ชื่อเรื่อง/Title การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานที่ส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาทักษะการเรียนรู้สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี / The Development of Blended Learning Model to Enhance Learning Achievement in Learning Skills Students in Junior High School under the Office of the Non-Formal and Informal Education of Panare district
     บทคัดย่อ/Abstract การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานที่ ส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาทักษะการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียนในรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานที่ ส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาทักษะการเรียนรู้ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อ รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 72 คนโดยการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) แบ่งเป็นกลุ่มตัวอย่างในการหาประสิทธิภาพจำนวน 42 คน และตัวอย่างในการศึกษาผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนและศึกษาความพึงพอใจจำนวน 30 คน เครื่องมือในการวิจัยได้แก่รูปแบบการจัดการ เรียนการสอนแบบผสมผสาน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห?ข?อมูลด?วย ค?าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่าที (t-test dependent) ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานที่ส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนวิชาทักษะการเรียนรู้ที่ได้พัฒนาขึ้น พบว่ามีประสิทธิภาพ 81.17/81.78 2) ผลการ เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนในรูปแบบการจัดการเรียนการ สอนแบบผสมผสานเพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาทักษะการเรียนรู้ ผลปรากฏว่า ผลการ เรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) ความพึงพอใจของผู้เรียนที่มี ต่อการเรียนในรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสาน อยู่ในระดับมาก (X= 4.30 S.D. = 0.75)

The purposes of this study are: 1) to develop the blended learning model to enhance learning achievement in learning skills with efficiency of 80/80, 2) to compare the learning achievement of students between pretest and posttest based on the blended learning model, and 3) to investigate the students? attitude towards the learning by blended learning model. The subjects of this research were selected by Cluster random sampling method from junior high school under the office of the non formal and informal education of Panare District, Pattani Province in the semester 2 of the academic year 2020. All subjects were randomly selected and equally divided into 2 groups for treatment as follows: 42 student for try-out, and 30 students for learning achievement test and the student attitude toward the learning by blended learning model. The research instrument consisted of blended learning model to enhance learning achievement in learning skills, achievement test, the questionnaire of students satisfaction. The collected data were analyzed using a means, a standard deviation and the t-test for dependent. The results revealed that are: 1) the development of blended learning model to enhance learning achievement in learning skills the efficiency of 81.17/81.78, 2) to compare the students? between pretest and posttest who were instructed through the blended learning model to enhance learning achievement in learning skills showed that the posttest was significantly higher than pretest at the .01 level significantly, and 3) the student attitude toward the lesson indicated that the students were satisfied with the blended learning model at high level. (X=4.30 S.D. = 0.75)
     ผู้ทำ/Author
Nameนารียะ เจะโนะ
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. คณะศึกษาศาสตร์
     เนื้อหา/Content
Cover
Abstract
Acknowledgements
Contents
Chapter1
Chapter2
Chapter3
Chapter4
Chapter5
References
Appendix
Vitae
     กลุ่มหัวเรื่อง: ด้านการศึกษา
--การจัดการศึกษา
--นโยบายทางการศึกษา
     Contributor:
Name: วิชัย นภาพงศ์
Roles: ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2564
     Type: วิทยานิพนธ์/THESES
     Copyrights :
     Counter : 216
     Counter Mobile: 0