ชื่อเรื่อง/Title การจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในจังหวัดปัตตานี / Conflict Management of Islamic Private School Administrators in Pattani Province
     บทคัดย่อ/Abstract การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสาเหตุที่ทำให้เกิดความขัดแย้ง วิธีการจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในจังหวัดปัตตานี และเปรียบเทียบความแตกต่างในวิธีการจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารโรงเรียนจำแนกตามอายุ วุฒิทางการศึกษา ประสบการณ์ในตำแหน่งบริหาร และขนาดโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ผู้บริหารและผู้จัดการโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในจังหวัดปัตตานี จำนวน 102 คน ซึ่งได้มาโดยใช้วิธีสุ่มแบบอย่างง่าย (Simple random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มี 4 ตอน โดยที่ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ .82 ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงแบนมาตรฐานการทดสอบค่าที และ สถิติการทดสอบค่าการวิเคราะห์ความแปรปรวน สำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพผู้วิจัยทำการรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง ผลการวิจัยพบว่า 1. สาเหตุของความขัดแย้งในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในจังหวัดปัตตานี พบว่า สาเหตุของความขัดแย้งอยู่ในอันดับแรก คือ องค์ประกอบด้านบุคคล องค์ประกอบด้านปฏิสัมพันธ์ และด้านสภาพขององค์กรเป็นอันดับสุดท้าย 2. วิธีการจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในจังหวัดปัตตานี พบว่า ผู้บริหารโรงเรียนเลือกใช้วิธีประนีประนอมในการจัดการความขัดแย้งเป็นอันดับแรก รองลงมาเป็น วิธีไกล่เกลี่ย วิธีร่วมมือ วิธีปรองดอง วิธีเผชิญหน้า วิธีบังคับ และวิธีหลีกเลี่ยง 3. เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างในวิธีการจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในจังหวัดปัตตานี พบว่า ผู้บริหารเลือกใช้วิธีการจัดการความขัดแย้งไม่แตกต่างกัน และเมื่อพิจารณาเป็นรายวิธีจำแนกตามอายุ พบว่า แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติทุกวิธี ยกเว้นวิธีไกล่เกลี่ย และวิธีประนีประนอม มีความแตกต่างกัน และเมื่อพิจารณาเป็นรายวิธีจำแนกตามขนาดของโรงเรียน พบว่า ไม่แตกต่างกัน ยกเว้น วิธีปรองดอง แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 4. ข้อเสนอแนะในการจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในจังหวัดปัตตานีนั้น พบว่า 1) ด้านบุคคล คือ ผู้บริหารควรเป็นผู้นำในที่ประชุมของงานแต่ละฝ่าย พูดคุยเพื่อรับทราบและอธิบายปัญหาและพยายามให้มีทัศนคติที่สอดคล้องกัน 2) ด้านปฏิสัมพันธ์ คือ ควรจัดกิจกรรมเพื่อสร้างความสามัคคีในองค์กร สร้างจิตสำนึกให้ทำงานเพื่ออิสลามไม่ใช่เพื่อผลประโยชน์เน้นให้บุคลากรเข้าใจเป้าหมายขององค์กรเพื่อสร้างจิตสำนึกในการรักองค์กร กระจายงานให้แก่บุคลากรอย่างทั่วถึงและให้ความเป็นธรรม ยุติธรรมกับทุกฝ่าย สร้างขวัญและกำลังใจ และ 3) ด้านสภาพขององค์กร คือ องค์กรควรจะมีจุดยืนที่แน่นอน บุคลากรในองค์กรนั้นต้องมีจุดยืนเดียวกัน ยึดหลักความยุติธรรมโดยใช้หลักธรรมภิบาลในการบริหารงาน บันทึกข้อบกพร่องเพื่อพิจารณาแก้ไขต่อไป ยิ้มแย้มแจ่มใสและสื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจ

The objectives of this study are to identify causes of conflicts and conflict management among the administrators of Islamic private schools in Pattani province; and to compare and contrast the conflict management methods employed by these administrators in according to age, academic qualification, administrative experience, and school size. 102 directors and managers of Islamic private schools in Pattani province were selected using simple random sampling technique. A combination of quantitative and qualitative methods was utilized in this study. Five-level scale questionnaire which consisted of 4 parts was used to collect quantitative data. Cronbach?s Alpha test was employed to test internal consistency of the questionnaire. The results showed that the Cronbach?s Alpha coefficient for the respondents groups was .82. Percentage, mean, standard deviation, t-test and ANOVA were employed as tools for analysis of the data obtained from survey-based questionnaire. Semi-structured interview was also used to collect qualitative data to support the quantitative data obtained from the survey. The findings in this study show that: 1. The causes of conflicts in Islamic private schools in Pattani province could be classified into personal factors, interpersonal factors, and organizational factors, respectively. 2. The administrators employed the following methods for conflict resolutions: compromise, mediation, cooperation, reconciliation, confrontation, pressure and avoidance. 3. The findings further indicated that, in general, there were no differences in methods used by the administrators in conflict resolution. More specifically, there were no statistically significant differences in the use of conflict resolution methods among the respondents of the same age group, except for mediation and reconciliation. As for the school size, the findings showed no significant differences among these administrators, except the method of reconciliation, which was significant at 0.05 level of significance. 4. The following suggestions are made for conflict management among the administrators of Islamic private schools in Pattani province: 1) Personal aspect: the administrators should lead the functional meetings, discuss about the problems, and attempt to normalize team attitudes; 2) Interpersonal aspect: the administrators should organize team building programs, create Islamic work values, distribute tasks properly and fairly, and strengthen morale among staff; and 3) organizational aspect: organizations should provide clear policies and guidelines, follow the principles of good governance, take note of deficiencies and find the ways to rectify them, and have good manners and clear communication.
     ผู้ทำ/Author
Nameอิสามะแอ มูบิง
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. วิทยาลัยอิสลามศึกษา
     เนื้อหา/Content
Cover
Abstracts
Acknowledgements
Contents
Symbol
Chapter1
Chapter2
Chapter3
Chapter4
Chapter5
References
Appendix
Vitae
เชื่อมโยงไปฐานข้อมูล TDC
     กลุ่มหัวเรื่อง: ด้านการศึกษา
--บุคลากรทางการศึกษา
--ปัญหาทางการศึกษา
อิสลามศึกษา
การจัดการความขัดแย้ง
     Contributor:
Name: อะห์มัด ยี่สุ่นทรง
Roles: ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2556
     Type: วิทยานิพนธ์/THESES
     Copyrights :
     Counter : 2243
     Counter Mobile: 39