ชื่อเรื่อง/Title จริยธรรมในการดำเนินชีวิตของชาวไทยพุทธในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ : กรณีศึกษาจากภูมิปัญญาท้องถิ่น / Ethics in Daily Life of Thai Buddhist in Three Southern Border Provinces:A Case Study From Local Wisdom
     บทคัดย่อ/Abstract <dd>การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาจริยธรรมในการดำเนินชีวิตของชาวไทยพุทธในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้จากภูมิปัญญาท้องถิ่น และศึกษาคุณค่าทางจริยธรรม ศึกษาแนวทางพัฒนาและส่งเสริมจริยธรรม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิในชุมชน จำนวน ชุมชนละ 10 คน จำนวนทั้งสิ้น 300 คน ซึ่งอาศัยอยู่ในจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส <br /> <dd>นำสรุปเป็นผลการวิจัยได้ดังนี้<br /> <dd>1. จริยธรรมในการดำเนินชีวิตตามวิถีชาวพุทธมีสามระดับขั้น ได้แก่ จริยธรรมขั้นพื้นฐาน ได้แก่ การปฎิบัติตามศีล 5 ประการ คือ งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ งดเว้นจากการลักทรัพย์ งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม งดเว้นจากการพูดปด งดเว้นจากการดื่มน้ำเมา จริยธรรมขั้นกลาง ได้แก่ กุศลกรรมบถ 10 ประการ คือ กายสุจริตประกอบด้วย เว้นจากการฆ่าหรือทำร้ายผู้อื่น เว้นจากการลักขโมย และเว้นจากการประพฤติผิดในกาม วจีสุจริต ประกอบด้วย เว้นจากการพูดเท็จ เว้นจากการพูดยุยง เว้นจากการพูดคำหยาบ และเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ และมโนสุจริตประกอบด้วย เว้นจากการคิดอยากได้ เว้นจากการคิดอาฆาตและเว้นจากการคิดไม่มีเหตุผล และจริยธรรมขั้นสูง ได้แก่ มรรคมีองค์ 8 ประการ คือความเห็นชอบ ความดำริชอบ การเจรจาชอบ การกระทำชอบการเลี้ยงชีพชอบ ความพยายามชอบ ความระลึกชอบ การตั้งจิตมั่นชอบ ซึ่งจริยธรรมดังกล่าวเป็นจริยธรรมทีมาจากหลักปฎิบัติทางพุทธศาสนาที่ได้รับการปลูกฝังมาจากพ่อ-แม่ ครู-อาจารย์ และพระสงฆ์ โดยยึดหลักความเป็นคนดี และต้องการอยู่อย่างมีความสุข หากได้ปฎิบัติตามพุทธจริยศาสตร์ดังกล่าวแล้วจะทำให้เป็นคนดีมีความสงบสุขได้จริง<br /> <dd>2. คุณค่าที่มีผลต่อการดำเนินชีวิตของชาวไทยพุทธ ทำให้เกิดคุณค่าทั้งต่อตนเองและต่อสังคม เพราะทำให้ตนเองปฎิบัติในสิ่งที่ถูกต้อง ดีงาม มีสัมมาคารวะ เป็นแบบอย่างที่ดี เป็นที่เคารพแก่บุคคลอื่น มีความซื่อสัตย์ สุจริต และมีความสงบสุข ส่วนคุณค่าต่อสังคมคือทำให้ครอบครัว ชุมชน ไปจนถึงสังคมระดับประเทศและสังคมโลกมีประชาชนอาศัยอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข<br /> <dd>3. แนวทางพัฒนาและส่งเสริมอนุรักษ์จริยธรรมในการดำเนินชีวิตของชาวไทยพุทธในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ พ่อ-แม่ ครู-อาจารย์ พระสงฆ์ ผู้นำชุมชนและผู้บริหารประเทศ ต้องมีบทบาทสำคัญในการปลูกฝังจริยธรรมให้เกิดมีขึ้น และมีองค์กรต่างๆทั้งภาคเอกชนและภาครัฐ สนับสนุนให้รางวัลคนดีมีศีลธรรม เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ประชาชนในทุกสังคม โดยมีเป้าหมายไปสู่สันติภาพและสันติสุขของชาวโลกทั้งมวล

This research was intended to study the ethics in daily life of Thai Buddhist in Three Southern Border Provinces from the local wisdom, and to study the ethic values including the promotion for ethic development. The samples in the study were the experts in theity communities in three provinces ; Pattani, Yala and Narathiwat. The data collecting was focus group interviwe and quastionnaire.<br /> The analysis of data was the content analysis and arithmetic means, atandard deviation for each item. The seminar for brain storming was for conclusions. The results were as in the followings:<br /> 1. The ethics in daily life of Thai Buddhist were levels in practices; 1) Basic level ethics which composed of five practices; do not kill the others, do not steal, do not misconduct, do not tell a lie, and do not drink alcohol, 2) Medium level ethics which composed of mind acting, physical acting, and speech acting, 3) I ligh level ethics which composed of Right Understanding, Right Thought, Right Speech, Right Action, Right Livelihood, Right Effort, Right Mindfulness and Right concentration. These ethics were from the practice in Buddhist religious which were tranferred by parents, teacher, and monks. The purposive prinsiples were to be good characteristics, to live with happiness in daily life.<br /> 2. The ethic values were the effeting to himself or herself and to social 1) For self, he or she will be good in manners and well behaviors 2) For social as in family, society and country, people will live with happiness together.<br /> 3. The promotion development in ethic for daily life of Buddhist in three southern border provinces should play roles from parents, teachers, monks, community leaders and the administrators. They should support the activities for motivation and be a good model in the communities to be peaceful in our societies and the world.
     ผู้ทำ/Author
Nameอุทัย เอกสะพัง
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
Nameชุมศักดิ์ อินทรรักษ์
Organization
Nameไพฑูรย์ พัฒน์ใหญ่ยิ่ง
Organization
Nameอ้อมใจ วงษ์มณฑา
Organization
     เนื้อหา/Content
หน้าปก
บทคัดย่อ
กิตติกรรมประกาศ
สารบัญ
บทที่ 1 บทนำ
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 3 วิธีการวิจัย
บทที่ 4 ผลการวิจัย
บทที่ 5 สรุปผลอภิปรายผลและข้อเสนอแนะ
บรรณานุกรม
ภาคผนวก
     กลุ่มหัวเรื่อง: ด้านศาสนา
--ศาสนากับสังคม
วิถีชีวิตและประเพณี
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2548
     Type: งานวิจัย/Research Report
     Copyrights :
     Counter : 3790
     Counter Mobile: 51