ชื่อเรื่อง/Title การจัดการศึกษาอิสลามในเกาะบูโหลน จังหวัดสตูล / Islamic Educational Management in Bulone Island Satun Province
     บทคัดย่อ/Abstract การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบริบทสังคมของชุมชนมุสลิมเกาะบูโหลน จังหวัดสตูล 2) ศึกษาระดับความต้องการในการจัดการศึกษาอิสลามของประชาชนในชุมชนมุสลิมเกาะบูโหลน จังหวัดสตูล และ 3) ประมวลแนวทางในการจัดการการศึกษาอิสลามของชุมชนมุสลิมเกาะบูโหลน จังหวัดสตูล เป็นวิจัยเชิงพรรรณา ทำการศึกษาเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถาม ผู้ให้ข้อมูลหลักเป็นประชาชนในชุมชนมุสลิมเกาะบูโหลน จังหวัดสตูล จำนวน 10 คน ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์ เข้าใจบริบทและเคยปฏิบัติงานด้านการพัฒนาชุมชนเกาะบูโหลนจำนวน 24 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาระดับความต้องการในการจัดการศึกษาอิสลาม จำนวน 216 คน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน <br /><br /> ผลการวิจัยพบว่า <br /><br /> 1) บริบททางสังคมพบว่า ประชาชนประกอบอาชีพประมงเป็นหลัก ส่วนใหญ่มีการศึกษาน้อยโดยเฉพาะทางด้านการศึกษาอิสลามและส่วนใหญ่ไม่สามารถอ่านอัลกุรอานได้ ชุมชนไม่มีการเรียนการสอนในระดับตาดีกาหรือฟัรดูอีนแต่มีการเรียนการสอนรายวิชาอิสลามศึกษาในโรงเรียนสามัญ ไม่มีอีหม่ามหรือผู้นำทางด้านศาสนาที่เป็นคนในชุมชนเองมีเพียงอาสาสมัครจากแผ่นดินใหญ่มาทำหน้าที่และนำละหมาดวันศุกร์หรือในช่วงที่มีพิธีกรรมสำคัญทางศาสนาเท่านั้น ประชาชนบางส่วนยังคงมีการพึ่งพิงพิธีกรรมทางไสยศาสตร์ มีรายได้น้อยกว่าหรือเพียงพอกับรายจ่ายเท่านั้นส่วนใหญ่มีหนี้สิน มีการปฏิสัมพันธ์กันภายในชุมชนสูงเช่น การแต่งงานกันเองภายในตระกูลเครือญาติและระหว่างตระกูล รวมทั้งกับชุมชนภายนอกก็มีการไปมาหาสู่กัน ขาดการเข้าถึงสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานอย่างเพียงพอ เช่น ไฟฟ้า น้ำอุปโภคบริโภค การบริการด้านอนามัยและสาธารณะสุข <br /><br /> 2) ประชาชนมีความต้องการในการจัดการศึกษาอิสลามโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีความต้องการจัดการศึกษาอิสลามด้านการศึกษาในระบบอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนด้านการศึกษานอกระบบและด้านการศึกษาตามอัธยาศัยมีความต้องการอยู่ในระดับมาก <br /><br /> 3) ประมวลแนวทางในการจัดการศึกษาอิสลาม พบว่า ด้านการศึกษาในระบบควรพัฒนาการจัดการเรียนการสอนวิชาอิสลามศึกษาซึ่งเป็นรายวิชาที่มีอยู่แล้วในโรงเรียนสามัญ ให้มีความเข้มข้นมากขึ้นและทำให้มีชีวิตชีวา ด้านการศึกษานอกระบบ จำเป็นต้องผลักดันให้มัสยิดได้รับการรองรับการจดทะเบียนอย่างถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อเป็นฐานนำไปสู่การจัดการเรียนการสอน และในระยะสั้นจะต้องประสานผู้มีจิตอาสามาเป็นผู้สอน ส่วนในระยะยาวจะต้องส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนได้รับการศึกษาที่สูงกว่าชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นหรือปริญญาตรี เพื่อกลับมาพัฒนาชุมชนและเป็นแบบอย่างแก่คนรุ่นต่อไป<br /><br />

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบริบทสังคมของชุมชนมุสลิมเกาะบูโหลน จังหวัดสตูล 2) ศึกษาระดับความต้องการในการจัดการศึกษาอิสลามของประชาชนในชุมชนมุสลิมเกาะบูโหลน จังหวัดสตูล และ 3) ประมวลแนวทางในการจัดการการศึกษาอิสลามของชุมชนมุสลิมเกาะบูโหลน จังหวัดสตูล เป็นวิจัยเชิงพรรรณา ทำการศึกษาเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถาม ผู้ให้ข้อมูลหลักเป็นประชาชนในชุมชนมุสลิมเกาะบูโหลน จังหวัดสตูล จำนวน 10 คน ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์ เข้าใจบริบทและเคยปฏิบัติงานด้านการพัฒนาชุมชนเกาะบูโหลนจำนวน 24 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาระดับความต้องการในการจัดการศึกษาอิสลาม จำนวน 216 คน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน <br /><br /> ผลการวิจัยพบว่า <br /><br /> 1) บริบททางสังคมพบว่า ประชาชนประกอบอาชีพประมงเป็นหลัก ส่วนใหญ่มีการศึกษาน้อยโดยเฉพาะทางด้านการศึกษาอิสลามและส่วนใหญ่ไม่สามารถอ่านอัลกุรอานได้ ชุมชนไม่มีการเรียนการสอนในระดับตาดีกาหรือฟัรดูอีนแต่มีการเรียนการสอนรายวิชาอิสลามศึกษาในโรงเรียนสามัญ ไม่มีอีหม่ามหรือผู้นำทางด้านศาสนาที่เป็นคนในชุมชนเองมีเพียงอาสาสมัครจากแผ่นดินใหญ่มาทำหน้าที่และนำละหมาดวันศุกร์หรือในช่วงที่มีพิธีกรรมสำคัญทางศาสนาเท่านั้น ประชาชนบางส่วนยังคงมีการพึ่งพิงพิธีกรรมทางไสยศาสตร์ มีรายได้น้อยกว่าหรือเพียงพอกับรายจ่ายเท่านั้นส่วนใหญ่มีหนี้สิน มีการปฏิสัมพันธ์กันภายในชุมชนสูงเช่น การแต่งงานกันเองภายในตระกูลเครือญาติและระหว่างตระกูล รวมทั้งกับชุมชนภายนอกก็มีการไปมาหาสู่กัน ขาดการเข้าถึงสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานอย่างเพียงพอ เช่น ไฟฟ้า น้ำอุปโภคบริโภค การบริการด้านอนามัยและสาธารณะสุข <br /><br /> 2) ประชาชนมีความต้องการในการจัดการศึกษาอิสลามโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีความต้องการจัดการศึกษาอิสลามด้านการศึกษาในระบบอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนด้านการศึกษานอกระบบและด้านการศึกษาตามอัธยาศัยมีความต้องการอยู่ในระดับมาก <br /><br /> 3) ประมวลแนวทางในการจัดการศึกษาอิสลาม พบว่า ด้านการศึกษาในระบบควรพัฒนาการจัดการเรียนการสอนวิชาอิสลามศึกษาซึ่งเป็นรายวิชาที่มีอยู่แล้วในโรงเรียนสามัญ ให้มีความเข้มข้นมากขึ้นและทำให้มีชีวิตชีวา ด้านการศึกษานอกระบบ จำเป็นต้องผลักดันให้มัสยิดได้รับการรองรับการจดทะเบียนอย่างถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อเป็นฐานนำไปสู่การจัดการเรียนการสอน และในระยะสั้นจะต้องประสานผู้มีจิตอาสามาเป็นผู้สอน ส่วนในระยะยาวจะต้องส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนได้รับการศึกษาที่สูงกว่าชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นหรือปริญญาตรี เพื่อกลับมาพัฒนาชุมชนและเป็นแบบอย่างแก่คนรุ่นต่อไป<br /><br />
     ผู้ทำ/Author
Nameอับดุลเล๊าะ หมัดอะด้ำ
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. วิทยาลัยอิสลามศึกษา
     เนื้อหา/Content
Cover
Abstract
Acknowledgements
Contens
Symbol
Chapter1
Chapter2
Chapter3
Chapter4
Chapter5
References
Appendix
Vitae
     กลุ่มหัวเรื่อง: อิสลามศึกษา
     Contributor:
Name: อะห์มัด ยี่สุ่นทรง
Roles: อาจารย์ที่ปรึกษา
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2558
     Type: วิทยานิพนธ์/THESES
     Copyrights :
     Counter : 1580
     Counter Mobile: 26