ชื่อเรื่อง/Title การผลิตไบโอดีเซลจากเมล็ดยางพาราโดยเครื่องปฎิกรณ์แบบไม่ใช้พลังงานความร้อน / Productions of Biodiesel from Rubber Seed Oil Using Non-Thermal Energy Reactor
     บทคัดย่อ/Abstract ปัจจุบันไบโอดีเซลเป็นพลังงานทดแทนที่สำคัญและเป็นอีกทางเลือกที่ใช้ในการแก้ปัญหาวิกฤตน้ำมัน แพง แต่ต้นทุนในการผลิตไบโอดีเซลมีราคาที่ค่อนข้างสูง จึงได้เสนอกระบวนการ ผลิตไบโอดีเซลแบบไม่ใช้พลังงานความร้อน โดยใช้กระบวนการผลิตแบบต่อเนื่องด้วยกระบวนการ ทรานส์เอสเทอริฟิเคชันภายในเครื่องปฎิกรณ์แบบท่อ โดยใช้ท่อขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 5.08 เซนติเมตร ยาว 80 เซนติเมตรมีปริมาตรรวม 1.6 ลิตร วัตถุดิบที่ใช้คือ น้ำมันเมล็ดยางพาราที่ผ่าน กระบวนการลดกรดไขมันอิสระให้ต่ำกว่า 2-3% เพื่อให้ง่ายต่อการทำปฎิกิริยา ใช้สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ ทำปฎิกิริยาในเครื่องปฎิกรณ์อย่างต่อเนื่อง เพื่อทำให้สารภายในเครื่องปฎิกรณีมีการ ไหลแบบไม่เป็นระเบียบจึงเพิ่มวัสดุบรรจุในท่อ ซึ่งสามารถทำให้สารตั้งต้น และตัวเร่งปฎิกิริยาผสม เป็นเนื้อเดียวกันได้ดี วิธีนี้จะช่วยลดการใช้พลังงานความร้อน ระยะในการทำปฎิกิริยาภายในเครื่อง ปฎิกรณ์ ซึ่งส่งผลให้ต้นทุนในการผลิตไบโอดีเซลลดลง อีกทั้งยังมีความปลอดภัยในการใช้งาน จึงจุดมุ่งหมายเพื่อหาสภาวะที่เหมาะสมในการผลิตไบโอดีเซลด้วยเครื่องปฎิกรณ์แบบ ท่อที่มีวัสดุบรรจุ และเครื่องปฎิกรณ์แบบท่อที่พื้นผิวขรุขระ และศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อร้อยละผลผลิต และร้อยละความบริสุทธิ์ของเมทิลเอสเทอร์ (ไบโอดีเซล) โดยทำการศึกษาที่อัตราส่วนโดยโมลของ เมทานอลต่อน้ำมันเมล็ดยางพาราเท่ากับ 6:1 ปริมาณของตัวเร่งปฎิกิริยาโซเดียม ไฮดรอกไซด์ร้อยละ 1 โดยน้ำหนักต่อปริมาตร และเวลาที่ทำปฎิกิริยาในเครื่องปฎิกรณ์ 30, 45 และ 60 นาที จากการ ทดลองพบว่าสภาวะที่เหมาะสมที่สุดในการผลิตไบโอดีเซลด้วยเครื่องปฎิกรณ์แบบท่อที่มีวัสดุบรรจุ คือ อัตราส่วนโดยโมลของเมทานอลต่ำน้ำมันปาล์มเท่ากับ 6: 1 ปริมาณตัวเร่งปฎิกิริยาโซเดียมไฮดรอกไซด์ ร้อยละ 1 และใช้เวลาเฉลี่ย 30 นาทีในการทำปฎิกิริยา ซึ่งค่าร้อยละผลผลิตของเมทิลเอสเทอร์ เท่ากับ 77.50 และร้อยละความบริสุทธิ์ของเมทิลเอสเทอร์ที่ผลิตได้เท่ากับ 98.87 และสภาวะ ที่เหมาะสมทีสุดในการผลิตไบโอดีเซลด้วยเครื่องปฎิกรณ์แบบท่อที่พื้นผิวขรุขระ คือ อัตราส่วน โดย โมลของเมทานอลต่อน้ำมันปาล์มเท่ากับ 6: 1 ปริมาณตัวเร่งปฎิกิริยาโซเดียมไฮดรอกไซด์ร้อยละ 1 และใช้เวลาเฉลี่ย 45 นาทีในการทำปฎิกิริยา ซึ่งค่าร้อยละผลผลิตของเมทิลเอสเทอร์เท่ากับ 84.04 และร้อยละความบริสุทธิ์ของเมทิลเอสเทอร์ที่ผลิตได้เท่ากับ 98.84 ซึ่งมีสมบัติผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ไบโอดีเซล ของกรมธุรกิจพลังงาน

Nowadays, biodiesel becomes one of the most important renewable energy and is a promising alternative for solving an increasing energy crisis. One major problem of biodiesel production is its high processing cost. In this research, the non-thermal process is proposed. Continuous transesterification process is carried out in a tube of 5.08 cm in diameter and 80 cm in length of a tubular reactor (1.6-liters). Rubber seed oil containing 2-3% of Free Fatty Acid (FFA) and methanolic sodium hydroxide is fed into the reactor continuously. A turbulent flow is generated inside the reactor causing the homogeneity in the mixture. This procedure reduces the use of thermal energy and reaction time in biodiesel production; as a consequence, the production cost is decreased and safety is improved. Several tests are performed in order to determine the optimum condition for a packing tubular reactor and a surface roughness tubular reactor and other conditions affecting the yield percentage and the purity of methyl ester. Experiments are carried out in terms of molar ratios of methanol and rubber seed oil at 6 : 1 with sodium hydroxide concentration of 1 % (weight/volume). The residence time is designated as 30, 45, and 60 minutes. The optimum molar ratio of methanol to palm oil is 6 : I with the sodium hydroxide concentration of 1 % and the residence time of 30 minutes. Under the optimum condition, the yield of methyl ester 77.50% with the methyl ester of a packing tubular reactor has the purity of 98.87%. For a surface roughness tubular reactor, molar ratio of methanol to palm oil is 6 : 1 with the sodium hydroxide concentration of 1 % and the residence time of 45 minutes. The yield of methyl ester 77.50% with the purity of 98.84% and the quality ofbiodiesel exceeds the standard criteria for community.
     ผู้ทำ/Author
Nameวารุณี ลิ่มมั่น
Organization มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. สำนักหอสมุด.
     เนื้อหา/Content
วิทยานิพนธ์ฉบับเต็มจากฐานข้อมูล TDC
     กลุ่มหัวเรื่อง: ยางพารา
     Contributor:
Name: รัตนชัย ไพรินทร์
Roles: อาจารย์ที่ปรึกษา
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
Address:
     Year: 2552
     Type: วิทยานิพนธ์/THESES
     Copyrights :
     Counter : 719
     Counter Mobile: 32