ชื่อเรื่อง/Title รายงานการวิจัยการพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องดนตรีพื้นบ้านอีสานจากไม้ยางพารา / The Improvement of Isan Folk Musical Instrument made from rubber wood
     บทคัดย่อ/Abstract การศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้เพื่อศึกษากรมวิธีและขั้นตอนการสร้างเครื่องดนตรีจากไม้ยางพาราเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องดนตรีพื้นบ้านอีสาน โดยกำหนดขอบเขตเครื่องดนตรี 6 เครื่องมือ คือ กลอง พิณโปร่ง พิณไฟฟ้า พิณเบส แคน และโปรงลาง กรรมวิธีการสร้างเครื่องดนตรีจะศึกษาวิธีการสร้างเครื่องดนตรีจาก วิธีการ เทคนิค และจากวัสดุดั้งเดิม ผลการศึกษาพบว่า ไม้ยางพาราจะหาได้ง่ายมีราคาถูกกว่าไม้ท้องถิ่น ความคิดเห็นของศิลปินผู้เชี่ยวชาญต่อคุณภาพเครื่องดนตรีที่ทำจากไม้ยางพาราส่วนใหญ่ให้ความเห็นว่า ไม้ยางพาราสามารถทำเครื่องดนตรีพื้นบ้านอีสานได้ในระดับเท่ากัน/เหมือนกัน โดยได้ให้ความเห็นใน 4 ด้าน คือ การทำรูปร่าง/รูปทรง ความสวยงาม คุณภาพเสียง และความเหมาะสมในการนำมาทำเครื่องดนตรี การวิเคราะห์เปรียบเทียบเสียง พบว่า เสียงโปงลางที่ทำจากไม้มะหาดตามเทคนิคและวิธีการดั้งเดิม มีคุณภาพเสียงที่ดีที่สุด ส่วนคุณภาพเสียงโปรงลางที่ทำจากไม้ยางพาราด้วยเทคนิควิธีการดั้งเดิมของชาวอีสาร จะมีคุณภาพเสียงที่ไม่ต่างกันมากนัก โดยไม้ที่ผ่านการอบน้ำยาและอบแห้ง จะมีคุณภาพเสียงดีกว่าไม้ที่ไม่ผ่านกรรมวิธีอบแห้งและอบน้ำยา

     ผู้ทำ/Author
Nameปิยพันธ์ แสนทวีสุข
Organization มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. คณะศิลปกรรมศาสตร์
     เนื้อหา/Content
วิทยานิพนธ์ฉบับเต็มจากฐานข้อมูล TDC
     กลุ่มหัวเรื่อง: ยางพารา
     Contributor:
Name: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
Roles: ผู้ให้ทุนวิจัย
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
Address:
     Year: 2544
     Type: งานวิจัย/Research Report
     Copyrights :
     Counter : 861
     Counter Mobile: 58