ชื่อเรื่อง/Title การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามจังหวัดนราธิวาส / Operation System of Caring Management of Students in Islam Private Schools in Narathiwat Province
     บทคัดย่อ/Abstract การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือ นักเรียนในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามจังหวัดนราธิวาส 2)เพื่อเปรียบเทียบการดำเนินงาน ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามจังหวัดนราธิวาส จำแนกตาม<br /> เพศ อายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ในการทำงาน และขนาดของโรงเรียน 3) เพื่อประมวลข้อเสนอแนะแนวทางการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามจังหวัดนราธิวาส ใช้วิธีวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม จำนวน 100 คน ครูผู้สอนในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม จังหวัดนราธิวาส จำนวน 260 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 360 คน ใช้ในการสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้างและแบบสอบถามในการเก็บข้อมูล สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต คำเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบค่าที (t-test) และค่าเอฟ (f-test) ผลการวิจัยพบว่า<br /> 1) การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนทั้ง 5 ด้าน คือ การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล การคัดกรองนักเรียน การส่งเสริมและพัฒนานักเรียน การป้องกันช่วยเหลือและแก้ไข และการส่งต่อนักเรียน ในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามจังหวัดนราธิวาส ในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารและครูต่อการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม จังหวัดนราธิวาส จำแนกตาม อายุ เพศ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ในการทำงาน และขนาดโรงเรียน โดยภาพรวม พบว่า ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ยกเว้น ขนาดของโรงเรียน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านของการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนจำแนกตาม เพศ พบว่า ด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคลเท่านั้นที่มีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อจำแนกตามอายุ ระดับการศึกษา และประสบการณ์การทำงาน พบว่า การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนทั้ง 3 กลุ่มที่จำแนกตามข้อมูลสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบ มีผลที่เหมือนกัน นั่นคือ การดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในด้านการคัดกรองนักเรียน และต้านการป้องกันช่วยเหลือและแก้ไขเท่านั้นที่มีนัยสำคัญทางสถิติ และเมื่อจำแนกตามขนาดของโรงเรียนพบว่า ด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล และการส่งต่อนักเรียนเท่านั้นที่มีนัยสำคัญทางสถิติ 3) ประมวลข้อเสนอแนะ พบว่า โรงเรียน ควรวางระบบการดูแลช่วยเหลือที่ชัดเจน เพื่อสะดวกต่อการปฏิบัติงานของครูและนักเรียน ครูควรดูแลและรู้จักนักเรียนรอบด้าน เช่น ด้านครอบครัว สุขภาพ และด้านการเรียน ควรใกล้ชิดกับนักเรียนให้มาก และสามารถเป็นที่ปรึกษาให้กับ<br /> นักเรียน ในยามที่นักเรียนมีปัญหา หรือต้องการคำปรึกษาได้ทุกเมื่อ<br />

The objective of this study are: 1) to examine level of the management of<br /> student care system in Islamic Private Schools in Narathiwat province, 2) to compare<br /> the management of student care system based on the difference in gender, age,<br /> level of education, work experience and school size; and 3) to compile guidelines for<br /> developing the management of student care system in the schools. Survey research<br /> was used in this study. The study sample comprises of 100 school administrators and<br /> 260 teachers of Islamic Private Schools in Narathiwat province, totaling 360 samples.<br /> The data was collected by interviewing using structured interview questions and by<br /> means of a questionnaire study. Statistical analysis used includes percentage, mean,<br /> standard deviation, t-test, f-test and multiple comparison test.<br /> The findings of this study showed as below;<br /> 1) The overall and each dimensional level of the management of student<br /> care system in Islamic private schools in Narathiwat province, which consists of 5<br /> domains, namely, knowing students individually; identifying students' behavior;<br /> enhancing and developing students' behavior; preventing, helping and correcting<br /> students' behavior; and transferring students to higher level of education were high.<br /> 2)The comparison of overall level of the management of student care system<br /> in Islamic private schools in Narathiwat province as perceived by school<br /> administrators and teachers based on the difference in gender, age, level of<br /> education, work experience and school size were statistically insignificant different<br /> with the exception of school size. Considering the comparison of each dimensional<br /> level of the management of student care system based on gender, it was found that<br /> the domain of knowing students individually only that attains statistically significant<br /> difference. On the dimensional level of the management of student care system<br /> based on age, level of education, and work experience, it was found that the<br /> management of student care system for these three groups have similar results in<br /> which the domain of identifying students' behavior; and preventing, helping and<br /> correcting students' behavior only were found to be statistically significant different.<br /> On the dimensional level of the management of student care system based on<br /> school size, the results revealed that the domain of knowing students individually<br /> and transferring students to higher level of education only were found to be<br /> statistically significant different.<br /> 3) Compiling guidelines for developing the management of student care<br /> system in the schools were found that the schools should set a strong student care<br /> system in order to ease teachers and students in their work operation; teachers<br /> should care students in all aspects such as family matters, health conditions and<br /> study related matters; close teacher-student relationships must be built so that<br /> teachers can be their consultants in time of trouble and they must be able to give<br /> consultation to students at any time.<br />
     ผู้ทำ/Author
Nameรุสมา ปานาบากา
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. วิทยาลัยอิสลามศึกษา
     เนื้อหา/Content
Cover
Abstract
Acknowledgements
Contens
Symbols
Chapter1
Chapter2
Chapter3
Chapter4
Chapter5
References
Appendix
Vitae
     กลุ่มหัวเรื่อง: อิสลามศึกษา
     Contributor:
Name: อับดุลฮากัม เฮ็งปิยา
Roles: ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2562
     Type: วิทยานิพนธ์/THESES
     Copyrights :
     Counter : 207
     Counter Mobile: 12