ชื่อเรื่อง/Title การรวบรวมภูมิปัญญาพื้นบ้านในจังหวัดปัตตานี
     บทคัดย่อ/Abstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจ รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลภูมิปัญญาพื้นบ้านจังหวัดปัตตานี เพื่อพัฒนาเป็นฐานข้อมูลทางวัฒนธรรม โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารของหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน สัมภาษณ์บุคลากรของหน่วยงานต่างๆ และชาวบ้านผู้ทรงความรู้
ผลการศึกษาปรากฎว่า ภูมิปัญาพื้นบ้านจังหวัดปัตตานีจัดแบ่งได้เป็น 7 ประเภท คือ ภูมิปัญาเกี่ยวกับอาหาร หัตถกรรม การแพทย์ ศิลปการแสดง การประกอบอาชีพ ที่อยู่อาศัย และเครื่องนุ่งห่ม ปัจจัยที่เอื้อให้เกิดภูมิปัญาดังกล่าว มี 3 ประการ คือ 1) สภาพทางธรรมชาติพื้นที่แถบเทือกเขาสันกาลาคีรีเอื้ต่อการทำสวนสมรมและการเกษตรผสมผสาน การมีผลผลิตกล้วยมากทำให้ต้องดัดแปลงเป็นกล้วยเส้นปรุงรส นอกจากนี้พื้นที่ริมทะเลยังเอื้อต่อการเพาะเลี้ยงหอยแครงและการทำประมงชายฝั่ง ตลอดจนการทำผลิตภัณฑ์อาหารจากผลผลิตทางทะเล เช่น น้ำบูดู ยำสาหร่าย 2 ) ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และทรัพยากรในท้องถิ่น การนำสัสดุที่หาได้ในท้องถิ่นมาคิดเพิ่มเติมค่ เช่นการทำดอกไม้ใบยางพารา กระเป๋าย่านลิเพา และ 3 )คติความเชื่อทางศาสนาความเชื่อตามศาสนาพราหมณ์ พุทธ และอสลามของชาวบ้าน ผนวกกับความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่นนำไปสู่การพัฒนาภูมิปัญญาด้านการแพทย์พื้นบ้าน เช่น การรักษาโรคด้วยสมุนไพร การบีบนวด การบำบัดและเยียวยาทางจิตใจด้วยไสยศาสตร์และโหราศาสตร์ รวมทั้งภูมิปัญญาเกี่ยวกับศิลปะการแสดง เช่น โนรา สีละ และมะโย่ง

This research was intended to survey, collect and analyze the data on folk wisdom of the lower southern Thailand : Pattani, which would ultimate be developed into a culture database. The data was collected from documents available from government and non-government agencies. Interviews of knowledgeable authorities and villagers were carried out, coupled with observation and photography. The findings and criticisms were then described.
Folk wisdom in Pattani could be classified info 7 categories : wisdom about food, handicraft, folk medicine, performances, occupation, housing, and clothing. Three factors that fostered such wisdom were identified. 1) Natural Environment. The areas in the Sankala Khiri Mountain Ranges were suitable for mixed gardening or agriculture. Because bananas were abundant, they were turned info seasoned banana snacks for sale. Besides, Pattani?s extensive seashore favored cockle farming and seashore fishery. Several foodstuffs such as Buda sauce and seaweed salad were produced from marine produced. 2) creativity and Available Resources. Materials, abundant and available in the communities were made info souvenirs and other paraphernalia for sale, such as flowers from Para rubber leaver and woven bage from Liphao vines. 3) Folklore and Religious Belief. Villagers? belief and availability of resources, led to and nourished the development of various from of folk medicine such as curing diseases with medicinal herds, massaging, psychic treatment with black magic and astrology as well as the development of local performances such as Nora, Sila, and mayong
     ผู้ทำ/Author
Nameสุธี เทพสุริวงค์
Organization
Nameเบ็ญจวรรณ บัวขวัญ
Organization สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
     เนื้อหา/Content
หน้าปก
คำนำ
บทคัดย่อ
สารบัญ
บทที่ 1 บทนำ
บทที่ 2 วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 3 ภูมิปัญญาพื้นบ้านในจังหวัดปัตตานี (หน้า 36-57)
บทที่ 3 ภูมิปัญญาพื้นบ้านในจังหวัดปัตตานี (หน้า 58-79)
บทที่ 3 ภูมิปัญญาพื้นบ้านในจังหวัดปัตตานี (หน้า 80-104)
บทที่ 3 ภูมิปัญญาพื้นบ้านในจังหวัดปัตตานี (หน้า 105-126)
บทที่ 3 ภูมิปัญญาพื้นบ้านในจังหวัดปัตตานี (หน้า 127-139)
บทที่ 4 บทวิเคราะห์ สรุปและข้อเสนอแนะ
บรรณานุกรม
บุคลานุกรม
     กลุ่มหัวเรื่อง: วิถีชีวิตและประเพณี
     Contributor:
Name: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Roles: สนับสนุนทุนการวิจัย
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2547
     Type: งานวิจัย/Research Report
     Copyrights :
     Counter : 12380
     Counter Mobile: 44