ชื่อเรื่อง/Title ผลการเรียนแบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ที่มีต่อผลการ คิดเชิงวิจารณญาณวิชาสังคมศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในจังหวัดปัตตานี / Effects of Cooperative Learning by Jigsaw Technique on Critical Thinking in Social Study of Matayomsuksa 1 Students Islamic Private School in Pattani
     บทคัดย่อ/Abstract การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาผลการเรียนแบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ที่มีต่อผลการคิดเชิงวิจารณญาณวิชาสังคมศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนหญิงที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 ของโรงเรียนดรุณศาสน์วิทยา อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี จำนวน 90 คน แบ่งนักเรียนเป็น 2 กลุ่มเท่ากัน คือ กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มทดลองได้รับการจัดการเรียนการสอนแบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ จำนวน 15 คาบๆละ 45 นาที และกลุ่มควบคุมได้รับการจัดการเรียนการสอนแบบปกติ จำนวนและเวลาเท่ากัน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ 2) แผนการจัดการเรียนรู้แบบปกติ และ 3) แบบทดสอบวัดความสามารถการคิดเชิงวิจารณญาณ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่าที <br /> (t-test)<br /> ผลการวิจัยพบว่า <br /> 1. คะแนนความสามารถการคิดเชิงวิจารณญาณวิชาสังคมศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มทดลองหลังทดลองสูงกว่าคะแนนก่อนทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01<br /> 2. คะแนนความสามารถการคิดเชิงวิจารณญาณวิชาสังคมศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มควบคุมหลังทดลองสูงกว่าคะแนนก่อนทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05<br /> 3. ความสามารถการคิดเชิงวิจารณญาณวิชาสังคมศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มทดลองสูงกว่าคะแนนของนักเรียนกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 <br />

The purpose of this quasi-experimental design was to study the effect of cooperative learning by jigsaw technique on critical thinking in social study of matayomsuksa 1 students. The experimental group consisted of matayomsuksa 1 students in the second semester of academic year 2009 of Darunsat Witya School, Saiburi, Pattani and then by using simple randomly sampling divided into 2 groups with 45 of each group. The experiment group was taught through cooperative learning by jigsaw technique and control group was taught through traditional teaching for 15 sessions. Each lasted 45 minutes. The research tools were 1) The research instruments were the lesson plans based on cooperative learning by jigsaw technique, <br /> 2) The lesson plans based on traditional teaching, and 3) The questionnaire of the critical thinking in social study. The statistics used to analyzed data were mean, standard deviation,<br /> and t-test.<br /> The results were as follow:<br /> 1. The critical thinking scores in social study of the experiment group were higher than those before the experiment significantly at the .01 level.<br /> 2. The critical thinking scores in social Study of the control group were higher than those before the experiment significantly at the .05 level.<br /> 3. The critical thinking scores in social study of the experiment group were higher than those of control group significantly at the .05 level.<br />
     ผู้ทำ/Author
Nameยุสนีย์ เจะมะ
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. คณะศึกษาศาสตร์
     เนื้อหา/Content
Cover
Abstracts
Acknowledgements
Contents
Chapter1
Chapter2
Chapter3
Chapter4
References
Appendix
Vitae
     กลุ่มหัวเรื่อง: อิสลามศึกษา
ด้านการศึกษา
--การจัดการศึกษา
     Contributor:
Name: ดวงมณี จงรักษ์
Roles: อาจารย์ที่ปรึกษา
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2560
     Type: วิทยานิพนธ์/THESES
     Copyrights :
     Counter : 735
     Counter Mobile: 25