Areas of Southern Thailand | |||||||||||||||||||||
บทคัดย่อ/Abstract | การวิจัยเชิงบรรยายนี้มีวัตุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์อารมณ์ซึมเศร้าและการจัดการอารมณ์ซึมเศร้าของครูในสถานการณ์ความไม่สงบภาคใต้ กลุ่มตัวอย่างจำนวน250คนได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มหลายขั้นตอน(Multi-stage cluster sampling)จากครูในจังหวัดยะลา แบบสอบถามประกอบด้วยส่วนที่ 1ข้อมูทั่วไปส่วนที่2ประสบการณ์อารมณ์ซึมเศร้าเกี่ยวกับการรับรู้อารมณ์ซึมเศร้า และการรับรู้ความรุนแรงและส่วนที่3 การจัดการอารมณ์ซึมเศร้าตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา โดยผู้ทรงคุณวุฒิ3ท่านและ ความเที่ยงโดยวิธีการสอบซ้ำได้ค่าของความสอดคล้องของแบบสอบถามประสบการณ์อารมณ์ซึมเศร้าร้อยละ93 ของการจัดการอารมณ์ซึมเศร้า อยู่ในช่วง80ถึ89.3วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย ผลการวิจัยได้ดังนี้ 1.ร้อละ76.4ของกลุ่มตัวอย่างมีประสบการณ์อารมณ์ซึมเศร้า โดยร้อยละ 81.7มีความรู้สึกจิตใจหม่นหมอง รองลงมาร้อยละ62.3มีความรู้สึกไม่มีความสุข หมดสนุกกับที่เคยทำและร้อยละ47.1มีความรู้สึกเป็นทุกข์จนอยากร้องไห้ ส่วนการรับรู้ความรุนแรงอารมณ์ซึมเศร้าพบว่าส่วนใหญ่ร้อยละ37.8-53.3 รับรู้ว่ายุในระดับนปานกลาง เพียงร้อยละ83.9ในระดับมาก 2.กลุ่มตัวอย่างร้อยละ98.32-มีการจัดการอารมณ์ซึมเศร้าโดยการปรับความคิดการผ่อนคลาย และการใช้แหล่งสนับสนุน โดยร้อยละ94.1-96.6ใช้วิธีการค้นหาสิ่งดีๆที่เกิดจากเหตุการณ์ ร้อยละ94.4-96.1ทำใจยอมรับ ร้อยละ91.1-98.3ทำกิจกรรมยามว่างร้อยละ88.9-95.5 พูดระบายกับผู้อื่น ร้อยละ 84.6-93.6การขอพรจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ร้อยละ83.8-86.5ใช้การจินตนาการร้อยละ 76.9-82.6ใช้กำลังกาย วนการจัดการด้านลบพบว่ากลุ่มตัวอย่างร้อยละ13-18มีการเลือกใช้ร้อยละ86.7-65.2ของจำนวนนี้มีการใช้สุรา บุหรี่การทำร้ายตนเอง ผลการศึกษาครั้งนี้สะท้อนให้เห็นถึงประสบการณ์อาการจากอารมณ์ซึมเศร้าและความหลากหลายของการเลือกใช้วิธีการจัดการอารมณ์ซึมเศร้า ซึ่งสามารถนำมาเป็นข้อมูลพื้นฐานในการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการอารมณ์ซึมเศร้าที่เกิดขึ้นในครูได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบต่อไป |
|||||||||||||||||||||
ผู้ทำ/Author |
|
|||||||||||||||||||||
เนื้อหา/Content |
|
|||||||||||||||||||||
กลุ่มหัวเรื่อง: |
ด้านเศรษฐกิจและสังคม --ปัญหาทางสังคม ด้านการศึกษา --บุคลากรทางการศึกษา ด้านสุขภาพอนามัย --สุขอนามัยชุมชน |
|||||||||||||||||||||
Contributor: |
|
|||||||||||||||||||||
Publisher: |
|
|||||||||||||||||||||
Year: | 2551 | |||||||||||||||||||||
Type: | วิทยานิพนธ์/THESES | |||||||||||||||||||||
Copyrights : | ||||||||||||||||||||||
Counter : | 1812 | |||||||||||||||||||||
Counter Mobile: | 36 | |||||||||||||||||||||