ชื่อเรื่อง/Title การรับฟังพยานหลักฐานทางด้านนิติวิทยาศาสตร์กรณีศึกษาเปรียบเทียบ ระหว่างกฎหมายไทยและกฎหมายอิสลาม / A Comparative Study : The Admissible Forensic Science Evidence in Thai law and Islamic law
     บทคัดย่อ/Abstract การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ 1) เพื่อศึกษาการรับฟังพยานหลักฐานทางด้านนิติวิทยาศาสตร์ในกฎหมายไทย 2) เพื่อศึกษาการรับฟังพยานหลักฐานทางด้านนิติวิทยาศาสตร์ในกฎหมายอิสลาม 3) เพื่อศึกษาเชิงเปรียบเทียบการรับฟังพยานหลักฐานทางด้านนิติวิทยาศาสตร์ในกฎหมายไทยกับกฎหมายอิสลาม<br /> การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเอกสาร การวิจัยเอกสารผู้วิจัยได้ศึกษาและรวบรวม<br /> ข้อมูลจากอัลกุรอาน อัสสุนนะฮฺ ตลอดจนตำราและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องมาวิเคราะห์เนื้อหาเชิงคุณภาพและได้มีทำการเปรียบเทียบแนวคิด อิทธิพลของกฎหมาย ที่มาของกฎหมาย ตัวอย่างคำพิพากษาของกฎหมายไทย กฎหมายทั่วไป และกฎหมายอิสลาม เพื่อให้มองเห็นภาพของการนำนิติวิทยาศาสตร์ พยานผู้เชี่ยวชาญ พยานความเห็น มาใช้ในการพิสูจน์ข้อเท็จจริง ความน่าเชื่อถือของพยานด้านนี้ การค้นพบวิทยาการด้านต่าง ๆ ที่สามารถนำมาใช้ในกระบวนการยุติธรรมซึ่งปัจจุบันสังคมมนุษย์มีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น ห่างไกลจากศีลธรรม จริยธรรม และศาสนาที่นับถือมากยิ่งขึ้น การใช้ดุลพินิจของศาลในการรับฟังพยานหลักฐานทางด้านนี้มีส่วนสำคัญในการรักษาความสงบเรียบร้อยของสังคม บางครั้งจะพบว่าพยานหลักฐานด้านนี้ไม่เพียงแต่ใช้เป็นหลักฐานมัดตัวผู้กระทำผิดเท่านั้น แต่ยังมีส่วนในการนำมาใช้เพื่อให้ศาลเห็นว่าผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดเป็นผู้บริสุทธิ์อีกด้วย<br /> ผลการศึกษาวิจัยพบว่า<br /> 1 ประเทศไทยเพิ่งนำศาสตร์สาขานี้มาใช้ในกระบวนการยุติธรรม โดยมีการริเริ่มในสมัยของรัชการที่ 7 เป็นต้นมา<br /> 2 กฎหมายอิสลามได้นำศาสตร์สาขานี้มาใช้ตั้งแต่ยุคของท่านเราะสูล ? ในระบอบการปกครองของอิสลามแล้ว<br /> 3 ประเทศอาหรับหรือกลุ่มประเทศมุสลิมไม่ว่าจะในภูมิภาคตะวันออกกลางล้วนได้รับอิทธิพลทางด้านกฎหมายจากประเทศฝรั่งเศสและอังกฤษทั้งนั้น จึงได้มีการปรับปรุงรูปแบบกระบวนการยุติธรรมขนานใหญ่ แต่ได้มีการปรับใช้กับกฎหมายอิสลามกับกลุ่มประเทศอิสลามเหล่านั้น<br /> 4 คุณค่าของพยานด้านนิติวิทยาศาสตร์ในเชิงพิสูจน์ของกฎหมายไทยเห็นว่าเป็นพยานชั้นหนึ่งแต่กฎหมายอิสลามเห็นว่าเป็นเพียงความเห็นจำต้องนำพยานอื่นมาสืบประกอบ<br /> 5 กฎหมายไทยสามารถให้ผู้เชี่ยวชาญทำความเห็นต่อศาลไม่ต้องมาให้การต่อศาลได้ ส่วนกฎหมายอิสลามพยานประเภทนี้ต้องมาให้การต่อศาล<br /> 6 กฎหมายศาลไทยกำหนดให้พยานประเภทนี้เผชิญหน้าต่อคู่กรณี ในขณะที่กฎหมายอิสลามใช้ระบบไต่สวนในการพิจารณาคดี<br /> 7 กฎหมายไทยยอมรับฟังพยานหลักฐานที่เป็นสารพันธุกรรม (DNA) ในการร้องศาลเพื่อให้มีคำสั่งในการรับรองบุตรได้ ส่วนกฎหมายอิสลามใช้เพื่อประโยชน์สาธารณะเท่านั้นและยังคงใช้การคาดเดาเค้าโครงหน้าเพื่อพิสูจน์สายโลหิต<br /> นิติวิทยาศาสตร์ที่ถูกนำมาใช้ในในศาสนาอิสลามน่าจะนำมาปรับใช้กับสังคมไทยได้ เนื่องจากเป็นเรื่องที่สามารถพิสูจน์ได้ในเชิงประจักษ์ โดยเฉพาะในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ สามารถนำหลักชะรีอะฮฺหรือแนวทางการดำเนินชีวิตตามครรลองของศาสนาอิสลามที่สอดคล้องกันนี้มาใช้ในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งต่าง ๆ ซึ่งอาจเป็นทางเลือกหนึ่งในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยวิธีการนำนิติวิทยาศาสตร์และหลักการเกี่ยวกับข้อกำหนดในการตรวจพิสูจน์ในหลักอิสลามมาใช้เพื่อขจัดความเคลือบแคลงสงสัยในวิธีการตรวจพิสูจน์ อีกทั้งยังสามารถนำหลักการและแนวคิดทางศาสนาที่สอดคล้องกันกับนิติวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ เพื่อให้ประชาชนยอมรับและเชื่อถือในกระบวนการยุติธรรม อันจะส่งผลต่อความผาสุกของสังคมโดยรวมต่อไป<br />

The objectives of this study are as follows 3 objectives: 1) to study the admissible of forensic evidence in Thai Law 2) to study the admissible of forensic science in Islamic law. 3) to study comparative forensic evidence in Thai law and Islamic law.<br /> In this study was conducted research is a research document. The researchers studied the documents and information from al-Qur?n, al-sunnah texts as well as related research and analysis content protection and a comparable concept. the influence of the law,the source of law For example, the judgment of the law, common law, Islamic law and Thai law. The vision of bringing forensic science. Expert witness testimony that was used to prove the fact. The credibility of this witness. The discovery of science that can be used in the process.<br /> At present, human society is more complex. Far removed from ethics, morality, and religion even more. The discretion of the court to hear the testimony of a key part in maintaining peace and order of society. Sometimes it is found that the evidence was not only used as evidence against the offender only. But also applied to the court that the alleged perpetrator was innocent, too.<br /> The study showed that<br /> 1 Thai law has led the field of science is used in a process 10 years ago with the initiative in the days of the King Rama 7 onwards.<br /> 2 Islamic law has been used since the early history of this branch of the chip lead. The regime of Islam.<br /> 3 United Arab or Muslim countries, whether in the Middle East region are influenced by the laws of France and England too. The improved form of justice underwent. But it is deployed with the Islamic law against those Islamic countries.<br /> 4 The value of forensic evidence in proving the law of Thai law that 1 witness, but in Islamic law is the only comment need to testified another successor operator.<br /> 5 Thai law can provide expert legal opinion to the court not to come to the court. Islamic law also requires the witness to come to court.<br /> 6 Court of Thai set to witness this confrontation on both sides. While Islamic law is Inquisitorial system<br /> 7 legislation in Thai Law accepts the use of DNA to sue the father Certified child . Usage of Islamic law in the public interest, and continue to take the Physiognomy to prove lineage.<br /> Forensic science is used in Islam to be applied to social Thailand. As it can <br /> be proven empirically. Particularly in the 3 southern provinces. Can Shari?ah main religion or way of life according to the teachings of Islam, the corresponding source is used to resolve conflicts which may be one option to resolve the unrest in the 3 southernmost provinces. The forensic methods and principles in terms of the identification of the main Islamic used to eliminate suspicions on the method of identification. It also can lead to religious principles and concepts consistent with the forensic science used to benefit. The public recognition and trust in the justice system. This will affect the well-being of society as a whole anyway.<br />
     ผู้ทำ/Author
Nameอันธีร์ ก่ออารี
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
     เนื้อหา/Content
Cover
Abstrcts
Contens
Symbols
Chapter1
Chapter2
Chapter3
Chapter4
Chapter5
References
Appendix
Vitae
     กลุ่มหัวเรื่อง: อิสลามศึกษา
     Contributor:
Name: มะรอนิง สาแลมิง
Roles: อาจารย์ที่ปรึกษา
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2558
     Type: วิทยานิพนธ์/THESES
     Copyrights :
     Counter : 2313
     Counter Mobile: 23