ชื่อเรื่อง/Title สภาพและปัญหาการเรียนการสอนวิชาภาษาอาหรับในศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด (ตาดีกา) อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส / States and Problems of Arabic Teaching in Mosque-based Educational Center (TADIKA) in Chanae District, Narathiwas Province
     บทคัดย่อ/Abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1. เพื่อศึกษาสภาพการดำเนินการเรียนการสอนวิชาภาษาอาหรับ ในศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด (ตาดีกา) 2.เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการเรียนการสอนวิชาภาษาอาหรับ ในศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด (ตาดีกา) 3. เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาในการเรียนการสอนวิชาภาษาอาหรับในศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด (ตาดีกา) การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยได้กำหนดประชากรและกลุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบง่าย โดยคัดเลือกศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด(ตาดีกา) อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาสจำนวน 37 ศูนย์ เลือกใช้การสังเกตเฉพาะ 15 ศูนย์ และใช้การสัมภาษณ์ผู้สอนภาษาอาหรับในศูนย์ฯ 30 คน และผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชียวชาญ 3 ท่าน นำเสนอข้อมูลโดยการพรรณนา<br /><br /> <br /><br /> ผลการวิจัยพบว่า <br /><br /> 1. สภาพการเรียนการสอนวิชาภาษาอาหรับ (1) ด้านหลักสูตรและเอกสารประกอบการเรียนการสอน จากการศึกษาพบว่า หลักสูตรและเอกสารประกอบการเรียนการสอน ที่ใช้ประกอบโดยส่วนใหญ่เป็นหลักหลักสูตรอิสลามศึกษาฟัรฏูอีนประจำมัสยิด พ.ศ.2548/ ฮ.ศ.1426 ใช้ร่วมกับหลักสูตรอื่นๆ (2) ด้านวิธีการและกิจกรรมการเรียนการสอน จากการศึกษาพบว่า วิธีการและกิจกรรมการเรียนการสอน โดยส่วนใหญ่เน้นในเรื่อง การอ่าน การเขียน การท่องจำ และการบรรยาย (3) ด้านสื่อการเรียนการสอน จากการศึกษาพบว่า สื่อการเรียนการสอน ที่ใช้ประกอบโดยส่วนใหญ่ เป็นหนังสือเรียน กับกระดานดำ <br /><br /> 2. สภาพปัญหาการเรียนการสอนวิชาภาษาอาหรับ (1) ด้านหลักสูตรและเอกสารประกอบการเรียนการสอนจากการศึกษาพบว่า สภาพปัญหาด้านหลักสูตรและเอกสารประกอบการเรียนการสอน โดยส่วนใหญ่หลักสูตรและเอกสารประกอบการเรียนการสอนไม่เป็นเอกภาพ ผู้สอนไม่สอนตามหลักสูตรที่กำหนดให้ ไม่มีการนิเทศกหลักสูตร ไม่มีการอบรมหลักสูตร เนื้อหาหลักสูตรไม่เหมาะสมกับวัยของผู้เรียน และผู้สอนไม่เข้าใจตัวบทของหลักสูตร (2) ด้านวิธีการและกิจกรรมการเรียนการสอนจากการศึกษาพบว่า สภาพปัญหาด้านวิธีการและกิจกรรมการเรียนการสอน โดยส่วนใหญ่ ขาดทักษะทางด้านภาษา จำนวนผู้เรียนมากเกินไป ผู้สอนไม่เพียงพอ ผู้สอนขาดประสบการณ์การสอนภาษาอาหรับและไม่มีความรู้ในศาสตร์ที่สอน สอนในรูปแบบเดิมๆ ขาดการเตรียมการสอน เวลาไม่เพียงพอ และขาดกิจกรรมการเรียนการสอน (3) ด้านสื่อการเรียนการสอนจากการศึกษาพบว่า สภาพปัญหาด้านสื่อการเรียนการสอน โดยส่วนใหญ่ ขาดสื่อการเรียนการสอน ขาดงบประมาณในการจัดทำสื่อการสอน และไม่มีความรู้ในการใช้สื่อ<br /><br /> 3. และแนวทางการพัฒนาการเรียนการสอนวิชาภาษาอาหรับ ควรได้รับการอบรมอย่างต่อเนื่องในด้านหลักสูตรและเอกสารประกอบการเรียนการสอน ด้านวิธีการและเทคนิคการสอน ด้านการใช้สื่อ วิธีการจัดหาสื่อ หรือคัดเลือกสื่อ ควรสร้างจิตสำนึกในการสอน เน้นการจัดกิจกรรมในห้องเรียน ควรให้หลักสูตรเป็นเอกภาพ และมีการติดตามจากหน่วยงานที่รับผิดชอบ<br /><br />

This research was aimed at 1) studying states of Arabic Teaching in Mosque-based Educational Center (TADIKA) in Chanae District, Narathiwas Province, 2) studying states problems of Arabic Teaching in Mosque-based Educational Center (TADIKA) in Chanae District, Narathiwas Province, 3) studying development of Arabic Teaching in Mosque-based Educational Center (TADIKA) in Chanae District, Narathiwas Province. This study was a quality research by using population and selected the sample group by using simple sandom sampling. The samples consisted of 37 mosque-based Educational centers (TADIKA) in Chanae District Narathiwas Province which selected by observation only 15 mosque-Based educational centers and interview the Arabic teacher 30 peoples and 3 experts. The data presented by the descriptive analysis.<br /><br /> <br /><br /> The results found that <br /><br /> 1. The state of teaching in Arabic language were 1) the most curriculums and the instructional documentations were Fardhu Ain curriculums of Islamic studies of mosque in 2005 involving other curriculums. 2) the most methods and the learning activities were reading, writing, memorizing and lecturing. 3) the instructional media including book and blackboard.<br /><br /> 2. The state of problem of Arabic teaching were 1) the most curriculums and the instructional documentations were no unity, the teacher didn?t teach following to the curriculums, the curriculums without supervision, no training in curriculums, the content didn?t appropriate for the age of the students and the teacher didn?t understand in curriculums. 2) the most problem of methods and the learning activities were no skill in language, too many students, the teacher inadequate, the teachers lack of teaching experience and knowledge in sciences, old teaching styles, lack of preparation for teaching, not enough time, lack of teaching activities. 3) the most problem of the instructional media were lack of instructional media and lack of funding and inexpert in instructional media.<br /><br /> 3. And guidelines for development operations of Arabic teaching should be trained continuously in the curriculums, the instructional documentations, methods, teaching techniques, the providing of playing media, the making of teaching Conscious, activity operations in classroom, the unity of curriculums and following and monitoring by the responsible authority.<br /><br />
     ผู้ทำ/Author
Nameอัซมัต ลูโบะเด็ง
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
     เนื้อหา/Content
Cover
Abstract
Acknowledgements
Contens
Symbols
Chapter1
Chapter2
Chapter3
Chapter4
Chapter5
References
Appendix
     กลุ่มหัวเรื่อง: อิสลามศึกษา
     Contributor:
Name: กาเดร์ สะอะ
Roles: ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2558
     Type: วิทยานิพนธ์/THESES
     Copyrights :
     Counter : 712
     Counter Mobile: 23