ชื่อเรื่อง/Title การพัฒนาชุดฝึกอบรมด้วยรูปแบบ FADIL เพื่อพัฒนาทักษะการใช้สื่อการสอนอิสลามศึกษาสำหรับครูโรงเรียนอัลอิสลามียะห์ จังหวัดนราธิวาส / A Development of Training Packages by FADIL Model
     บทคัดย่อ/Abstract การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาชุดฝึกอบรมด้วยรูปแบบ FADIL เพื่อพัฒนาทักษะการใช้สื่อการสอนอิสลามศึกษาสำหรับครูโรงเรียนอัลอิสลามียะห์ จังหวัดนราธิวาส 2) เพื่อเปรียบเทียบความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสื่อการสอน และทัศนคติต่อการใช้สื่อการสอนอิสลามศึกษาก่อนและหลังการฝึกอบรมโดยใช้ชุดฝึกอบรมฯ 3) เพื่อประเมินทักษะการใช้สื่อการสอนอิสลามศึกษาของผู้เข้ารับการฝึกอบรมโดยใช้ชุดฝึกอบรมฯ และ 4) เพื่อสอบถามความพึงพอใจของต่อการฝึกอบรมของผู้เข้ารับการฝึกอบรม โดยใช้ชุดฝึกอบรมฯ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูอิสลามศึกษา จำนวน 6 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ ชุดฝึกอบรมด้วยรูปแบบ FADIL เพื่อพัฒนาทักษะการใช้สื่อการสอนอิสลามศึกษาสำหรับครูโรงเรียนอัลอิสลามียะห์ จังหวัดนราธิวาส ประกอบไปด้วย หลักสูตรฝึกอบรม แผนการฝึกอบรม สื่อประกอบการฝึกอบรม และเครื่องมือวัดผลและประเมินการฝึกอบรม ได้แก่ แบบทดสอบความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสื่อการสอนก่อนและหลังการฝึกอบรม แบบวัดทัศนคติที่มีต่อการใช้สื่อการสอนอิสลามศึกษาก่อนและหลังการฝึกอบรม แบบประเมินทักษะการใช้สื่อการสอนอิสลามศึกษา และแบบสอบถามความพึงพอใจต่อการฝึกอบรมของผู้เข้ารับการฝึกอบรมโดยใช้ชุดฝึกอบรม ผลการศึกษาพบว่า 1) ชุดฝึกอบรมด้วยรูปแบบ FADIL เพื่อพัฒนาทักษะการใช้สื่อการสอนอิสลามศึกษาสำหรับครูโรงเรียนอัลอิสลามียะห์ จังหวัดนราธิวาส ผ่านเกณฑ์ค่าเฉลี่ยที่กำหนด มีความเหมาะสมและมีความสอดคล้องทุกประเด็น 2) ผลการทดสอบความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสื่อการสอน และผลการวัดทัศนคติที่มีต่อการใช้สื่อการสอนอิสลามศึกษา ก่อนและหลังการฝึกอบรม สรุปได้ว่า ค่าเฉลี่ยหลังการฝึกอบรมสูงกว่าค่าเฉลี่ยก่อนการฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) ผลการประเมินทักษะการใช้สื่อการสอนอิสลามศึกษา ภาพรวมอยู่ในระดับมาก และ 4) ผลการสอบถามความพึงพอใจต่อการฝึกอบรมของผู้เข้ารับการฝึกอบรมโดยใช้ชุดฝึกอบรม ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

<br /><br /> This study is aimed to 1) develop the training packages by FADIL model for enhancing the using skills of Islamic studies teaching aids for teachers in Al-Islamiah School in Narathiwat Province, 2) compare teachers? knowledge and attitude towards the FADIL model before and after the training, 3) assess teachers? skills by using the model, and 4) evaluate teachers? satisfaction. The samples consisted of six teachers. The FADIL model was employed as a research instrument. It consisted of training courses, training plans, training materials, and evaluation materials. The evaluation materials consisted of education media knowledge tests, attitude tests, skill test assessment, and satisfaction test. The result revealed that 1) the FADIL Model exceeded the set standards and the Index of Item-Objective Congruence, 2) there was improvement among the teachers by the score of 0.05, which is a significant level, as compared the pre-tests and the post-tests on teachers? knowledge and attitude, 3) the overall result of teachers? skills by using the model marked high scores, and 4) the overall result of teachers? satisfaction was also high. <br /><br />
     ผู้ทำ/Author
Nameฟาฎีล กือแน
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. วิทยาลัยอิสลามศึกษา
     เนื้อหา/Content
Cover
Abstract
Acknowledgements
Contens
Symbols
Chapter1
Chapter2
Chapter3
Chapter4
Chapter5
References
Appendix
Vitae
     กลุ่มหัวเรื่อง: อิสลามศึกษา
     Contributor:
Name: ซัมซู สาอุ
Roles: อาจารย์ที่ปรึกษา
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2560
     Type: วิทยานิพนธ์/THESES
     Copyrights :
     Counter : 505
     Counter Mobile: 13