ชื่อเรื่อง/Title คำยืมภาษามลายูท้องถิ่นปัตตานีในภาษาไทยถิ่น 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ / Malay Dialect Loanwords in the Local Language of Narathiwat, Yala and Pattani
     บทคัดย่อ/Abstract <dd>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะนำคำที่อยู่ในข่ายสงสัยว่าเป็นคำยืมภาษามลายู ซึ่งรวบรวมมาจากเอกสารต่างๆ จำนวน 643 คำ มาวิเคราะห์ว่าคำใดเป็นคำที่ยืมมาจากภาษามลายูท้องถิ่นปัตตานี คำใดเป็นคำที่ใช้ร่วมกันระหว่างภาษามลายูท้องถิ่นปัตตานีกับภาษาไทยถิ่น 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (นราธิวาส ยะลา ปัตตานี) และได้ศึกษาว่าในการใช้คำยืมและคำที่ใช้ร่วมกันนั้นมีการปรับการออกเสียงให้เข้ากับระบบเสียงของภาษาไทยหรือไม่ อย่างไร รวมทั้งมีการเปลี่ยนแปลงรูปคำและความหมายของคำเหล่านั้นหรือไม่ อย่างไร ตลอดจนศึกษาดูความหนาแน่นของการใช้คำเหล่านี้ในพื้นที่ของภษาไทยถิ่น 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และในพื้นที่ของภาษาไทยถิ่นใต้ทั่วไป โดยใช้หลักเกณฑ์และทฤษฎีทางภาษาศาสตร์<br /><br /><br /> <dd>ผลการวิจัยพบว่า คำที่อยู่ในข่ายสงสัยจำนวน 643 คำ เป็นคำที่มีใช้อยู่ในปัจจุบันในภาษามลายูท้องถิ่นปัตตานี 400 หน่วยอรรถ เป็นคำที่ยืมมาจากภาษามลายูท้องถิ่นปัตตานี 352 หน่วยอรรถ คำที่ใช้ร่วมกันระหว่างภาษามลายูท้องถิ่นปัตตานีกับภาษาไทยถิ่น 3 จังหวัดภาคใต้ 48 หน่วยอรรถ<br /><br /><br /> <dd>เสียงปฎิภาคในคำยืมและคำที่ใช้ร่วมกันนั้นพบว่า ไม่ว่าจะเป็นเสียงพยัญชนะต้อน พยัญชนะท้าย หรือสระท้ายคำ ถ้าในภาษามลายูท้องถิ่นปัตตานีมีหน่วยเสียงตรงกับหน่วยเสียงในภาษาไทย เสียงปฎิภาคจะตรงกันเป็นส่วนใหญ่ จะเปลี่ยนแปลงไปบ้างในบางคำก็จะเป็นการเปลี่ยนแปลงแบบไม่มีเงื่อนไข ถ้าหน่วยเสียงใดของภาษามลายูท้องถิ่นปัตตานีไม่มีภาษาไทย คำยืมและคำที่ใช้ร่วมกันในภาษาไทยถิ่น 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จะออกเสียงให้ใกล้เคียงกับหน่วยเสียงภาษามลายูท้องถิ่นปัตตานี หน่วยเสียง/g/ ในภาษามลายูท้องถิ่นปัตตานีมีอิทธิพลต่อคนไทยถิ่น 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มาก คนไทยเหล่านี้สามารถออกเสียงคำที่มีหน่วยเสียง /g/ ได้อย่างชัดเจน เสียง /ซ/ ในภาษามลายูท้องถิ่นปัตตานีจะตรงกับเสียง /r/ ในภาษาไทยเสมอ ซึ่งเป็นเพราะอิทธิพลของภาษาเขียน<br /><br /><br /> <dd>ในการใช้คำยืมและคำที่ใช้ร่วมกันของคนไทยถิ่น 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น ส่วนใหญ่รูปคำจะตรงกับรูปคำในภาาามลายูท้องถิ่นปัตตานี แต่มีอยู่จำนวนหนึ่งที่มีการเปลี่ยนรูปคำไปบ้าง เช่น มีการรวบพยางค์จากคำที่มี 2 พยางค์ในภาษามลายูท้องถิ่นปัตตานีเป็นคำที่มีเสียงควบกล้ำในภาษาไทย มีการลดพยางค์จากภาษามลายูท้องถิ่นปัตตานี มีการเพิ่มพยางค์จากภาษามลายูท้องถิ่นปัตตานี และมีการสับลำดับคำ<br /><br /><br /> <dd>ในด้านความหมายของคำนั้น คำยืมและคำที่ใช้ร่วมกัน ส่วนใหญ่ความหมายในภาษาไทยจะตรงกับความหมายในภาษามลายูท้องถิ่นปัตตานี แต่มีอยู่จำนวนหนึ่งที่มีความแตกต่างทางความหมาย ซึ่งมีทั้งความหมายแคบเข้า ความหมายกว้างออก และความหมายย้ายที่<br /><br /><br /> <dd>ในการศึกษาความหนาแน่นของการใช้คำยืมและคำที่ใช้ร่วมกันพบว่า พื้นที่ของภาษาไทยถิ่นพิเทน มีการใช้คำยืมและคำที่ใช้ร่วมกันเหล่านี้ถึง 97% พื้นที่ของภาษาไทยถิ่นสายบุรีใช้ 94% พื้นที่ของภาษาไทถิ่นตากใบใช้ 78.25% พื้นที่ของภาษาไทยถิ่นปัตตานีใช้ 77.25% พื้นที่ของภาษาไทยถิ่นยะลาใช้ 75.75% และพื้นที่ของภาษาไทยถิ่นใต้ทั่วไปใช้ 69%

The objectives of this thesis were to anslyze the 643 words, collected from many different torms of documents and assumed to be borrowed from the Malay Language, to find out if any of these words were loanwards and which of them were commonly used both in the Malay Language of Pattani Dialect and the three-bordering-province dialects of the Thai Language. The study was also aimed to investigade if and how the sounds of these words were assimilated to the sound system of the Thai Language, and if there words in the area where thw Thai Language was used in the three bordering province was also taken into account of this thesis. The anslysis of the main points of this study was under the principles and theories of linguistics.<br /> the findings revealed the fact that 400 semantic units of the 643 words presupposed to be loanwords were currently used in the Malay Language of pattani dialect, 352 semantic units were borrowed from the Malay Language of Pattani dialect, and 48 semantic units were used commonty both in the Malay language of Pattani dialect and the Thai language spoken in the three southern bordering provinces.<br /> It was also found that most of the sound correspondences in loanwords and words commonly used in both languages, may they be initial consonants or final consonants and vowels, would be identical if the phonemes in the Malay language were the same as those in Thai. if there would be any changes in some words, they were found unconditioned sound changes. In the case that any phonemes of the malay language of Pattani dialect had no identical phonemes in the Thai language, the loanwords and the words commonly used in both language would be pronounced similarly to that of the Malay language of Pattani dialect. The phonemes /g/ in the Pattani dialect of the Malay language was found to have great influence of the Thai people in the three southern bordering provinces. The finding showed that thai people in this area were able to pronounce the /g/ sound correctly. The phonemes /r/ in the Malay language of Pattani dialect was always pronounced as /r/ in the Thai language because of the influence of the written language.<br /> The forms of most loanwords and the words commonly used in both language were indentical with that of the words of the Malay language. However, the forms of a number these words had been changed in some aspects, for example, the combination of some two syllable words in the Malay language of Pattani dialect into consonant clusters in the Thai language, the delection of some syllables of the Malay language of Pattani dialect, the addition of syllables, and the rearrangement of words into a different order.<br /> The study of meaning showed that of the loanwords and the used in both languages had the same meaning in Thai as that in the Malay language of Pattani dialect. A certian number of these words, however, were different in meanings ranging from extension and narrowing to subreption.<br /> As far the study of the density of the use of the loanwords and the words used commonly in both languages, it was found that 97% of these words were used in Phi Then area of the Thai language, 94% were used in Sai Buri, while 78.25%, 77.25%, 75.75%, and 60% of these wards were used in Tak Bai, Pattani, Yala and other parts of the south respectively.
     ผู้ทำ/Author
Nameสุภา วัชรสุขุม
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ บัณฑิตวิทยาลัย
     เนื้อหา/Content
หน้าปก
บทคัดย่อ
กิตติกรรมประกาศ
สารบัญ
บทที่ 1 บทนำ
บทที่ 2 วิธีดำเนินการวิจัย (หน้า 25-60)
บทที่ 2 วิธีดำเนินการวิจัย (หน้า 61-95)
บทที่ 2 วิธีดำเนินการวิจัย (หน้า 96-130)
บทที่ 2 วิธีดำเนินการวิจัย (หน้า 131-165)
บทที่ 2 วิธีดำเนินการวิจัย (หน้า 166-200)
บทที่ 2 วิธีดำเนินการวิจัย (หน้า 201-230)
บทที่ 2 วิธีดำเนินการวิจัย (หน้า 231-265)
บทที่ 2 วิธีดำเนินการวิจัย (หน้า 266-291)
บทที่ 3 ผลการวิจัย (หน้า 292-320)
บทที่ 3 ผลการวิจัย (หน้า 321-350)
บทที่ 3 ผลการวิจัย (หน้า 351-379)
บทที่ 4 อภิปรายผล
บทที่ 5 บทย่อและข้อเสนอแนะ
บรรณานุกรม
ประวัติผู้เขียน
     กลุ่มหัวเรื่อง: ศิลปะและวัฒนธรรม
--ภาษาและการสื่อสาร
อิสลามศึกษา
     Contributor:
Name: มัลลิกา คณานุรักษ์
Roles: ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2534
     Type: วิทยานิพนธ์/THESES
     Copyrights :
     Counter : 15929
     Counter Mobile: 48