ชื่อเรื่อง/Title นิเวศวิทยาการกินอาหาร การเลือกกินอาหารและคุณค่าทางโภชนาการของอาหารปูแสมในพื้นที่ชายฝั่งของจังหวัดปัตตานี / Feeding Ecology, food Seiection and food Nutritional Value of Episesarma spp. in Patta Coastal Area
     บทคัดย่อ/Abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของแหล่งอาศัย ฤดูกาล เพศ และขนาตปูที่มีต่อการกินอาหารของปูแสมสามชนิด ประกอบด้วย ปูแสมก้ามม่วง (E. Imeder) ปูแสมก้ามขาว (E. versicolor) ปูแสมก้ามแดง (E. singaporense) ที่พบในแหล่งอาศัยธรรมชาติ ทดสอบการเลือกกินอาหารของปูแสมในสภาวะจำลองและประเมินคุณค่าทางโภชนาการของอาหารที่ปูแสมเลือกกิน ทั้งนี้แบ่งประเด็นที่ศึกษาออกเป็นสามส่วน ด้วยกัน คือ ส่วนที่ 1 ศึกษาอิทธิพลของแหล่งอาศัย เพศ ขนาด และฤดูกาลที่มีต่อการกินอาหารของปูแสมสามชนิดในแหล่งอาศัยธรรมชาติ โดยเก็บตัวอย่างปูทั้งสามชนิดทุกเดือนตั้งแต่เดือน กรกฎาคม 2561 ถึง เดือน มิถุนายน 2562 จากบริเวณป่าชายเลน 4 แห่ง ครอบคลุมพื้นที่ของจังหวัดปัตตานี ประกอบด้วย ป่าชายเลนยะหริ่ง ป่าชายเลนบางเขา ป่าชายเลนแคนา และป่าชายเลนรูสะมิแล สุ่มตัวอย่างปูมาเก็บรักษาสภาพ ซึ่งวัดขนาด ผ่าตัดกระเพาะอาหาร จำแนกชนิดและประเมินปริมาณอาหารที่พบในกระเพาะ ส่วนที่ 2 ศึกษาการเลือกกินอาหารของปูแสมในสภาวะจำลอง โดยนำปูแสมจากธรรมชาติมาทดลองในตู้กระจกในห้องปฏิบัติการควบคุมสภาวะแวดล้อมให้เหมือนกันทั้งหมด ใส่อาหารชนิดต่างๆ ให้เลือกกิน ชั่งน้ำหนักอาหารก่อน<br /><br /> และหลังจากให้ปูกิน ส่วนที่ 3 ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการ โดยเลือกอาหารสี่ชนิดจากการทดลองส่วนที่ 2 นำไปวิเคราะห์หาคุณค่าทางโภชนาการของอาหารดังกล่าว ข้อมูลทั้งหมดนำไปวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษา พบว่า ปูแสมทั้งสามชนิดกินพืช ครัสเตเซียน ปลา สาหร่าย และหอยเป็นอาหารหลัก โดยในส่วนของปูก้ามม่วง พบว่า แหล่งอาศัยและเพศมีผลต่อค่าอาหารเต็มกระเพาะ (P<0.05) แหล่งอาศัยและฤดูกาลมีผลจำนวนชนิดของอาหารที่ปูกิน (P<0.05) ในปูก้ามขาว แหล่งอาศัยมีผลต่อค่าอาหารเต็มกระเพาะ (P<0.05) แหล่งอาศัย เพศ ขนาด และฤดูกาล มีผลต่อจำนวนชนิดของอาหาร (P<0.05) ในปูก้ามแดง แหล่งอาศัย และขนาดมีผลต่อค่าอาหารเต็มกระเพาะ (P<0.05) และแหล่งอาศัยมีผลต่อจำนวนชนิดของอาหาร (P<0.05) ผลการวิเคราะห์ด้วยสถิติ multivariate analysis ยืนยันว่าแหล่งอาศัย เพศ ขนาด และฤดูกาล มีผลต่อองค์ประกอบของโครงสร้างทางอาหารของปูแสม ผลการวิเคราะห์การทับซ้อนของอาหาร (diet overlap) พบว่า ปูก้ามขาว และปูก้ามแดง กินอาหารที่เหมือนกันอย่างยิ่ง ในขณะที่ปูม่วงกินอาหารที่แตกต่างจากปูแสมทั้งสองชนิด ผลการศึกษาการเลือกกินอาหารของปูแสมในสภาวะจำลอง พบว่า ปูก้ามม่วงเลือกกินใบ<br /><br /> คุณส่งแสมทะเลมากที่สุด ปูก้ามขาวเลือกกินใบโกงกางใบใหญ่มากที่สุดและปูก้ามแดงเลือกกินใบถั่วขาวมากที่สุด ผลการศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของอาหารที่ปูแสมเลือกกินพบว่า ใบแสมทะเลมีค่าโปรตีนสูงที่สุดร้อยละ 14.30 แต่มีไขมันน้อยที่สุดร้อยละ 2.81 ใบโกงกางใบเล็กและใบโกงกางใบใหญ่มีคาร์โบไฮเดตรสูงสุดร้อยละ 44.65 และ ร้อยละ 41.02 ตามลำดับ โดยที่ค่าเยื่อใยของใบไม้ทุกชนิดมีค่าใกล้เคียงกันร้อยละ 25.02 ถึง ร้อยละ 31.49 ดังนั้น ผลการศึกษาในครั้งนี้จะมีความสำคัญยิ่งสำหรับใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับการบริหารจัดการและอนุรักษ์ทรัพยากรปูแสม การเพาะเลี้ยงปูแสม และการบริหารจัดการทรัพยากรป่าชายเลนที่เป็นแหล่งอาศัยของปูแสมในอนาคต

     ผู้ทำ/Author
Nameเยาวพา เพ็งสกุล
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
     เนื้อหา/Content
Cover
Abstract
Acknowledgements
Contents
Chapter1
Chapter2
Chapter3
Chapter4
Chapter5
Chapter6
References
Appendix
Vitae
     กลุ่มหัวเรื่อง: ด้านเศรษฐกิจและสังคม
ด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
--การจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
ภูมิทัศน์และการท่องเที่ยว
--ปัตตานี
     Contributor:
Name: ซุกรี หะยีสาแม
Roles: ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2562
     Type: วิทยานิพนธ์/THESES
     Copyrights :
     Counter : 287
     Counter Mobile: 9