|
||||||||||||||||||||||
ชื่อเรื่อง/Title | Factors Associated with Public High School Dropouts due to Poverty in Pattani, Thailand / ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการออกกลางคันเนื่องจากฐานะยากจนของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาในโรงเรียนรัฐบาลจังหวัดปัตตานี ประเทศไทย | |||||||||||||||||||||
บทคัดย่อ/Abstract | This study aims to examine association between drop-out due to poverty and level of education, gender, year of study and location of school of public high school students in Pattani province. Data were obtained from Office of the Basic Education Commission during 2005 to 2009. It was cross-sectional study design. Pearson?s Chi-squared test was used to explore the associations between the outcome and each determinant. Multiple logistic regression were used to assess effects of determinant factors adjusted for other factors on drop-out due to poverty.<br />
Of the total 1,341 drop-out students, 348 (25.95%) were drop-out due to poverty and 993 (74.05%) were drop-out due to other reasons. Preliminary results from Pearson?s Chi-squared test showed that level of education, year of study, and location of school were statistically significant associated with drop-out due to poverty. Results from multiple logistic regression showed that level of education, year of study, and location of school were associated with drop-out due to poverty. Senior high school students were less likely to have drop-out than junior high school students. The drop-out rates decreased with year of study, 2005 were more likely to have drop-out due to poverty than those of years 2006, 2007, 2008 and 2009. For location of school, Yarang was a reference group, seven districts (Kapho, Mayo, Saiburi, Panarae, Maikan, Tungyangdaeng, and Maelan) were more likely to have drop-out due to poverty higher than Yarang.<br />
When we fitted the model using sum contrasts, the average percentage is 25.95%. Senior high school students have lower drop-out rate than average. Percentage drop-out rates decreased with year of study. Students enrolled in 2005 have higher drop-out rate than average. The drop-out rates were high in Kapho (57.14%), Mayo (45.98 %), Saiburi (45.89%), Panarae (46.81%) and Tungyangdae (43.48%).<br />
วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้เพื่ออธิบายความสัมพันธ์ระหว่างการออกกลางคันเนื่องจากฐานะยากจน กับระดับของการศึกษา เพศ ปีการศึกษา และที่ตั้งของโรงเรียนของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาในโรงเรียนรัฐบาลจังหวัดปัตตานี โดยใช้ข้อมูลจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระหว่างปีการศึกษา 2548-2552 เป็นการศึกษาแบบตัดขวาง สถิติที่นำมาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ Pearson?s Chi-squared test เพื่อวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ของตัวแปรอิสระ กับการออกกลางคันเพราะฐานะยากจน และใช้ Multiple logistic regression วิเคราะห์อิทธิพลของตัวแปรระดับของการศึกษา เพศ ปีการศึกษา และที่ตั้งของโรงเรียนที่มีต่อการออกกลางคันเนื่องจากฐานะยากจน <br /> จำนวนนักเรียนที่ออกกลางคันทั้งหมด 1,341 คน จำแนกเป็น 348 คน (25.95%) ออกกลางคันเนื่องจากฐานะยากจน และ 993 คน (74.05%) ออกกลางคันด้วยสาเหตุอื่น ผลการทดสอบจาก Pearson?s Chi-squared test พบว่า ระดับการศึกษา ปีการศึกษา และที่ตั้งของโรงเรียน มีนัยสำคัญทางสถิติกับการออกกลางคันเนื่องจากฐานะยากจน และเมื่อสร้างโมเดล Multiple logistic regression พบว่าระดับของการศึกษา ปีการศึกษา และที่ตั้งของโรงเรียน มีความสัมพันธ์กับการออกกลางคันเนื่องจากฐานะยากจน การออกกลางคันของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายน้อยกว่าระดับมัธยมศึกษาตอนต้น อัตราการออกกลางคันสำหรับปีการศึกษา 2549 2550 2551 และ 2552 น้อยกว่าปีการศึกษา 2548 และมีแนวโน้มลดลง และสำหรับที่ตั้งของโรงเรียนมี 7 อำเภอ คือ กะพ้อ มายอ สายบุรี ปะนาเระ ไม้แก่น ทุ่งยางแดง และแม่ลาน มีอัตราการออกกลางคันเพราะฐานะยากจนสูงกว่าอำเภอยะรัง<br /> เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยโดยรวม พบว่า การออกกลางคันเพราะฐานะยากจนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายออกกลางคันน้อย การออกกลางคันเพราะฐานะยากจนมีแนวโน้มลดลง โดยในปี 2548 มีอัตราการออกกลางคันเนื่องจากฐานะยากจนสูงและต่ำในปี 2551 การออกกลางคันเพราะฐานะยากจนอัตราการออกกลางคันจะสูงในโรงเรียนที่ตั้งอยู่อำเภอกะพ้อ (57.14%) มายอ (45.89%) สายบุรี (46.81%) และทุ่งยางแดง (43.48%)<br /> |
|||||||||||||||||||||
ผู้ทำ/Author |
|
|||||||||||||||||||||
เนื้อหา/Content |
|
|||||||||||||||||||||
กลุ่มหัวเรื่อง: |
ด้านการศึกษา --การจัดการศึกษา --ปัญหาทางการศึกษา --ปัตตานี |
|||||||||||||||||||||
Contributor: |
|
|||||||||||||||||||||
Publisher: |
|
|||||||||||||||||||||
Year: | 2015 | |||||||||||||||||||||
Type: | วิทยานิพนธ์/THESES | |||||||||||||||||||||
Copyrights : | ||||||||||||||||||||||
Counter : | 849 | |||||||||||||||||||||
Counter Mobile: | 36 | |||||||||||||||||||||