ชื่อเรื่อง/Title รายงานผลการวิจัยสภาพการมีงานทำและการว่างงานในชุมชนมุสลิมจังหวัดชายแดนภาคใต้ / Employment and Unemployment Situations in Muslim Communities of southern Border Provinces
     บทคัดย่อ/Abstract การวิจัยเรื่อสภาพการมีงานทำและการว่างงานในชุมชนมุสลิมจังหวัดชายแดนใต้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการมีงานทำ สภาพการว่างงาน สาเหตุการว่างงาน ปัญหาที่เกิดจากการว่างงสนและความคิดเห็นเกี่ยวกับงานอาชีพของประชาชนในมุสลิมจังหวัดชายแดนภาคใต้ ประชากรเป้นตัวแทนครัวเรือยมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 500 ราย ซึ่งได้มาด้วยวิธีกานสุ่มแบบผสม รวบรวมข้อมูลโดยผู้วิจัยและผู้ช่วยวิจัย โดยใช้แบบสัมภาษณ์ที่สร้างขึ้น การวิเคราะห์เนื้อหาจากแบบสัมภาษณ์<br /> ผลการวิจัยพบว่าลักษณะทั่วไปของประชากรที่ศึกษาส่วนใหญ่เป็นครัวเรือนเกษตรกรรม การมีงานทำอยุ่ในอัตราต่ำเนื่องจากขาดปัจัจยการผลิต กิจกรรมทางเศรษฐกิจบางอย่างไม่เหมาะสมกับชาวมุสลิม แรงงานบางส่วนขาดทักษะการทำงาน นอกจากนั้นมีการทำงานในลักษณะชั่วคราว การว่างานแอบแฝงและการว่างงานตามฤดูกาลในภาคเกษตรกรรม ขณะเดียวกันแรงงานนอกภาคการเกษตรมีการทำงานต่ำกว่าระดับ โดยจะทำงานในลักษณะไม่แน่นอน แรงงานภาคเกษตรกรรมส่วนหนึ่งเคยเปลี่ยนงานเพราะรายได้ต่ำ ส่วนแรงงานภาคบริการและภาคอุตสาหกรรมเคยเปลี่ยนงานเพราะสวัสดิการไม่ดี ไม่สะดวกในการปฏิบัติศาสนกิจ<br /> แรงงานที่ทำงานนอกชุมชนและต่างประเทศส่วนใหญ่ทำงานภาคบริการและภาคอุตสาหกรรมสาเหตุที่ต้องทำงานนอกชุมชนเพราะในชุมชนไม่มีงาน ขาดปัจจัยการผลิต งานในภาคบริการส่วนใหญ่เป็นงานชั่วคราวใช้ทักษะฝีมือต่ำ ส่วนอาชีพที่ใช้ทักษะสูงมีการสร้างงานไม่มากในพื้นที่ ขณะที่งานในภาคอุตสาหกรรมส่วนใหญ่เป็นกรรมกรในโรงเรียนอุตสาหกรรมประมง ส่วนอุตสาหกรรมเกษตรและอุตสาหกรรมอื่น ๆ ขยายตัวต่ำแรงงานที่ออกทำงานนอกชุมชนหรือต่างประเทศได้รับรายได้ต่ำและสวัสดิการไม่ดี<br /> อัตราการว่างงานเท่ากับร้อยละ 4.62 เพราะอาชีพที่ขยายตัวเป็นอาชีพที่ไม่สอดคล้องกับวิถีชีวิตชาวมุสลิมส่วนอาชีพที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของชาวมุสลืมตลาดแรงงานหดตัว การว่างงานสูงในชุมชนประมง ในกลุ่มสตรีโสด หย่าร้างหรือหม้าย และในกลุ่มที่มีอายุต่ำกว่า 25 ปี อย่างไรก็ตามภาวะการว่างงานเมื่อวิเคราะห์ความแปรปรวนจำแนกตามตัวแปรต่าง ๆก็พบว่าไม่แตกต่างกัน<br /> สาเหตุที่ว่างงานไม่ทำงานในชุมชนเพราะขาดปัจจัยการผลิต งานให้รายได้ต่ำ คนงานขาดทักษะ แหล่งงานไม่ต้องการ หาผู้รับรองเข่าทำงานไม่ได้ ไม่สะดวกในการเดินทาง การหางานทำผู้ที่ว่างงานจะหาเองหรือให้ญาติหรือเพื่อนหาให้ ปัญหาที่เกิดจากการกระทำของผู้ที่ว่างงาน ผู้ว่างงานส่วนใหญ่อยู่ว่าง ๆ ประกอบกับขาดความรู้ด้านศาสนาที่สั่งสอนให้มุสลิมทุกคนทำงานเพื่อหารายได้เลี้ยงชีวิตจึงดกิดการชักจูงกันเสพยาเสพติด การลักขโมยและอาชญากรรมตามมา<br /> ประชาชนส่วนใหญ่รู้วัตถุประสงค์ของการทำงานว่า "การทำงานเป็นการปฏิบัติศาสนกิจอย่างหนึ่ง" การเลือกอาชีพจึงไม่ได้ใช้เกณฑ์รายได้อย่างเดียวแต่จะใช้เกณฑ์ศาสนาอนุมัติและความสะดวกในการปฏิบัติศาสนกิจด้วย ประชาชนจึงไม่ยอมรับอาชีพบริการหลายๆ อาชีพที่มีรายได้สูง เช่น นักร้อง นักแสดง พนักงานสถานเริงรมย์พนักงานห้องอาหาร ลูกเรือประมง ช่างเสริมสวยพนักงานสถาบันการเงิน เพราะเป็นอาชีพที่ขัดกับหลักการศาสนาและไม่สะดวกต่อการปฏิบัติศาสนกิจ สาเหตุดังกล่าวทำให้อัตราการว่างงานในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้สูงกว่าพื้นที่อื่น ๆ เพราะผู้ที่ว่างงานนอกจากจะใช้เกณฑ์รายได้แล้วยังใช้เกณฑ์ศาสนาอนุมัติและความสะดวกต่อการปฏิบัติศาสนกิจด้วย

     ผู้ทำ/Author
Nameอาหวัง ล่านุ้ย
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
Nameอับดุลรอซีด เจะมะ
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาลัยอิสลามศึกษา
Nameกุสุมา ล่านุ้ย
Organization มหาวิทยาลัยอิสลามศึกษา คณะศึกษาศาสตร์
     เนื้อหา/Content
บทความ
     กลุ่มหัวเรื่อง: ด้านเศรษฐกิจและสังคม
--ปัญหาทางสังคม
อิสลามศึกษา
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2540
     Type: บทความ/Article
     Copyrights :
     Counter : 5729
     Counter Mobile: 54