ชื่อเรื่อง/Title สภาพ ปัญหา และแนวทางการดำเนินการตามกระบวนการบริหารเชิง กลยุทธ์ของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม สังกัดสำนักงาน การศึกษาเอกชนจังหวัดปัตตานี / States, Problems and Guidelines on Operations in Strategic Management of Islamic Private Schools under the Office of Private Education, Pattani Province
     บทคัดย่อ/Abstract การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบระดับสภาพการดำเนินการตามกระบวนการบริหารเชิงกลยุทธ์ของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม สังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดปัตตานี โดยจำแนกตามตำแหน่ง อายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน ขนาดของโรงเรียนและประมวลปัญหาและข้อเสนอแนะแนวทางการดำเนินการตามกระบวนการบริหารเชิงกลยุทธ์ของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม สังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดปัตตานี กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้อำนวยการโรงเรียน จำนวน 33 คน หัวหน้าฝ่ายบริหาร จำนวน 132 คนและตัวแทนครูผู้สอน จำนวน 33 คน รวมทั้งหมด จำนวน 198 คน เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามและการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปโดยใช้สถิติ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การทดสอบค่าเอฟ และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาสำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพ<br /><br /> ผลการวิจัยพบว่า สภาพการดำเนินการตามกระบวนการบริหารเชิงกลยุทธ์ของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม สังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดปัตตานีในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านการปฏิบัติตามกลยุทธ์ของโรงเรียน ด้านการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมของโรงเรียน และด้านการกำหนดกลยุทธ์ของโรงเรียนอยู่ในระดับ มาก ส่วนด้านการกำหนดทิศทางของโรงเรียน และด้านการดำเนินการควบคุม ติดตามและประเมินกลยุทธ์ของโรงเรียนอยู่ในระดับ ปานกลาง ผลการเปรียบเทียบระดับสภาพการดำเนินการตามกระบวนการบริหารเชิงกลยุทธ์ของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม สังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดปัตตานี จำแนกตามตำแหน่ง อายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน และขนาดของโรงเรียน ส่วนใหญ่โดยภาพรวมและรายด้าน พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 <br /><br /> ส่วนปัญหาและข้อเสนอแนะแนวทางการดำเนินการตามกระบวนการบริหารเชิงกลยุทธ์ของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม สังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดปัตตานี ผลปรากฏในภาพรวม ทั้ง 5 ด้าน สรุปได้ดังนี้ <br /><br /> 1) ด้านการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมของโรงเรียน พบว่า บุคลากรในโรงเรียนไม่ให้<br /><br /> ความสำคัญ ขาดความรู้ความเข้าใจและไม่ค่อยให้ความร่วมมือ จึงควรมีการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้มีความรู้ความเข้าใจกระบวนการบริหารเชิงกลยุทธ์และเปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายได้มีส่วนร่วมในการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมของโรงเรียนให้ครอบคลุมทั้งภายนอกและภายในโรงเรียน <br /><br /> 2) ด้านการกำหนดทิศทางของโรงเรียน พบว่า การกำหนดทิศทางของโรงเรียนยังไม่ชัดเจน ขาดงบประมาณในการสนับสนุน จึงควรมีการประชุมปรึกษาหารือ วางแผนร่วมกัน กำหนดทิศทางของโรงเรียนให้ชัดเจนสามารถนำไปปฏิบัติได้<br /><br /> 3) ด้านการกำหนดกลยุทธ์ของโรงเรียน พบว่า ไม่มีการระดมความคิดของผู้มีส่วนร่วมและการกำหนดกลยุทธ์ไม่ชัดเจน จึงควรมีการระดมความคิดเห็นของทุกฝ่ายให้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นเพื่อกำหนดกลยุทธ์ของโรงเรียนให้มีความชัดเจน<br /><br /> 4) ด้านการปฏิบัติตามกลยุทธ์ของโรงเรียน พบว่า การปฏิบัติตามกลยุทธ์ของโรงเรียนไม่เป็นไปตามกลยุทธ์ที่กำหนดหรือปฏิบัติได้น้อย ทำให้การดำเนินงานขาดประสิทธิภาพ จึงควรมีการประชุมวางแผนร่วมกัน แต่งตั้งผู้รับผิดชอบแต่ละแผนงาน/โครงการ/กิจกรรมให้ชัดเจน และปฏิบัติสอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ที่วางไว้ <br /><br /> 5) ด้านการดำเนินการควบคุม ติดตามและประเมินกลยุทธ์ของโรงเรียน พบว่า บางครั้งข้อมูลไม่เที่ยงตรง ไม่ชัดเจน ขาดเครื่องมือและบุคลากรที่เชี่ยวชาญ ดังนั้นผู้บริหารควรมีการตรวจสอบติดตามงานอยู่เสมอ มีปฏิทินในการควบคุม ติดตามและประเมินกลยุทธ์ของโรงเรียน และมีการนำเสนอรายงานสรุปการปฏิบัติงานเป็นภาพรวมของโรงเรียนให้ทุกฝ่ายได้รับทราบ <br /><br />

The purposes of this research were to study and compare operations in strategic management of Islamic private schools under the Office of Private Education, Pattani Province based on position, age, educational qualification, work experiences, and school sizes and to collect information about the problems and to propose guidelines on operations in strategic management of the schools. The samples used in this research consisted of 33 school directors, 132 heads of administrative section and 33 school teachers, making a total of 198 samples. The data was collected with questionnaires and interviews. The collected quantitative data was analyzed by statistical software computer program to report descriptive statistics such as frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test and F-test. And the qualitative data was analyzed by content analysis.<br /><br /> It was found from this study that the level of operations in strategic management of Islamic private schools for the overall level was high. Considering each dimension, it was found that the level of the implementation of school strategy, the analysis of the school environment and the formulation of school strategy were high. While, the level of the formulation of school direction and the operation in strategic control, monitor and evaluation of the schools were moderate. On the comparative analysis of operations in strategic management of Islamic private schools, the results showed that the level of operations in strategic management of the schools was found to have a statistically significant differences at .05 between group with respect to position, age, educational qualification, work experiences, and school sizes for most of overall and each dimension. <br /><br /> The problems and the proposed suggestions on operations in strategic management of Islamic private schools can be concluded into 5 dimensions as below:-<br /><br /> 1) On the analysis of the school environment, it was found that school personnel <br /><br /> were not concerned with the school environment, lack of its understanding and they make a little cooperation. Therefore, organization of workshop providing an understanding of operation process in strategic management should be conducted. All parties concerned should be given opportunities to get involved in the analysis of both internal and external school environment.<br /><br /> 2) On the formulation of school direction, it was found that the formulation of the school direction was unclear and lack of supporting budget. Thus, there shall be a consultation meeting and a collaborative planning to make a clear formulation of the school direction that can be possibly implemented.<br /><br /> 3) On the formulation of school strategy, it was found that no brainstorming session among participants was made in this regard and the formulation of school strategy was also unclear. Thus, there shall be a brainstorming session to collect ideas from all parties concerned to be used for formulating a clear school strategy.<br /><br /> 4) On the implementation of school strategy, it was found that the implementation of school strategy was not in according to or less responsive to the defined strategy. Consequently, the work operation was ineffective. Therefore, there shall be a joint plan meeting to appoint persons responsible for each program /project /activity in a clear manner in order for them to implement the school strategy in compliance with the strategy that has been laid down.<br /><br /> 5) On the operation in strategic control, monitor and evaluation of the schools, it was found that the related information obtained, for sometimes, was inaccurate and unclear, the schools lack of instruments and personnel expertise. Therefore, the schools administrators should monitor work operation regularly. A calendar for strategic control, monitor and evaluation of the schools should be provided and a summary report of overall schools? work operation to all parties concerned should also be made. <br /><br />
     ผู้ทำ/Author
Nameพิชยา ทอดทิ้ง
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. คณะศึกษาศาสตร์
     เนื้อหา/Content
Cover
bismillah
Abstract
Acknowledgements
Contents
Symbols
Chapter 1
Chapter 2
Chapter 3
Chapter 4
Chapter 5
References
Appendix
Vitae
     กลุ่มหัวเรื่อง: อิสลามศึกษา
ด้านการศึกษา
--นโยบายทางการศึกษา
--การจัดการศึกษา
--บุคลากรทางการศึกษา
     Contributor:
Name: นิเลาะ แวอุเซ็ง
Roles: ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2558
     Type: วิทยานิพนธ์/THESES
     Copyrights :
     Counter : 921
     Counter Mobile: 26