|
|
|
ชื่อเรื่อง/Title |
สภาพปัจจุบันและปัญหาการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรอิสลามศึกษาแบบเข้มของครูในโรงเรียนสองระบบ จังหวัดปัตตานี / Current Status and Problems of Teaching and Learning in the Islamic Studies in the Intensive Curriculum in Dual System Schools, Pattani Province |
|
บทคัดย่อ/Abstract |
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการปฏิบัติของครูในการจัดการเรียนการ สอนตามหลักสูตรอิสลามศึกษาแบบเข้ม 2) ศึกษาปัญหาในการจัดการเรียนการสอนของครูตามหลักสูตรอิสลามศึกษาแบบเข้ม 3) เปรียบเทียบปัญหาการดำเนินการจัดการเรียนการสอนของครูตามตัวแปรคือสาขาวิชาที่สำเร็จการศึกษา ระดับการศึกษา และประสบการณ์การสอน 4) ศึกษาแนวทางการพัฒนาหรือข้อเสนอแนะของครูในโรงเรียนสองระบบ จังหวัดปัตตานี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วยครูสอนหลักสูตรอิสลามศึกษาแบบเข้ม จำนวน 181 คน และผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 15 คน ประกอบด้วย ศึกษานิเทศก์ ผู้บริหารโรงเรียน นักวิชาการอิสลามศึกษา และครูผู้สอน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบสอบถาม และการจัดสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และการวิเคราะห์เนื้อหา<br />
<br />
ผลการวิจัยพบว่า <br />
1) สภาพการปฏิบัติของครูในการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรอิสลามศึกษาแบบเข้มในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการจัดเนื้อหาวิชา ด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้ และด้านการส่งเสริมหรือการสนับสนุนการเรียนการสอน อยู่ในระดับมาก อีกทั้งด้านการจัดทำแผนการสอน ด้านการใช้สื่อการเรียนการสอน และด้านการวัดและประเมินผล อยู่ในระดับปานกลาง <br />
2) ปัญหาการในจัดการเรียนการสอนของครูตามหลักสูตรอิสลามศึกษาแบบเข้มในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ปัญหาที่อยู่ในระดับมากมี 3 ด้าน โดยมีค่าเฉลี่ยสูงสุดตามลำดับคือ ด้านการวัดและประเมินผล ด้านการใช้สื่อการเรียนการสอน และ ด้านการจัดทำแผนการสอน <br />
3) ผลเปรียบเทียบปัญหาการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรอิสลามศึกษาแบบเข้มของครูที่มีสาขาวิชาที่สำเร็จการศึกษา ระดับการศึกษา และประสบการณ์การสอนที่แตกต่างกันโดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน<br />
4) แนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนที่สำคัญคือ ควรพัฒนาการจัดทำแผนการสอนโดยให้มีการอบรมครูสอนอิสลามศึกษาในหลักสูตรการจัดทำแผนการสอนให้มีความเข้มข้น พร้อมมีระบบการติดตามครูอย่างต่อเนื่องจนครูสามารถปฏิบัติเอง และโรงเรียนควรจัดสรรงบประมาณสำหรับสนับสนุนด้านสื่อการเรียนรู้อย่างเต็มที่ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการเรียนรู้ให้มากขึ้น โดยให้มีสื่อการเรียนรู้ที่ทันสมัย มีความหลากหลายสอดคล้องกับหน่วยการเรียนรู้ และควรจัดระบบครูพี่เลี้ยงที่มีประสบการณ์ด้านการวัดและประเมินผลคอยแนะนำ หรือด้วยการส่งครูไป อบรม และศึกษาต่อในหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู<br />
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการปฏิบัติของครูในการจัดการเรียนการ สอนตามหลักสูตรอิสลามศึกษาแบบเข้ม 2) ศึกษาปัญหาในการจัดการเรียนการสอนของครูตามหลักสูตรอิสลามศึกษาแบบเข้ม 3) เปรียบเทียบปัญหาการดำเนินการจัดการเรียนการสอนของครูตามตัวแปรคือสาขาวิชาที่สำเร็จการศึกษา ระดับการศึกษา และประสบการณ์การสอน 4) ศึกษาแนวทางการพัฒนาหรือข้อเสนอแนะของครูในโรงเรียนสองระบบ จังหวัดปัตตานี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วยครูสอนหลักสูตรอิสลามศึกษาแบบเข้ม จำนวน 181 คน และผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 15 คน ประกอบด้วย ศึกษานิเทศก์ ผู้บริหารโรงเรียน นักวิชาการอิสลามศึกษา และครูผู้สอน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบสอบถาม และการจัดสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และการวิเคราะห์เนื้อหา<br />
<br />
ผลการวิจัยพบว่า <br />
1) สภาพการปฏิบัติของครูในการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรอิสลามศึกษาแบบเข้มในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการจัดเนื้อหาวิชา ด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้ และด้านการส่งเสริมหรือการสนับสนุนการเรียนการสอน อยู่ในระดับมาก อีกทั้งด้านการจัดทำแผนการสอน ด้านการใช้สื่อการเรียนการสอน และด้านการวัดและประเมินผล อยู่ในระดับปานกลาง <br />
2) ปัญหาการในจัดการเรียนการสอนของครูตามหลักสูตรอิสลามศึกษาแบบเข้มในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ปัญหาที่อยู่ในระดับมากมี 3 ด้าน โดยมีค่าเฉลี่ยสูงสุดตามลำดับคือ ด้านการวัดและประเมินผล ด้านการใช้สื่อการเรียนการสอน และ ด้านการจัดทำแผนการสอน <br />
3) ผลเปรียบเทียบปัญหาการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรอิสลามศึกษาแบบเข้มของครูที่มีสาขาวิชาที่สำเร็จการศึกษา ระดับการศึกษา และประสบการณ์การสอนที่แตกต่างกันโดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน<br />
4) แนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนที่สำคัญคือ ควรพัฒนาการจัดทำแผนการสอนโดยให้มีการอบรมครูสอนอิสลามศึกษาในหลักสูตรการจัดทำแผนการสอนให้มีความเข้มข้น พร้อมมีระบบการติดตามครูอย่างต่อเนื่องจนครูสามารถปฏิบัติเอง และโรงเรียนควรจัดสรรงบประมาณสำหรับสนับสนุนด้านสื่อการเรียนรู้อย่างเต็มที่ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการเรียนรู้ให้มากขึ้น โดยให้มีสื่อการเรียนรู้ที่ทันสมัย มีความหลากหลายสอดคล้องกับหน่วยการเรียนรู้ และควรจัดระบบครูพี่เลี้ยงที่มีประสบการณ์ด้านการวัดและประเมินผลคอยแนะนำ หรือด้วยการส่งครูไป อบรม และศึกษาต่อในหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู<br />
|
|
ผู้ทำ/Author |
Name | ซุลกอรนัยน์ เบ็ญยา | Organization | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. วิทยาลัยอิสลามศึกษา |
|
|
เนื้อหา/Content |
|
|
กลุ่มหัวเรื่อง: |
อิสลามศึกษา
|
|
Contributor: |
Name: |
ธีรพงศ์ แก่นอินทร์ |
Roles: |
อาจารย์ที่ปรึกษา |
|
|
Publisher: |
Name | : | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี | Address | : | ปัตตานี (Pattani) |
|
|
Year: |
2557 |
|
Type: |
วิทยานิพนธ์/THESES |
|
Copyrights : |
|
|
Counter : |
994 |
|
Counter Mobile: |
23 |
|