ชื่อเรื่อง/Title การพัฒนารูปแบบการสนับสนุนฟื้นฟูอดีตผู้ถูกควบคุมตัวด้วยกฎหมายพิเศษกลับคืนสู่สังคม ในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ โดยใช้วิธีการทางพฤติกรรมศาสตร์ / The Development of A Support Model for Rehabilitation of Ex-prisoners Under the Internal Security Act in the Areas of Southern Borders Based on Behavioral Science Approach
     บทคัดย่อ/Abstract โครงการวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนจากกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมประเภททุนงานมูลฐาน (Fundamental Fund : FF)ประจำปีงบประมาณ 2565 รหัสโครงการ IPS65051375 การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพจิตใจ ชีวิตความเป็นอยู่ การประกอบอาชีพ และแนวทางการช่วยเหลือในปัจจุบัน และเพื่อพัฒนารูปแบบการสนับสนุนฟื้นฟูคุณภาพชีวิตของอดีตผู้ถูกควบคุมตัวด้วยกฎหมายพิเศษภายหลังการกลับคืนสู่สังคมพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยใช้วิธีการทางพฤติกรรมศาสตร์โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม พื้นที่ในการวิจัย คือ พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดนราธิวาส และจังหวัดยะลา ผู้ให้ข้อมูล แบ่งเป็น 4 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มบุคคลที่เคยถูกคุมขังจากการกระทำความผิดต่อกฎหมายเพื่อก่อความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ภายหลังได้รับการปล่อยตัวกลับคืนสู่ชุมชนอย่างน้อย 1 - 2 ปี จำนวน 23 คน 2) ผู้บริหารหรือผู้แทนหน่วยภาครัฐที่รับผิดชอบและมีประสบการณ์ช่วยเหลือ เยียวยาฟื้นฟู ไม่น้อยกว่า 5 ปี จำนวน 15 คน 3) ผู้แทนภาคประชาสังคมที่ทำงานด้านการช่วยเหลือเยียวยา ฟื้นฟู ไม่น้อยกว่า 5 ปี จำนวน 4 คน และ 4) กลุ่มผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ เช่น ครอบครัวของกลุ่มตัวอย่างผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา จำนวน 20 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม และการจัดกิจกรรมเชิงปฏิบัติการ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. ภายหลังการกลับคืนสู่สังคมกลุ่มอดีตผู้ถูกควบคุมตัว ส่วนใหญ่มีสภาวะด้านจิตใจ เครียด หวาดระแวงและวิตกกังวล มีสาเหตุมาจากการมีรายได้ไม่เพียงพอและมีหนี้สิน การเกิดเหตุการณ์ความรุนแรงในพื้นที่ และการมีทหารมาเยี่ยมเยียนที่บ้าน ด้านสภาพความเป็นอยู่ พบว่ามีบางกลุ่มถูกตีตราจากคนในชุมชน แต่มีความพยายามปรับตัวเพื่ออยู่ร่วมกันในชุมชน และส่วนใหญ่มีความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัว ด้านการประกอบอาชีพ พบว่าส่วนใหญ่มีอาชีพกรีดยางพารา และรับจ้างทั่วไป โดยพบว่าส่วนใหญ่มีความต้องการช่วยเหลือด้านการประกอบอาชีพเพื่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สำหรับการช่วยเหลือสนับสนุนฟื้นฟูคุณภาพชีวิต พบว่าปัจจุบันมีเครือข่ายสนับสนุนฟื้นฟูคุณภาพชีวิต ทั้งจากหน่วยงานภาครัฐที่จัดตั้งขึ้นหรือมีอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบทั้งโดยตรงและมีส่วนเกี่ยวข้อง และหน่วยงานภาคประชาสังคม NGO 2. รูปแบบการสนับสนุนฟื้นฟูอดีตผู้ถูกควบคุมตัวด้วยกฎหมายพิเศษกลับคืนสู่สังคมในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ โดยใช้วิธีการทางพฤติกรรมศาสตร์ ควรใช้หลักการมีส่วนร่วมตามความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านของหน่วยงาน/องค์กร NGOs ในพื้นที่ โดยกระบวนการดำเนินงาน ประกอบด้วย 3 ระยะ คือ กระบวนการดำเนินงานช่วงต้นน้ำ มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมในกระบวนการประเมินด้านสุขภาพจิตการประเมินความต้องการช่วยเหลือ/สนับสนุน และการกำหนดแนวทางให้ความช่วยเหลือเป็นรายบุคคลภายหลังกลับคืนสู่สังคมกระบวนการดำเนินงานช่วงกลางน้ำ มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมในกระบวนการช่วยเหลือฟื้นฟูและการพัฒนาทักษะที่จำเป็นของทีมสหวิชาชีพ เพื่อให้กระบวนการช่วยเหลือฟื้นฟูอดีตผู้ถูกควบคุมตัวสามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพกระบวนการดำเนินงานช่วงปลายน้ำ มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมในกระบวนการประเมินและติดตามผลด้านสุขภาพจิต ทักษะทางสังคม การใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคม และการสร้างรายได้/อาชีพ ของอดีตผู้ถูกควบตัวด้วยกฎหมายพิเศษภายหลังการกลับคืนสู่สังคม

     ผู้ทำ/Author
Nameจิราภรณ์ เรืองยิ่ง
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Nameอัจฉราพรรณ กันสุยะ
Organization มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
Nameดนุวัศ สุวรรณวงศ์
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
     เนื้อหา/Content
Cover
Abstract
Acknowledgements
Contents
Chapter1
Chapter2
Chapter3
Chapter4
Chapter5
References
Appendix
     กลุ่มหัวเรื่อง: --ปัญหาทางสังคม
     Contributor:
Name: กองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
Roles: ผู้สนับสนุนทุนวิจัย
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2565
     Type: งานวิจัย/Research Report
     Copyrights :
     Counter : 124
     Counter Mobile: 0