ชื่อเรื่อง/Title ความต้องการที่แท้จริงของประชาชนใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ (จังหวัดยะลา ปัตตานีและนราธิวาส) / The real needs of people in the three southern border provinces (Yala, Pattani and Narathiwat provinces)
     บทคัดย่อ/Abstract งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการที่แท้จริงของประชาชนกลุ่มต่างๆในจังหวัดชายแดนภาคใต้ในด้านการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ สังคม การศึกษา ศาสนา วัฒนธรรม วิถีชีวิต สาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม 2) เพื่อให้ได้กรอบในการกำหนดนโยบายและแผนงานในการนำไปปฎิบัติและการจัดสรรงบประมาณของ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาและพัฒนาใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้<br /><br /> <dd>เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และการสัมภาษณ์กลุ่ม จากกลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้นำศาสนา ผู้นำท้องถิ่น ผู้นำสตรี ผู้นำเยาวชน ตัวแทนไทยพุทธ กลุ่มอาชีพต่างๆ นักการเมือง นักศึกษาและกลุ่มอื่นๆ จำนวน 2730 คน<br /><br /> <dd>ผลการวิจัย พบว่า<br /><br /> <dd>ความต้องการที่แท้จริงของประชาชนสามารถแบ่งออกเป็น 4 ประการ คือ 1) ความต้องการการมีส่วนร่วม 2) ความต้องการการยอมรับความหลากหลายทางวัฒนธรรม 3) ความต้องการความยุติธรรมและความเท่าเทียมกัน และ 4) ความต้องการให้ยอมรับความเป็นอัตลักษณ์พิเศษของคนในพื้นที่<br /><br /> <dd>ความต้องการที่แท้จริงข้างต้นนำมาเป็นกรอบในการกำหนดนโยบาย แผนงานและโครงการเพื่อสนองความต้องการในด้านต่างๆ ดังนี้ <br /><br /> 1) ส่งเสริมการบริหารจัดการโดยเน้นกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมท้องถิ่น 2) การยอมรับเอกลักษณ์และความหลากหลายทางวัฒนธรรม 3) สร้างและส่งเสริมความเป็นธรรมและความเท่าเทียมกันในสังคม<br /><br /> <dd>สำหรับข้อเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาและพัฒนาใน 3 จัวหวัดชายแดนภาคใต้ มีดังต่อไปนี้<br /><br /> 1. สนองตอบความต้องการของประชาชนในภาพรวมของแต่ละด้านตามข้อค้นพบจากงานวิจัย<br /><br /> 2. กำหนดนโยบาย แผนงาน และโครงการต่างๆ ของภาครัฐให้คำนึงถึงมิติดังต่อไปนี้<br /><br /> <dd>ก. การมีส่วนร่วมของคนในพื้นที่<br /><br /> <dd>ข. การยอมรับเอกลักษณ์และความหลากหลายทางวัฒนธรรม<br /><br /> <dd>ค. ความเป็นธรรมและความเท่าเทียมกันในสังคม<br /><br /> 3. เร่งเสริมสร้างความเข้าใจและตระหนักรู้ของทุกภาคส่วนเกี่ยวกับวัฒนธรรมท้องถิ่นเพื่อลดความอ่อนไหวทางวัฒนธรรมที่อาจจะนำไปสู่เงื่อนไขความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้<br /><br /> 4. ผลักดันสถาบันทางสังคมของชุมชน เช่น สถาบันครอบครัว สถาบันศาสนา สถาบันการศึกษา เป็นต้น ให้มีบทบาทในการแก้ไขปัญหาและเป็นตัวขับเคลื่อนในการพัฒนา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้<br /><br /> 5. ทบทวนโครงการต่างๆของรัฐที่ขัดแย้งกับความรู้สึกและหลักความเชื่อของประชาชนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้<br /><br /> 6. ปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ผู้บริหารทุกองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนให้ยอมรับความหลากหลายของหลักความเชื่อ วัฒนธรรม และอัตลักษณ์พิเศษของพื้นที่<br /><br /> 7. ผลักดันนโยบาย แผนงานและโครงการจากข้อค้นพบในโครงการวิจัยนี้นำไปสู่การปฎิบัติให้เป็นรูปธรรมทั้งในระยะสั้นและระยะยาว<br /><br /> 8. ปรับปรุงรูปแบบและวิธีการเผยแพร่ข่าวสาร ข้อมูลของภาครัฐให้ถึงประชาชนอย่างทั่วถึง<br /><br /> 9. พิจารณาทบทวนกลไกในปัจจุบัน คิดค้นกลไกและนวัตกรรมเพื่อผลักดันนโยบายให้เป็นรูปธรรม

The objectives of this research are (1) to study the needs of people in three Southern border provinces with regard to politics and government, economy, social, education, culture, ways of life, health and environment; (2) to delineate scope of policy making as guidelines for program implementation and butget allocations; and (3) to propose guidelines for solving problems and developing the Southern border provinces.<br /><br /> The study employed the descriptive method to examine needs of people in the Southern border provinces. Data of the study were obtained from questionnaires and group interview. Saples used for quantitative analysis consisted of religious, local, lady, and youth lesders; Buddhist delegates; professional delegates; politicians; and student. The total number of samples selected through multi-stages sampling method were 2,730. Qualitative data were obtained from experts who had good command of knowledge and prosess profound experiences in various fields. Policies, programs and projects were drawn from the Connoisscurship Model.<br /><br /> Findings<br /><br /> The survey of the needs of people in the Southern border provinces in various fields, namely, politics and government, economy, social, education, culture, ways of life, health and environment revealed that the real needs of the people were as follows:<br /><br /> 1. Participation from local people.<br /><br /> 2. Acknowledgement of cultural diversity.<br /><br /> 3. Justice and equity.<br /><br /> 4.Acknowledgement ol local identity.<br /><br /> The above needs, therefore, were taken as guidelines for making policies, programs and projects in order to suit needs of the people. The proposed policies which were made in accordance with the findings were, (1) promotion of good governance through local participation; (2) acknowledgement of cultural diversity and local identity; and (3) guarantee and promotion of justice and equity.<br /><br /> With regard to the proposed guidelines for solving problems ans developing the three southern border provinces, they were as follows;<br /><br /> 1. Fulfilling needs of the people consistent with the findings.<br /><br /> 2. In making policies, programs, and projects, the government has to take the following aspects into account; <br /><br /> 2.1 Participartion from local people.<br /><br /> 2.2 Local identity and cultural diversity.<br /><br /> 2.3 Justice and equity.<br /><br /> 3. Encouraging all sectors including both private and government in making efforts to mutually understand local cultures in order to reduce escalation of cultural sensitivities which might bring about the unrest in southern border provinces.<br /><br /> 4. Strengthening social institutions of the locals as familly, religious and educational institutions, to get involved and become key instrument in solving problems in the three southern border provinces.<br /><br /> 5. Revising government projects to assure that they are not in contradiction with the feeling and belife of the people in southern border provinces.<br /><br /> 6. Making change of the paradigm among institution leaders, both private and government so that they would acknowledge cultural diversity and local identity. <br /><br /> 7. promoting government policies, programs and projects to be practical reality.<br /><br /> 8. Developing and improving government pubplic relation so that government notice has been reached the local people.<br /><br /> 9. Reconsidering the existing government mechanism in order to renovate schemes and incentive for pushing all policies into practical reality.
     ผู้ทำ/Author
Nameมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาลัยอิสลามศึกษา
Nameวิทยาลัยอิสลามยะลา
Nameสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย
     เนื้อหา/Content
หน้าปก
บทคัดย่อ
กิตติกรรมประกาศ
สารบัญ
บทที่ 1 บทนำ
บทที่ 2 แนวคิด ทฤษฎี และผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย
บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล (หน้า 56-94)
บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล (หน้า 95-132)
บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล (หน้า 133-170)
บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล (หน้า171-216)
บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล (หน้า217-264)
บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล (หน้า 245-310)
บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล (หน้า311-356)
บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล (หน้า357-402)
บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล (หน้า 403-434)
บทที่ 5 สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ
บรรณานุกรม
ภาคผนวก (หน้า 489-534)
ภาคผนวก (หน้า 535-580)
ภาคผนวก (หน้า 581-626)
ภาคผนวก (หน้า 627-658)
ภาคผนวก (หน้า 659-690)
ภาคผนวก (หน้า 691-718)
     กลุ่มหัวเรื่อง: ด้านการเมืองการปกครอง
--นโยบายการปกครอง
--การมีส่วนร่วมทางการเมือง
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2548
     Type: งานวิจัย/Research Report
     Copyrights :
     Counter : 16920
     Counter Mobile: 38