ชื่อเรื่อง/Title ผลของการใช้หนังสือนิทาน "จ๊ะเอ๋" (ฉบับยาวี-ไทย) ที่มีต่อพัฒนาการของบุตรก่อนวัยเรียนและความสัมพันธ์ในครอบครัวตามบริบทสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
     บทคัดย่อ/Abstract การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพทั่วไปเกี่ยวกับการใช้หนังสือนิทาน ?จ๊ะเอ๋? (ฉบับยาวี-ไทย) ของผู้ปกครอง และ 2) ศึกษาผลของการใช้หนังสือนิทาน ?จ๊ะเอ๋? (ฉบับยาวี-ไทย) ที่มีต่อพัฒนาการของบุตร และความสัมพันธ์ในครอบครัวบริบทสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ การวิจัยใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณโดยการสำรวจความคิดเห็นของผู้ปกครองที่เข้าร่วมโครงการเสริมสร้างสุขภาวะแม่รุ่นใหม่ยุค Thailand 4.0 โดยสมาคมสร้างสรรค์เยาวชนชายแดนใต้ จำนวน 205 คน คน จาก 4 ตำบล ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส การศึกษาพบว่า<br /> 1. ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ใช้เวลาในการอ่านหนังสือนิทานในช่วงค่ำก่อนนอนหรือหลังเสร็จกิจกรรมต่าง ๆ และส่วนใหญ่เลือกอ่านหนังสือหนังสือเพราะออกแบบได้น่าอ่าน รูปภาพสวยงามและน่าสนใจ โดยอุปสรรคและข้อจำกัดสำคัญในการใช้หนังสือมากที่สุดคือการไม่มีเวลาในการอ่าน และไม่มีหนังสือให้อ่าน<br /> 2. หลังจากได้รับหนังสือนิทานจ๊ะเอ๋ กลุ่มตัวอย่างมีการเล่นจ๊ะเอ๋กับลูกทุกวันเพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 10.2 เป็นร้อยละ 61.0 และไม่มีผู้ปกครองท่านใดที่ไม่เล่นกับลูกหลังจากได้รับหนังสือ กลุ่มตัวอย่างมีการกอดลูกทุกวันเพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 45.9 เป็นร้อยละ 80.5 และไม่มีผู้ปกครองท่านใดไม่กอดลูกหลังจากได้รับหนังสือ กลุ่มตัวอย่างมีการบอกรักลูกทุกวันเพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 42 เป็นร้อยละ 76.1 และไม่มีผู้ปกครองท่านใดที่ไม่บอกรักลูกหลังจากได้รับหนังสือ<br /> 3. การใช้หนังสือนิทานจ๊ะเอ๋มีผลต่อพัฒนาการลูกอยู่ในระดับมาก โดยสามารถเรียงลำดับตามระดับคะแนนสูงสุด 3 อันดับ คือ 1) เมื่อกอดหรือเล่นกับลูกเขาจะสดใสและมีความสุข 2) ลูกมีอารมณ์ดีและมีนิสัยร่าเริง 3) เมื่อคุยกับลูกเขาสามารถจ้องตาและมองหน้าผู้ปกครองได้นาน<br /> 4. การใช้หนังสือนิทานจ๊ะเอ๋มีผลต่อความสัมพันธ์ในครอบครัวอยู่ในระดับมากที่สุด โดยสามารถเรียงลำดับตามระดับคะแนนสูงสุด 3 อันดับ คือ 1) หนังสือช่วยให้ผู้ปกครองใช้เวลากับลูกมากยิ่งขึ้น 2) หนังสือช่วยให้ผู้ปกครองมีความรู้เรื่องการเลี้ยงลูกที่ถูกต้อง 3) หนังสือช่วยให้ผู้ปกครองต้องการพัฒนาตนเองด้านการดูแลลูก

This research aimed to (1) study generality of parents? use of ?Peekaboo (Jawi-Thai version)? story books, (2) find out results of the use of ?Peekaboo (Jawi-Thai version)? story books in terms of children?s development and family relations in the southern border provinces contexts. This quantitative research surveyed 205 parents? opinions on joining Modern Mothers Wellness Promotion in Thailand 4.0 Era Project which was run by the Southern Border Youth Creative Association. These parents were from four sub-districts in the southern border provinces, including Pattani, Yala and Narathiwat provinces. The followings were the results of the study.<br /> 1. Most of the parents spent their before-bed time, or after activities are finished, on reading story books. Most of them preferred reading books to their children because of good designs and attractive graphics. They found not having times for reading story books, and not having interesting story books to read as obstacles and limitations for reading story books.<br /> 2. After receiving Peekaboo story books, the parents played Peekaboo with their children every day which was more frequently. The frequency increased from 10.2% to 61.0%. Moreover, every parents did play with their children after receiving the story book. Besides, the parents hug their children more often, as the percentages of hugging rose from 45.9 to 80.5, and every parents did hug their children after receiving the story book. In addition, the parents said love to their children more. The percentages of the frequency of parents? saying love to their children increased from 42 to 76.1, and every parents did say love to their children after receiving the story books.<br /> 3. The use of Peekaboo story books affected children?s development in high level. The aspects that gained highest positive results were that (1) when hugged and played with, children look cheerful and happy, (2) children are in good mood and joyful, and (3) when children are talked to, they can look into parents? eyes and at parents? faces longer, respectively.<br /> 4. The use of Peekaboo book affected family relations in the highest level. The issues that were greatly influenced by the use of the story books were that (1) the books made parents spent more times with children, (2) the books gave parents knowledge about parenting, and (3) the books motivated parents to improve themselves in parenting, respectively.
     ผู้ทำ/Author
Nameมูฮัมหมัดอาฟีฟี อัซซอลีฮีย์
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Nameนัชชิมา บาเกาะ
Organization มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
Nameรุสนี ปาเซเลาะ
Organization สมาคมสร้างสรรค์เยาวชนชายแดนใต้
Nameฝ้ายลิกา ยาแดง
Organization สมาคมสร้างสรรค์เยาวชนชายแดนใต้
Nameอิลฮัม หะยีมะสาและ
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
     เนื้อหา/Content
Cover
Abstract
Acknowledgements
Contens
Chapter1
Chapter2
Chapter3
Chapter4
References
Appendix
     กลุ่มหัวเรื่อง: อิสลามศึกษา
--หน่วยงานบริการสาธารณสุข
     Contributor:
Name: กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ปี พ.ศ. 2563
Roles: ผู้สนับสนุนงานวิจัย
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2563
     Type: งานวิจัย/Research Report
     Copyrights :
     Counter : 389
     Counter Mobile: 18