ชื่อเรื่อง/Title ระเบียบวิธีการอรรถาธิบายอัลกุรอานโดยอิหม่ามอัลบะเฆาะวีย์และอิหม่ามอิบนุอาดิละ:กรณีศึกษาเปรียบเทียบสูเราะฮอัลบะเกาะเราะหฺ
     บทคัดย่อ/Abstract The study aims to define new scientific concepts after identifying points of similarities and differences between the methodology of Imam al-Baghawl and Imam ibn Adel al-Dimashqi within Surat al-Baqarah, through the comparative method and the analytical, descriptive, and inductive approach Sonia The research came with results that showed that Imam Al-Baghawi and Imam ibn Adel Al-Dimashqi were the first among the scholars of interpretation, and their interpretation of the Ma-alimutanzil and Allubab fi ilmukitab were satisfied and accepted among scholars. The features of Ma-alimutanzil was characterized by commetary by evidence, and Allubab, which combined exegesis with evidence and exegesis opinion, and the two imams agreed not to override the interpretation by opinion when there is narration evidence, and if there is no correct narration, then they go to opinion, and the difference between them is that Imam Al-Baghawi does not It expands as does Imam Ibn Adel al-Dimashqi The two Imams also dealt with the investigations in the sciences of the Qur'an and cosmic verses, as well as the two imams dealt with language, rhetoric, and quoting the sayings of the Arabs, and exposure to jurisprudential rulings and mentioning the sayings of the Imams without fanaticism, and both of them defended the belief of the Sunnis and the community and refuted the sayings of innovators and the stray differences and the difference between them that Imam Al-Baghawi followed the approach of the people of the ancestors in the verses of adjectives and Imam Ibn Adel al-Dimashqi proceeded to the contrary.

การศึกษาแนวทาง ระเบียบวิธีของเหล่ามฟิสชิรนั้น ถือได้ว่าประเสริฐที่สุดวิชานึง ซึ่งเกี่ยวข้อง กับอัลกุรอานโดยตรง ถือเป็นการอิบาดะห์ต่ออัลลอยได้ดีที่สุดทางนึง บรรดาเหล่าอุลามาอในยุค ก่อนๆได้ทุ่มเทศึกษาและใช้เวลาเกือบทั้งชีวิต ทำให้เกิดหนังสือตำรานับไม่ถ้วนและยังไม่จบสิ้น เพราะ เป็นวิชาที่เพิ่มพูนความรู้ ยิ่งศึกษาก็ยิ่งแก่กล้าในวิชา ดังคำกล่าวที่ว่า บรรดานักปราชญ์ไม่เคยที่จะรู้สึก อิ่มและพอกับการศึกษานี้สักคน พวกเขาจึงทำด้วยความมุ่งมั่นตั้งใจเข้มงวดกันมาทุกยุคทุกสมัย งานวิจัยนี้เน้นศึกษาวิจัยเชิงเปรียบเทียบหลักการในการตัฟซีรเฉพาะเนื้อหาของสูเราะฮ์ อัลบะเกาะเราะห์ ของอิหม่ามอัลบะเฆาะวีย์จากตำราตัฟซีร ?มะอาลิมุตตันซีล? และของอิหม่าม อิบนุอาดิล อัลติมัชกีย์ จากตำราตัฟซีร ?อัลลุบาบ ฟิอุลูมิลกิตาบ? สิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับงานวิจัยนี้คือ การใช้วิธีการอุปนัยเปรียบเปรยและการวิเคราะห์เชิงพรรณนา เพื่อให้ปรากฏผลจากการศึกษา เปรียบเทียบมันฮัญของทั้งสองได้อย่างชัดเจนและเพื่อแสวงหาความรู้ความเข้าใจใหม่ๆในเชิงวิชาการ หลังจากชี้ให้เห็นจุดร่วมจุดต่างของทั้งสองหลักการนั้นไปแล้ว จากการศึกษาเผยให้เห็นว่าอิหม่ามอัลบะเพาะวีย์และอิหม่ามอิบนุอาดิล อัลติมัซกีย์ ต่างก็ ได้รับการยกย่องชูเกียรติจากมฟัสซิรีนด้วยกัน และตำรามะอาลิมุตตันซีล กับอัลลุบาบ ฟอุลูมิลกิตาบ นั้น ก็ยังได้รับการยอมรับและชื่นชอบจากนักศึกษาโดยทั่วไป โดยมะอาลิมุตตันซีลเน้นการใช้ อัลมะษรเป็นหลักในการตัฟซีร ในขณะที่อัลอุบาบ ฟิอุลูมิลกิตาบ ก็เน้นผสมผสานใช้อัลมะหูรกับ อัลเราะยูเข้าด้วยกัน ซึ่งทั้งสองก็มีความเห็นตรงกันในเรื่องที่ว่า การจะใช้อัลเราะยูนั้นไม่สามารถจะทำ ได้หากมีคำตัฟซีรเดิมจากอัลมะงูรอยู่แล้วก่อนหน้า แต่หากหาตพรจากอัลมะษรไม่ได้ หรือมีแต่ไม่ถูกต้องและไม่เป็นที่ยอมรับ ก็สามารถใช้อัลเราะยมาใช้ได้ และสิ่งที่แตกต่างในจุดนี้ก็คือ อิหม่าม อัลบะเฆาะวีย์จะไม่เปิดกว้างและไม่พยายามขยายความด้วยตัวเองและไม่เน้นการใช้ความคิดเห็น ส่วนตัว ต่างจากอิหม่ามอิบนุอาดิล ที่ได้ใช้อัลเราะยูมาสนับสนุนการตัฟซีรของท่านด้วยพอสมควร ทั้งนี้ทั้งสองก็ได้ให้ความสำคัญกับประเด็นของอุลมุลกุรอาน และประเด็นที่เกี่ยวกับโองการและอายะห์ อัลเกาบียะห์ เช่นเดียวกับศาสตร์ด้านภาษาและวาทศิลป์ โดยยกหลักฐานจากคำพูดสำนวนของชาว อาหรับ และนำเอาหลักศาสนบัญญัติมาแสดงอ้างอิงด้วย ทั้งยังยกคำกล่าวจากบรรดาปราชญ์ผู้รู้ท่าน อื่นๆมาแสดงอย่างตรงไปตรงมาโดยปราศจากอคติใดๆ นอกจากนั้นก็ยังเห็นดีเห็นงามกับหลักความ เชื่อของอะหลิสซุนนะห์วัลญามาอะห์ และชี้ให้เห็นถึงความไม่ถูกต้องของคำพูดคำกล่าวอ้างของ พวกอัลมุบตะดีอะห์ และพวกหมู่คนที่หลงทางผิดในวิถีอิสลาม แต่อิหม่ามทั้งสองก็มีข้อแตกต่าง ระหว่างกันอย่างชัดเจนคือ อิหม่ามอัลบะเฆาะวีย์เลือกเดินตามรอยของขาวสะลัฟ ในส่วนของโองการ ที่เกี่ยวกับคุณลักษณะของเอกองค์อัลลอฮ ส่วนอิหม่ามอิบนอาดิลก็เลือกเดินอีกทางนึง
     ผู้ทำ/Author
Nameฟะห์ครี สาอะ
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. วิทยาลัยอิสลามศึกษา
     เนื้อหา/Content
Cover
Abstract
Acknowledgements
Contents
Chapter1
Chapter2
Chapter3
Chapter4
Chapter5
Chapter6
References
Appendix
Vitae
     กลุ่มหัวเรื่อง: อิสลามศึกษา
     Contributor:
Name: อาลี สาเมาะ
Roles: ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2564
     Type: วิทยานิพนธ์/THESES
     Copyrights :
     Counter : 500
     Counter Mobile: 8