ชื่อเรื่อง/Title การศึกษาการจัดการโซ่อุปทานยางพาราของอุตสาหกรรมยางยานพาหนะ / The study of natural rubber supply chain management of tire Industry
     บทคัดย่อ/Abstract โครงงานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาโซ่อุปทานยางพาราของอุตสาหกรรมยางยานพาหนะ โดยมีขอบเขต การศึกษาเฉพาะอุตสาหกรรมยางรถยนต์นั่ง ยางรถกระบะ และยางรถบรรทุก ผลจากการศึกษาการ ไหลของยางพาราในโครงสร้างโซ่อุปทานยางพาราของอุตสาหกรรมยางยานพาหนะซึ่งประกอบด้วย เกษตรกรต้นน้ำ โรงงานยางแผ่นรมควันและยางแท่งกลางน้ำ และโรงงานยางยานพาหนะปลายน้ำ พบว่า ในปี 2551 โรงงานยางยานพาหนะในภาคตะวันออกและภาคกลางรับวัตถุดิบจากโรงงานกลาง น้ำ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยละ 1.1 ภาคตะวันออกร้อยละ 44.9 และภาคใต้ร้อยละ 54 ส่วนของ โรงงานกลางน้ำภาคตะวันออกรับยางพาราต้นน้ำ จากภาคตะวันออกร้อยละ 95.2 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 3.2 ภาคใต้ร้อยละ 16 ขณะที่โรงงานกลางน้ำภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือรับยางพาราในภาคเดียวกันทั้งหมด ซึ่งจากการพยากรณ์ปริมาณความ ต้องการใช้ยางพาราของอุตสาหกรรมยางยานพาหนะในปี 2557 พบว่ามีความต้องการใช้ยางพารา เพิ่มขึ้นจาก ปี 2551 เป็น 208,049 ตัน เช่นเดียวกับปริมาณผลผลิตยางพาราที่เพิ่มสูงขึ้น ทั้งจากพื้นที่ ปลูกเดิมและพื้นที่ปลูกใหม่โครงการยางล้านไร่ที่ให้ผลผลิตออกมาเกือบทั้งหมด ซึ่งส่งผลให้กำลัง การผลิตของโรงงานปลายน้ำและกลางน้ำที่มีอยู่ไม่เพียงพอ ผลจากการวิเคราะห์พบว่าที่ตั้งโรงงาน ยางยานพาหนะที่เหมาะสมเพื่อรองรับปริมาณการผลิตที่เพิ่มขึ้นคือ จังหวัดชลบุรี และมีกำลังการผลิต ประมาณ 4.3 ล้านเส้น มีการใช้ยางกลางน้ำจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยละ 49 ภาคตะวันออกร้อย ละ 26 และภาคใต้ร้อยละ 25 ทั้งนี้โรงงานยางแผ่นรมควันและยางแท่งกลางน้ำควรมีการเพิ่มกำลัง ผลิตในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 159,000 ตัน ภาคเหนือ 37,000 ตัน และภาคกลาง 19,500 ตัน

This research is the study of supply chain in vehicle rubber tire industries by focusing on rubber for production in vehicle tire industries, passenger car tires and truck tires. The results showed the flow of vehicle rubber tire industry is included of upstream; farmers, midstream; Rubber-Smoked-Sheet product and Standard Thai Rubber factories, and downstream; vehicle factories. For the first stage in 2551, the vehicle factories in Eastern and Central areas consume all materials from rubber midstream factories in Northeastern area 1.1 %, Eastern area 44.9 % and Southern area 54 %. Then, the rubber midstream factories in Eastern area consumes a natural rubber from farmers in percentage of Northeast area 3.2 %, Eastern area 95.2 % and Southern area 16 % ,while at the rubber midstream factories in Southern and Northeast areas consume the natural rubber from the farmers in the same region. The quantities of the rubber to be used in the future are forecasted for the year 2557, the year that the One Million Rai of Rubber Plantation Project in the Northeast will have been expected the most productive year. The rubber demand in 2557 is predicted to increase by 208,049 tons from year 2552. While the capacity of downstream and midstream may not be adequate for supporting the rapid increase of the rubber growth. Then, the new location in Chonburi province of vehicle rubber tire industry is recommended for the capacity expansion. The production capacity should be 4.3 million pieces per year. Also, the midstream capacity is suggested for the northeastern region 159,000 tons, northern region 37,000 tons and central region 19,500 tons.
     ผู้ทำ/Author
Nameณัฐพล กาบคำ
Organization มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. สำนักหอสมุด
     เนื้อหา/Content
วิทยานิพนธ์ฉบับเต็มจากฐานข้อมูล TDC
     กลุ่มหัวเรื่อง: ยางพารา
     Contributor:
Name: เตือนใจ สมบูรณ์วิวิฒน์
Roles: อาจารย์ที่ปรึกษา
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
Address:
     Year: 2553
     Type: วิทยานิพนธ์/THESES
     Copyrights :
     Counter : 1017
     Counter Mobile: 29