|
บทคัดย่อ/Abstract |
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) ศึกษาปัจจัยการคงสภาพระบบดั้งเดิมของสถาบันศึกษาปอเนาะหลังจากปี พ.ศ. 2547 2) ศึกษาระดับความพึงพอใจต่อระบบดั้งเดิมของสถาบันศึกษาปอเนาะ 3) ศึกษาแนวทางการส่งเสริมและพัฒนาระบบดั้งเดิมของสถาบันศึกษาปอเนาะที่ยั่งยืน การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงสำรวจ ผู้วิจัยได้กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบง่ายสถาบันศึกษาปอเนาะในอำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ที่จดทะเบียนจำนวน 5 สถาบัน และแบ่งกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างสำเร็จรูปของ Krejcie and Morgan มีกลุ่มตัวอย่างในการสอบถามจำนวน 232 คน และกำหนดผู้ให้สัมภาษณ์ จำนวน 10 คน ใช้แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างในการเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปหาค่าทางสถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์ข้อมูลจากการค้นคว้าเอกสาร ใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา <br /><br />
<br /><br />
ผลการวิจัยพบว่า <br /><br />
1. ปัจจัยการคงสภาพระบบดั้งเดิมของสถาบันศึกษาปอเนาะหลังจากปี พ.ศ. 2547สามารถแบ่งออกเป็น5 ปัจจัย ได้แก่ 1) ปัจจัยด้านศาสนา 2) ปัจจัยด้านการศึกษา 3) ปัจจัยด้านสังคม 4) ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ 5) ปัจจัยด้านการอนุรักษ์ประเพณีและวัฒนธรรม และพบว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อการคงสภาพระบบดั้งเดิมมากที่สุด 3 ลำดับ คือ โต๊ะครูต้องการสืบทอดหลักการศาสนาอิสลามไปสู่ชนรุ่นหลัง อยู่ในระดับสูงสุด คิดเป็นร้อยละ 71.1 รองลงมา ระบบปอเนาะดั้งเดิมเน้นสอนความรู้ด้านศาสนาอิสลามที่มาจากคัมภีร์อัลกุรอานและสุนนะฮฺ ตามแนวทางมัษฮับอัชชาฟิอีย์ คิดเป็นร้อยละ 67.7 และปอเนาะเป็นแหล่งอนุรักษ์อัตลักษณ์ของมุสลิมมลายู เช่น การแต่งกายของเด็กปอเนาะ การเรียนด้วยหนังสือกีตาบ คิดเป็นร้อยละ 62.9<br /><br />
2. ระดับความพึงพอใจต่อระบบดั้งเดิมของสถาบันศึกษาปอเนาะ พบว่า มีความพึงพอใจสูงสุดต่อด้านโต๊ะครู อยู่ในระดับมาก มีค่า ( x? ) = 4.21, S.D.= 0.63 รองลงมาด้านนักเรียน อยู่ในระดับมาก มีค่า ( x? ) = 4.15 , S.D. = 0.64 และด้านลักษณะการจัดการเรียนการสอน อยู่ในระดับมาก มีค่า ( x? ) = 4.12, SD. = 0.63 และด้านหลักสูตรและการประเมิน อยู่ในระดับมาก มีค่า ( x? ) =3.86, S.D. = 0.71 และด้านสถานที่เรียน อยู่ในระดับปานกลาง มีค่า ( x? ) = 3.48, S.D. = 0.94 และน้อยที่สุด คือ ด้านที่พักนักเรียน อยู่ในระดับปานกลาง (ปอเนาะ) มีค่า ( x? ) = 3.44, S.D. =1.08 <br /><br />
3. แนวทางการส่งเสริมและพัฒนาระบบดั้งเดิมของสถาบันศึกษาปอเนาะทียั่งยืน แบ่งออกเป็น 4 ด้าน ได้แก่ <br /><br />
1) ด้านระบบการเรียนการสอนในสถาบันศึกษาปอเนาะ <br /><br />
2) ด้านบุคลากร <br /><br />
3) ด้านโครงสร้างพื้นฐาน เช่น อาคารเรียน ที่พัก บาลัย <br /><br />
4) ด้านระบบสาธารณูปโภค<br /><br />
This research aimed 1) to study the factor influencing Pondoks to remain in their traditional system after 2005, 2) to study the satisfaction levels remain in their traditional system, 3) to operate guidelines to promote and develop the traditional system of sustainable Pondoks.<br /><br />
This research was a survey research. The researcher was scoped sample group by using simple random sampling, collected Pondoks in Chana district of Songkhla province with registered five schools determining sample group according to the Krejcie and Morgan table include 232 people, and determined interviewee 10 people. The instruments were a questionnaire and a structured interview form.<br /><br />
The research resulted in finding that the factor influencing Pondoks to remain in their traditional system after 2005 were 1) Religion factors 2) Education Factors 3) Social factors 4) Economic factors 5) The preservation of tradition and culture factor, and found that the most third priority factors influencing Pondok as 1)Tok Guru need to carry down islamic principles to future generations as be the highest level (71.1%), 2) The traditional system of Pondok emphasizes the knowledge from the al-Quran and al-Sunnah according to the Shafi'i school as be the medium level (67.7), and 3) Pondok as a source of identity of muslim Malay were the dress of student in Pondok and the learning with kitab (62.9).<br /><br />
The satisfaction level of the traditional system of Pondok, it was found that satisfaction level in Tok Guru is at the highest level ( x? ) = 4.21, S.D. = 0.63. Second, the satisfaction level in student is at the high level ( x? ) = 4.15, S.D. = 0.64, the characteristics of teaching and learning is at the high level ( x? ) = 4.12, SD. = 0.63, the curriculum evaluation is at the high level ( x? ) =3.86, S.D. = 0.71, the learning location is at the high level ( x? ) = 3.48, S.D. = 0.94, and the dormitory is at the lowest level ( x? ) = 3.44, S.D. =1.08.<br /><br />
The guidelines to promote and develop the traditional system of sustainable Pondok divided into four parts including <br /><br />
1) The learning and teaching system in Pondok. <br /><br />
2) The personnel. <br /><br />
3) Infrastructure: Pondok buildings, dormitory, Balai. <br /><br />
4) Public utility systems.<br /><br />
|