ชื่อเรื่อง/Title การพัฒนาโมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อพฤติกรรมใฝ่เรียนรู้ของนักศึกษาปริญญาตรีหลักสูตรอิสลามศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้
     บทคัดย่อ/Abstract การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ศึกษาองค์ประกอบเชิงสำรวจของปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อพฤติกรรมใฝ่เรียนรู้ของนักศึกษาปริญญาตรีหลักสูตรอิสลามศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ 2)ตรวจสอบองค์ประกอบเชิงยืนยันของปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อพฤติกรรมใฝ่เรียนรู้ของนักศึกษาปริญญาตรีหลักสูตรอิสลามศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ และ 3)ตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อพฤติกรรมใฝ่เรียนรู้ของนักศึกษาปริญญาตรีหลักสูตรอิสลามศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลเพื่อการวิจัย เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างนักศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาอิสลามศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 300 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (EFA) วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (CFA) และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง (SEM) โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป ผลการวิจัยพบว่า<br /> 1. องค์ประกอบของปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อพฤติกรรมใฝ่เรียนรู้ พบว่ามี 7 องค์ประกอบ 28 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 อิทธิพลคำสอนศาสนา องค์ประกอบที่ 2 การสนับสนุนทางสังคม องค์ประกอบที่ 3 บรรยากาศการเรียนรู้ องค์ประกอบที่ 4 การปฏิสัมพันธ์ระว่างผู้สอนและผู้เรียน องค์ประกอบที่ 5 การมีลักษณะมุ่งอนาคต องค์ประกอบที่ 6 การมีแรงจูงใจใฝ่เรียนรู้ และองค์ประกอบที่ 7 การมีนิสัยรักการอ่าน<br /> 2. ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของโมเดล พบว่า ค่าดัชนีวัดระดับความสอดคล้องมีความกลมกลืนอยู่ในเกณฑ์ดีและผ่านเกณฑ์การพิจารณาทุกค่า ประกอบด้วย ค่า ?2/df = 1.337 RMSEA=.034 RMR=.035 CFI=.967 GFI=.900 IFI=.967 และ TLI=.963 โดยค่าน้ำหนักองค์ประกอบมาตรฐานในโมเดลมีค่าระหว่าง .563-.885 และค่าความสัมพันธ์ (Correlation) ระหว่างคู่ตัวแปรปัจจัยแฝงทั้งสามอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด จึงกล่าวได้ว่าโมเดลมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทุกตัวแปร <br /> 3. ผลการตรวจสอบความสอดคล้องของการพัฒนาโมเดลปัจจัยเชิงเหตุที่ส่งผลต่อพฤติกรรมใฝ่เรียนรู้ของนักศึกษาปริญญาตรีหลักสูตรอิสลามศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ พบว่า ค่าดัชนีวัดระดับความสอดคล้องภายหลังการปรับโมเดล มีระดับความกลมกลืนอยู่ในเกณฑ์ดีทุกค่า คือ ?2/df=1.290 CFI=.970 GFI=.901 IFI=.970 TLI=.967 RMSEA=.031 RMR=.032 โดยตัวแปรปัจจัยเชิงสาเหตุหลักในโมเดลประกอบด้วย 1)สถานการณ์แวดล้อม (การสนับสนุนทางสังคม บรรยากาศการเรียน และการปฏิสัมพันธ์ระว่างผู้สอนและผู้เรียน) 2)คุณลักษณะเดิมภายในของผู้เรียน (ลักษณะมุ่งอนาคต มีแรงจูงใจใฝ่เรียนรู้ และการมีนิสัยรักการอ่าน) และ 3)อิทธิพลคำสอนศาสนาอิสลาม ซึ่งปัจจัยสถานการณ์แวดล้อมมีอิทธิพลทางตรงต่อพฤติกรรมใฝ่เรียนรู้ของผู้เรียน ส่วนอิทธิพลคำสอนศาสนาอิสลามและคุณลักษณะเดิมภายในของผู้เรียนมีอิทธิพลทางอ้อมต่อพฤติกรรมใฝ่เรียนรู้ของผู้เรียน โดยผ่านตัวแปรสื่อกลางจิตลักษณะตามสถานการณ์ (การรับรู้ความสามารถตนเอง เจตคติต่อการเรียนรู้ และความเชื่ออำนาจในตน) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ<br />

The purpose of this study aimed 1) to examine the underlying component of causal factors affecting active learning behavior for Islamic studies students? in three southern border provinces of Thailand 2) to confirm the structure of factors affecting active learning behavior for Islamic studies students? in three southern border provinces of Thailand and 3) to verify the consistency of the causal factors model that affect active learning behavior for an undergraduate student in Islamic studies program in the southern border provinces. Data were collected from 300 undergraduate students by using a questionnaire. The exploratory factor analysis (EFA), confirmatory factor analysis (CFA), and Structural Equation Modeling (SEM) were utilized to identify the underlying factors by using a computer program. The results of this study were as follows: <br /> 1. The components of casual factors affecting active learning behavior consisted of 7 components with 28 indicators including; 1)Influence of religion teaching, 2) social support, 3)learning atmosphere, 4) Interaction of instructor 5) component future orientation 6)learning motivation and 7)love of reading. <br /> 2. The result of confirmatory factor analysis of the model was found to be fit and reliable and all parameter estimates was a valid construct and achieved the suggested value; ?2/DF = 1.337, RMSEA = .034, RMR = .035, CFI = .967, GFI = .900, IFI = .967, and TLI = .963. Moreover, the correlation between factors also achieved the suggested value with ranging from .563 - .885. Therefore the model was found to be fit and all parameters estimates were a valid construct.<br /> 3. The result of consistency verification of the causal factors model affect active learning behavior for an undergraduate student in Islamic studies program in the southern border provinces was found to be fit, reliable and all parameter estimates was a valid construct and achieved the expected value, ?2/df =1.290, RMSEA=.031, RMR=.032, CFI=.970, GFI=.901, IFI=.970, and TLI=.967. There are 4 main causal factors in the model consisted; 1) the situation factor (social support, learning environment, and the interaction between instructor and learners). 2) the psychological traits (future orientation, learning motivation, and love of reading) and 3) the influence of religion teaching. The result also found that the situation factor was directly influence to students? active learning behavior. Moreover, influence of religion teaching and psychological traits factors have an indirect influence to students? active learning behavior through the psychological states (perceived self-efficacy, learning attitudes, and internal locus of control) as a mediator of the model.<br />
     ผู้ทำ/Author
Nameรูดียะห์ หะ
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. วิทยาลัยอิสลามศึกษา
     เนื้อหา/Content
     กลุ่มหัวเรื่อง: อิสลามศึกษา
     Contributor:
Name: ฐปนรรฆ์ ประทีปเกาะ
Roles: อาจารย์ที่ปรึกษา
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2559
     Type: วิทยานิพนธ์/THESES
     Copyrights :
     Counter : 478
     Counter Mobile: 37