ชื่อเรื่อง/Title การใช้เทคนิควิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์เพื่อศึกษาภาชนะดินเผาโบราณจากแหล่งเตาเผาบ้านดี จังหวัดปัตตานี / Archaeometric Study of Ancient Pottery from Ban Dee Kilns, Pattani Province Ban Dee Kilns, Pattani Province
     บทคัดย่อ/Abstract านวิจัยชิ้นนี้มุ่งเน้นการศึกษาทางด้านเทคนิควิเคราะห์ภาชนะดินเผา จากแหล่งเตาเผาบ้านดี จังหวัดปัตตานี โดยภาชนะดินเผาดังกล่าวนี้ เป็นภาชนะดินเผาเนื้อดินที่ได้รับการก าหนดอายุอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 22-23 ซึ่งเป็นช่วงที่ปัตตานีโบราณอยู่ในยุคเจริญรุ่งเรืองทางด้านการค้าขาย ตัวอย่างของภาชนะดินเผาที่น ามาวิเคราะห์ เป็นภาชนะดินเผาที่ได้จากการขุดค้นทางโบราณคดีอย่างเป็นระบบ การวิเคราะห์ภาชนะดินเผาด าเนินการโดยวิธีทางวิทยาศาสตร์ 2 กรรมวิธีด้วยกัน ได้แก่ การวิเคราะห์ด้วยวิธีศิลาวรรณา และการวิเคราะห์ด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด ร่วมกับเทคนิคการวัดการกระจายพลังงานของรังสีเอกซ์ เพื่อศึกษาวัตถุดิบ แหล่งวัตถุดิบ และเทคนิควิธีการผลิตภาชนะดินเผาของเตาบ้านดี ว่ามีกรรมวิธีอย่างไร<br /><br /><br /> ผลการศึกษาพบว่า ภาชนะดินเผาจากเตาบ้านดีเป็นภาชนะดินเผาประเภทเนื้อดิน ดินที่น ามาใช้เป็นวัตถุดิบมาจากแหล่งดินที่มีลักษณะพื้นที่แบบที่ราบลุ่มบริเวณชายฝั่งทะเล เป็นเนื้อดินธรรมชาติที่มีทรายปะปนเป็นองค์ประกอบหลักในดิน แต่ไม่มีส่วนผสมใดๆปะปน มีการขึ้นรูปด้วยแป้นหมุน ตกแต่งภาชนะด้วยการกดประทับจากแม่พิมพ์ ในขณะที่อุณหภูมิการเผาไม่เกิน 400-550 องศาเซลเซียส

This research aimed at the archaeometric study of ancient potteries from Ban Dee kilns, Pattani province. Theses earthenware potteries were dated between 17th -18th centuries, when Pattani?s trade was flourishing. The samples used in this study were systematically excavated from archaeological sites and analyzed through petrographic analysis, scanning electron microscopy and energy dispersive x-ray spectroscopy (SEM-EDX) in order to examine the pottery fabric, sources of raw materials and production techniques and processes.<br /><br /><br /> The analysis showed that primary raw material of earthenware potteries at Ban Dee was clay with Silica as the major mineral from coastal lowlands. Wheel throwing technique was employed in the production. The potteries were decorated through mold stamping while the burning temperature was between 400-550? C.<br /><br /><br />
     ผู้ทำ/Author
Nameวันวิสาข์ ธรรมานนท์
Organization
Nameดวงกมล อัศวมาศ
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
     เนื้อหา/Content
Cover
Abstract
Contens
Chapter1
Chapter2
Chapter3
Chapter4
Chapter5
Chapter6
References
Appendix
     กลุ่มหัวเรื่อง: ภูมิทัศน์และการท่องเที่ยว
--ปัตตานี
ศิลปะและวัฒนธรรม
--โบราณสถานและโบราณวัตถุ
     Contributor:
Name: กองทุนวิจัยวิทยาเขตปัตตานี
Roles:
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2555
     Type: งานวิจัย/Research Report
     Copyrights :
     Counter : 1017
     Counter Mobile: 34