ชื่อเรื่อง/Title การวิเคราะห์โซ่อุปทานยางพาราของการสร้างมูลค่าเพิ่ม / Rubber Supply Chain Analysis of Value Added Creation
     บทคัดย่อ/Abstract วิทยานิพนธ์นี้นำเสนอการวิเคราะห์โซ่อุปทานยางพาราของการสร้างมูลค่าเพิ่ม โดยเริ่มจากศึกษาโครงสร้างโซ่อุปทานยางพาราไทย ตั้งแต่ผลผลิตจากเกษตรกรจนผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ยาง ผลผลิตยางธรรมชาติส่วนใหญ่ร้อยละ 88 จะส่งออกในรูปของยางแปรรูปชนิดต่างๆ ได้แก่ ยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง และน้ำยางข้น ที่เหลืออีกร้อยละ 12 ใช้ในประเทศเพื่อผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ยาง จากการที่ภาครัฐมีการตั้งเป้าหมายเพิ่มปริมาณการใช้ยางภายในประเทศ 600,000 ตัน ในปี 2556 แต่ยังขาดการเชื่อมโยงไปสู่เป้าหมายของผลิตภัณฑ์ยาง ขั้นปลายที่ชัดเจน ทำให้ขาดทิศทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ยาง ยางธรรมชาติแปรรูปขั้นต้น และปริมาณผลผลิตยางธรรมชาติให้สอดคล้องกันอย่างบูรณาการ ดังนั้นเพื่อหาความสัมพันธ์ของการสร้างมูลค่าเพิ่มของยางธรรมชาติ งานวิจัยนี้ได้ทำการวิเคราะห์โซ่อุปทาน ยางพาราของการสร้างมูลค่าเพิ่มของยางธรรมชาติเพื่อผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ยางชนิดต่างๆ เช่น ยางยานพาหนะ ถุงมือยาง ยางยืด สายพานยาง และผลิตภัณฑ์ยางชนิดอื่นๆ จากนั้นทำการศึกษาสภาวะโซ่อุปทานยางพาราคาดหมาย 5 ปี ในอนาคต (2552-2556) และวิเคราะห์ความไวการเปลี่ยนแปลงการเติบโตของโซ่อุปทานยางพาราในอนาคต และทิศทางของสภาวะมูลค่าเพิ่มของโซ่อุปทานยางพาราไทย ผลจากการศึกษาพบว่าในปี 2552-2556 ความสัมพันธ์ของการใช้ยางในประเทศ และปริมาณการใช้ยางแปรรูปของแต่ละผลิตภัณฑ์ รวมถึงมูลค่าการส่งออกโดยรวมของโซ่อุปทานยางพารา ซึ่งแสดงให้เห็นการเชื่อมโยง ซึ่งผลที่ได้นำมาเป็นแนวทางในการตั้งเป้าหมาย กำหนดทิศทางในการสร้างมูลค่าเพิ่มของโซ่อุปทานยางพาราอย่าง บูรณาการ ทำให้เกิดความสอดคล้องและเชื่อมโยงกันของในแต่ละส่วนของ โซ่อุปทาน ซึ่งประกอบด้วยเป้าหมายพื้นที่ปลูก/กรีดยางพาราในประเทศ เป้าหมายผลผลิตยางธรรมชาติในอนาคต เป้าหมายการแปรรูปยางธรรมชาติ เป้าหมายการใช้ยางในการผลิตผลิตภัณฑ์ เป้าหมายการเติบโตของอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยาง และเป้าหมายมูลค่าส่งออกผลิตภัณฑ์

This thesis presents the natural rubber supply chain analysis for value added creation. The rubber supply chain structure is studided starting from the farmer to the rubber industry. Currently 88 percent of the total rubber quantity is exported in various natural forms, such as concentrated latex, smoked sheets, and bloked rubber. The remaining 12 percent is used in the domestic rubber industry. Trus, the value chain creation for the Thailand rubber industry is an important concern. The government sets the target to increase the rubber consumption in Thailand to 600,000 tons in 2013. However, this target lacks of the linkage to the target of the rubber products. Thus, the develpment direction of the rubber supply chain integration has not been proposed for the natural forms and the rubber products. Thus, this thesis aims to analyze the relation of the rubber consumption for the valued added products and the natural rubber forms along the supply chain. In this study, the product champions in the Thailand rubber industry are considered. The product champions are namely tires, gloves, rubber band,conveyer belt, and hoses respectively. Then, the condition of the value chain over a 5 year period (2009-2013) is forecasted. The sensitivity analysis of the rubber consumption for each product is experiment under various situations assumed. The research results give the annual condition of the value chain, and compare product quantities in the domestic industry and exports in 2009-2013, in relation to the overall value of the industry. Finally, the direction for value added creation in the Thailand rubber supply chain can be assigned integrally.The quantity targets of rubber and products along the rubber supply chain are correlated.
     ผู้ทำ/Author
Nameกฤษณา จันทร์คล้าย
Organization มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. สำนักหอสมุด.
     เนื้อหา/Content
วิทยานิพนธ์ฉบับเต็มจากฐานข้อมูล TDC
     กลุ่มหัวเรื่อง: ยางพารา
     Contributor:
Name: เตือนใจ สมบูรณ์วิวัฒน์
Roles: อาจารย์ที่ปรึกษา
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
Address:
     Year: 2552
     Type: วิทยานิพนธ์/THESES
     Copyrights :
     Counter : 2093
     Counter Mobile: 38