|
||||||||||||||||||||||
ชื่อเรื่อง/Title | ความสามารถของพยาบาลในการช่วยเหลือด้านจิตใจแก่ผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบในภาคใต้ : กรณีศึกษาโรงพยาบาลชุมชนจังหวัดสงขลา / Nurses | |||||||||||||||||||||
บทคัดย่อ/Abstract | การวิจัยเชิงบรรยายครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถตามการรับรู้ของพยาบาลโรงพยาบาลชุมชนในการช่วยเหลือด้านจิตใจแก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบในภาคใต้ กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลโรงพยาบาลชุมชนในอำเภอจะนะ เทพา นาทวี และอำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา ซึ่งปฏิบัติงานในการให้การช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบจำนวน 140 คน เครื่องมือเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นประกอบด้วย 2 ส่วน คือ 1)ข้อมูลทั่วไป และ 2)ความสามารถของพยาบาลในการช่วยเหลือด้านจิตใจแกผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบในภาคใต้ ซึ่งมี 5 ระดับ (0-4) ตรวจสอบความตรงด้านเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน และหาความเที่ยงโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ทั้งรายด้านและโดยรวม ได้ค่าเที่ยงของแบบสอบถามส่วนที่ 2 เท่ากับ 0.96 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงบรรยาย ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างรับรู้ว่ามีความสามารถโดยรวมในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่พยาบาลมีความสามารถในระดับปานกลางมี 3 ด้าน ดังนี้ ด้านการสร้างสัมพันธภาพ ด้านการให้การช่วยเหลือ และด้านการส่งต่อ ส่วนที่พยาบาลมีความสามารถในระดับน้อย คือด้านการรวบรวมข้อมูลและประเมินสภาพปัญหา ด้านการสร้างสัมพันธภาพ พบว่าข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดและอยู่ในระดับปานกลาง คือ การรับฟังผู้ได้ผลกระทบระบายด้วยท่าทีที่สงบ อบอุ่นเป็นมิตร ข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดและอยู่ในระดับน้อย คือ การอธิบายวัตถุประสงค์ของการช่วยเหลือด้านจิตใจได้อย่างชัดเจน ด้านการวบรวมข้อมูลและประเมินสภาพปัญหา พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดและอยู่ในระดับปานกลาง คือ การสังเกตสีหน้าและท่าทางและสามารถพูดตุยซักประวัตที่แสดงถึงความต้องการเร่งด่วนของผู้ได้รับผลกระทบ ข้อที่ได้ค่าเฉลี่ยต่ำสุดและอยู่ในระดับน้อย คือ การค้นหาแหล่งสนับสนุนทางสังคมให้กับผู้ได้รับผลกระทบ เช่น สภาพครอบครัว ฐานะทางเศรษฐกิจ ชุมชนหน่วยงานราชการหรือเอกชน ด้านการให้ความช่วยเหลือพบว่า ข้อที่มีค่เฉลี่ยสูงสุดและอยู่ในระดับปานกลาง คือ การจัดสิ่งแวดล้อมทางกายภาพให้มีความปลอดภัยและทำให้รู้สึกผ่อนคลาย ข้อที่มีค่เฉลี่ยต่ำสุดและอยู่ในระดับน้อย คือ การจัดกิจกรรมส่งเสริมความมั่นใจโดยให้ผู้ได้รับผลกระทบมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับผู้ที่มีประสบการณ์มรก่อนเเละสามารถปรับตัวได้ ด้านการส่งต่อ พบว่าข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดและอยู่ในระดับปานกลาง คือ การดำการส่งต่อได้อย่างถูกต้องรวดเร็วและมีความเหมาะสม และข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดและอยู่ในระดับน้อยสุด คือ การประเมิน/วินิจฉัยถึงอาการผิดปกติ เช่น อาการหวาดกลัวมาก อยู่ไม่นิ่ง ไม่สามารถดำรงชีวิตได้ตามปกติของผู้ได้รับผลกระทบเพื่อการส่งต่อ ผลการศึกษาครั้งนี้ สามารถใช้เป็นเเนวทางในการพัฒนาความสามารถของพยาบาลในการช่วยเหลือด้านจิตใจเเก่ผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบได้มากขึ้น |
|||||||||||||||||||||
ผู้ทำ/Author |
|
|||||||||||||||||||||
เนื้อหา/Content |
|
|||||||||||||||||||||
กลุ่มหัวเรื่อง: |
ด้านเศรษฐกิจและสังคม --ปัญหาทางสังคม ด้านสุขภาพอนามัย --สุขอนามัยชุมชน --หน่วยงานบริการสาธารณสุข |
|||||||||||||||||||||
Contributor: |
|
|||||||||||||||||||||
Publisher: |
|
|||||||||||||||||||||
Year: | 2551 | |||||||||||||||||||||
Type: | วิทยานิพนธ์/THESES | |||||||||||||||||||||
Copyrights : | ||||||||||||||||||||||
Counter : | 1608 | |||||||||||||||||||||
Counter Mobile: | 41 | |||||||||||||||||||||