ชื่อเรื่อง/Title ลีลาวาทศิลป์ในการแปลความหมายอัลกุรอานฉบับภาษาไทย สูเราะฮฺอัรเราะหฺมาน / Rhetorical stylistics in Thai Translated Version of the Hoiy Quran withSpecial Reference to Surah al-Rahman
     บทคัดย่อ/Abstract การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเอกสารมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาการแปลความหมายอัลกุรอานในทรรศนะของนักวิชาการมุสลิม 2) เพื่อศึกษาประวัติการแปลความหมายอัลกุรอานเป็นภาษาไทย 3) เพื่อศึกษาลีลาวาทศิลป์ในการแปลความหมายอัลกุรอานฉบับภาษาไทยสูเราะฮฺอัรเราะห์มาน โดยศึกษาข้อมูลเอกสารจากคัมภีร์อัลกุรอาน อัลหะดีษ ตำราวิชาการ งานวิจัย และเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวบรวมและเรียบเรียงข้อมูลตามลำดับของแต่ละหัวข้อตามวัตถุประสงค์การวิจัยโดยมีแบบบันทึกเป็นเครื่องมือ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้หลักการอรรถาธิบายอัลกุรอาน หลักการพิจารณาอัลหะดีษ หลักการทางประวัติศาสตร์ หลักการวาทศิลป์ และหลักการตัรญหฺ (หลักการชั่งน้ำหนักหลักฐาน) นำเสนอข้อมูลในรูปแบบตารางและรูปแบบการพรรณนา วิเคราะห์ด้วยการเขียนบรรยายผล<br /><br /><br /> ผลการวิจัยพบว่า 1. การแปลความหมายอัลกุรอานโดยอ้างอิงจากนิยามทางภาษาศาสตร์มี 4 ลักษณะ คือ 1) การถ่ายทอดถ้อยคำ 2) การอธิบายด้วยภาษาของถ้อยคำนั้น 3) การอธิบายด้วยภาษาอื่นที่ไม่ใช่ภาษาของถ้อยคำนั้น 4) การถ่ายคำในภาษาหนึ่งด้วยคำจากภาษาอื่น ซึ่งความหมายที่ 4 นี้ตรงกับความหมายของการแปลที่รู้จักกันโดยทั่วไป เมื่อพิจารณาการแปลความหมายอัลกุรอานด้วยนิยามทางภาษาศาสตร์ตามความหมายลักษณะที่ 4 สามารถแบ่งการแปลความหมายอัลกุรอานออกเป็น 2 ประเภทหลัก ได้แก่ 1. การแปลโดยพยัญชนะ และ 2. การแปลโดยอรรถ ซึ่งการแปลโดยพยัญชนะสามารถแบ่งออกได้อีก 2 ชนิด คือ 1) การแปลโดยพยัญชนะแบบตรงตัว 2) การแปลโดยพยัญชนะแบบไม่ตรงตัว หรือเรียกอีกอย่างว่าการแปลความหมาย ซึ่งนักวิชาการอนุญาตให้แปลแบบโดยอรรถและโดยพยัญชนะแบบไม่ตรงตัว (หรือการแปลความหมาย) ส่วนการแปลโดยพยัญชนะแบบตรงตัวนั้นนักวิชาการไม่อนุญาต เพราะความแตกต่างระหว่างภาษาต้นฉบับและภาษาฉบับแปลทำให้การแปลโดยพยัญชนะแบบตรงตัวนั้นสูญเสียความหมาย การแปลรูปแบบนี้จึงเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้และไม่อนุญาตให้กระทำทั้งในการแปลโดยทั่วไป และโดยเฉพาะอย่างยิ่งการแปลอัลกุรอาน<br /><br /><br /> 2. สามารถแบ่งยุคสมัยของการแปลความหมายอัลกุรอานเป็นภาษาไทยออกเป็น 3 ยุคซึ่งเป็นการจำแนกโดยพิจารณาจากจุดเริ่มต้นเป็นสำคัญ ได้แก่ ยุคปฐมบท ยุคอัครศาสนูปถัมภก และยุคโลกาภิวัตน์ ซึ่งแต่ละยุคมีรูปแบบและวิธีการแปลที่แตกต่างกัน แต่มีพัฒนาการเป็นลำดับขั้นตอนที่เหมาะสมต่อการเผยแผ่ความหมายอัลกุรอานเป็นภาษาอื่นจากภาษาอาหรับ โดยเริ่มด้วการแปลและการอรรถาธิบายในยุคปฐมบท จากนั้นจึงเป็นการแปลความหมายในยุคอัครศาสนูปถัมภก และเป็นการแปลตำราอรรถาธิบายอัลกุรอานในยุคโลกาภิวัตน์<br /><br /><br /> 3. เนื้อหาของวาทศิลป์ภาษาอาหรับแบ่งออกเป็น 3 ด้านหลัก ได้แก่ อรรถศิลป์โวหาร ประจักษ์โวหาร และวิจิตรโวหาร ในสูเราะฮฺอัรเราะห์มานมีปรากฏลีลาวาทศิลป์ทั้ง 3 ด้าน โดยที่พบมากที่สุดคืออรรถศิลป์โวหาร รองลงมาคือวิจิตรโวหาร และที่พบน้อยที่สุดคือประจักษ์โวหาร ด้านอรรถศิลป์โวหาร พบเคาะบรที่สื่อความหมายโดยตรง เคาะบรที่สื่อความหมายโดยนัย และอินชา ที่เป็นสำนวนคำถามเพื่อให้ยอมจำนน ด้านประจักษ์โวหาร พบอัตดัชนีฮฺ อัลมะญาช อัลอิสติอาเราะฮฺ อัลกินายะฮฺ ด้านวิจิตรโวหารที่พบคืออัสสัจญ์ อัตเตารียะฮฺ และอัลกอบะละฮฺ การถ่ายทอดด้วยการแปลความหมายอัลกุรอานเป็นภาษาไทย ด้านอรรถศิลป์โวหารสามารถทำได้อย่างครบถ้วนในถ้อยคำที่สื่อความหมายโดยตรง ด้านประจักษ์โวหารทำได้อย่างครบถ้วนในอัตดัชนีอัลมะญาช อัลอิสติอาเราะฮฺ อัลกินายะฮฺ ด้านวิจิตรโวหารการแปลความหมายอัลกุรอานเป็นภาษาไทยทำได้อย่างครบถ้วนในถ้อยคำที่เป็นอัลมุก อบะละฮฺ ทำได้บางส่วนในอัตเตารียะฮฺและทําไม่ได้เลยในอัสสัจญ์

     ผู้ทำ/Author
Nameนูรอลินา ตยุติวุฒิกุล
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. วิทยาลัยอิสลามศึกษา
     เนื้อหา/Content
Cover
Abstract
Acknowledgements
Symbols
Contents
Chapter1
Chapter2
Chapter3
Chapter4
Chapter5
References
Appendix
Vitae
     กลุ่มหัวเรื่อง: อิสลามศึกษา
     Contributor:
Name: ซาผีอี อาดำ
Roles: ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2562
     Type: วิทยานิพนธ์/THESES
     Copyrights :
     Counter : 290
     Counter Mobile: 2