ชื่อเรื่อง/Title ภูมิปัญญาการใช้สมุนไพรของหมอพื้นบ้านภาคใต้ตอนล่างของประเทศไทย
     บทคัดย่อ/Abstract การศึกษาภูมิปัญญาของหมอพื้นบ้านจังหวัด ปัตตานี ยะลา นราธิวาส เป็นการศึกษาเชิงสำรวจ(Survey Research) โดยใช้เเบบสัมภาษณ์ที่ผ่านการตรวจสอบความตรงจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่านเเละทดลองสัมภาษณ์กับหมอพื้นบ้านจำนวน 10 ราย เพื่อหาค่าสัมประสิทธิ์ความเที่ยงด้วยคูเดอร์ ริชาร์ดสัน (KS20) ได้ค่า 0.75 สุ่มตัวอย่างเเบบเฉพาะเจาะจง คือ หมอพื้นบ้านที่มีรายชื่ออยู่ในทำเนียบของสาธารณสุขจังหวัดเเละยังรักษาผู้ป่วยด้วยเเพทย์พื้นบ้าน ได้ตัวอย่างทั้งหมด 156 ราย จากจำนวน 13 อำเภอ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนา คือ จำนวน ร้อยละ เเละวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการจัดกลุ่มตามเนื้อหา (content analysis) ผลการศึกษาพบว่าหมอพื้นบ้านส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 62.1 อายุอยู่ในช่วงระหว่าง61-70ปีมากที่สุด (ร้อยละ 23.1) รองลงมาอยู่ในช่วงอายุ 41-50 ปี (ร้อยละ22.4) นับถือศาสนาอิสลามเป็นส่วนใหญ่ (ร้อยละ 50) อาชีพหลักของหมอพื้นบ้านส่วนใหญ่คือทำนา (ร้อยละ 32.1) รองลงมาทำสวนทำไร่ (ร้อยละ22.1) ที่ใช้ความรู้ทางเเพทย์เเผนไทยประกอบอาชีพ (ร้อยละ14.1) หมอพื้นบ้านส่วนใหญ่มีระดับการศึกษาน้อย การศึกษาระดับประถมเป็นส่วนใหญ่ (ร้อยละ51.3) รองลงมาศึกษาระดับมัธยม (ร้อยละ 22.4) หมอพื้นบ้านที่มีใบประกอบโรคศิลปะทั้งเวชกรรมเเละเภสัชกรรมค่อนข้างน้อย (ร้อยละ 5.8) หมอพื้นบ้านในสามจังหวัด ส่วนใหญ่มีความรู้เกี่ยวกับการรักษาด้วยการนวดมากี่สุด (ร้อยละ45.5) รองลงมามีความรู้เกี่ยวกับการประคบสมุนไพร (ร้อยละ40.4) เเละใช้สมุนไพรรักษาโรค (ร้อยละ32.1) เเละมีการนำความรู้ด้านโหราศาสตร์มาใช้ด้วย โดยพบว่า ผู้มีความรู้ด้านโหราศาสตร์ ช่วยอยู่ไฟให้หญิงหลังคลอด เเละใช้สมาธิรักษาโรค จะนำความรู้นั้นมาใช้ประกอบการรักษาค่อนข้างมาก ส่วนข้อมูลเกี่ยวกับเเหล่งความรู้ ส่วนใหญ่ได้มาจากการสืบทอด (ร้อยละ 51.3) พบว่า หมอพื้นบ้านส่วนใหญ่ต้องการถ่ายทอดความรู้ (ร้อยละ 56.4) โดยเน้นการถ่ายทอดให้คนใกล้ชิด (ร้อยละ 46.8) ส่วนผู้ไม่ต้องการถ่ายทอดส่วนใหญ่มีเหตุผลเพื่อต้องการสืบต่อให้ลูกหลานเท่านั้น หมอพื้นบ้านส่วนใหญ่จะได้สมุนไพรมาจากการเก็บจากธรรมชาติ (ร้อยละ 69.9) เเละรูปแบบที่แจกให้คนไข้มักเตรียมสมุนไพรให้เเละให้คนไข้ไปเตรียมเอง (ร้อยละ 32.7) รองลงมาเตรียมสำเร็จเเละจ่ายให้คนไข้ (ร้อยละ 27.6)<br /> การศึกษาถึงภูมิปัญญาเเละความนิยมใช้สมุนไพรของงหมอพื้นบ้านโดยดูจากความถี่ของสมุนไพรที่หมอพื้นบ้านนิยมใช้ พบว่ามนุนไพรที่หมอพื้นบ้านรักษาอาการที่สาธารณสุขมูลฐานกำหนดจะเหมือนที่กำหนดในคู่มือการใช้สมุนไพรตามโครงการสาธารณสุขมูลฐานของกระทรวงสาธารณสุข โรคหรืออาการที่หมอพื้นบ้านนิยมใช้เหมือนกันหรือความถี่มากที่สุด คือ ว่าหางจรเข้ใช้รักษาเเผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก )ร้อยละ 34.6) รองลงมา คือใบฝรั่งรักษาอาการท้องเสีย (ร้อยละ 28.8) เเละเหง้าขมิ้นชันรักษาโลกกระเพาะ (ร้อยละ 23.7) <br /> จากผลการศึกษาสรุปว่าหมอพื้นบ้านนิยมใช้สมุนไพรที่มีรายงานทางวิทยาศาสตร์สนับสนุนการใช้เป็นส่วนใหญ่<br /> คำสำคัญ : ภูมิปัญญา, การใช้สมุนไพร, หมอพื้นบ้าน, ภาคใต้ตอนล่าง, ประเทศไทย

This survey research was conducted to investigate folk wisdom about the use of medicinal plants by traditional doctors in the lower South of Thailand (Pattani, Yala, and Nathiwat). The validity of the interview questionnaire used in collecting the data was tested by ten experts in traditional medicine whose names appeared in the name list of provincial public health offices nad who actively practised traditional medicine. The reliability of the instrument was tested using Kuder Richardson Formula 20 (KR20) and the coefficient was 0.75. A purposive sampling method was appled in selecting 156 subjects from 13 Ampoe of these provinces. Quantitative data were analyzed using descriptive statistics and quanlitative data using content analysis.<br /><br /> Most traditional doctors (62.1 percent) were males; 23.1 percent were in the age range of 61-70 years and 22.4 percent in the age range of 41-50 years. Fifty percent of the subjects were Muslim; 32.1 percent of them were rice farmers; of the subjects (51.3 percent) had recieved only primary education, and 22.4 percent had finished high school. Only 5.8 percent of the subjects had a certificate of medicien and phermaceutical practice. Most traditional doctors (45.5 percent) in these three provinces had knowledge about curative massage; 40.4 percent had knowledge about massage with a hot compress containing medicinal herbs; 32.1 percent had knowledge in using medicinal herbs for treatment. Regarding application of knowledge in other fields for treatment, it was found that the traditional doctors applied astrology, particularly in helping women in confiniment after labor, and meditation in treatment. In terns of knowledge sources, it was found that 51.3 percent of the subjects received the knowledge by inheritance : 56.4 percent wanted to pass on their knowledge, 46.8 percent of them wanting to pass it on in particular to their close relatives and friends. The subjects who did not want to pass on their knowledge stated that the would pass it on only to their descendents. Most traditional doctors (69.9 percent) collected medicinal herbs from natural sources; 32.7 percent dispensed concoctions of medicinal herbs to patients to be futher prepared for used by themselves, and 27.6 percent dispensed ready-made herbal medicines to their patients.<br /><br /> The popularity of medicinal herbs according to their frequency of use by traditional doctors to treat symptoms was in line with the suggestions in the manuals published by the Ministry of Public Health for the Primary Health Care project. The most frequently used medicinal herbs were : aloe vera for burns (34.6 percent), guava leaaves for diarrhea (28.8 percent), and curcuma rhizomes for pepticulcers (23.7 percent).<br /><br /> This research concluded that the traditional doctors used the medicinal plants which have been scientifically proved. <br /><br /> Key words : Folk wisdom, utilization of herbal medicine, traditional doctors, lower souther Thailand
     ผู้ทำ/Author
Nameอรุณพร อิฐรัตน์
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
Nameเพชรน้อย สิงห์ช่างชัย
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
Nameถนอมจิต สุภาวิตา
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
Nameปราณี รัตนสุวรรณ
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
Nameนงนิตย์ จงจิระศิริ
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
Nameจินตนา แสงพันธ์
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
Nameแวอับดุลกอแดร์ เจะอุบง
Organization สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปัตตานี สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยะลา
Nameสมพงษ์ สราญกวิน
Organization สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยะลา
     เนื้อหา/Content
บทความ
     กลุ่มหัวเรื่อง: วิถีชีวิตและประเพณี
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
Address:สงขลา (Songkhla)
     Year: 2545
     Type: บทความ/Article
     Copyrights :
     Counter : 3264
     Counter Mobile: 39