ชื่อเรื่อง/Title ระบบคัดแยกคุณภาพแผ่นยางพาราโดยการประมวลผลภาพ / Rubber Sheet Quality Grading System by Image Processing
     บทคัดย่อ/Abstract ในปัจจุบันการคัดแยกคุณภาพของแผ่นยางพาราต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญซึ่งมีอยู่น้อย การศึกษาปัญหาวิจัยนี้ นำเสนอระบบการคัดแยกคุณภาพแผ่นยางโดยใช้การประมวลผลภาพ ในระบบที่นำเสนอนี้ แผ่นยาง จะถูกบันทึกภาพโดยการให้แสงจากด้านล่าง แล้วภาพที่ได้จะนำไปผ่านกระบวนการประมวลภาพเพื่อ หาลักษณะเด่นในการคัดแยกคุณภาพแผ่นยาง เนื่องจากตามมาตรฐานการคัดแยกแผ่นยางนั้นจะดูจาก ความใสและปริมาณจุดด่างที่เกิดจากรา การศึกษาปัญหาวิจัยนี้จึงใช้การประมวลผลภาพเพื่อให้ได้ ลักษณะเด่นที่เป็นตัวแทนของคุณสมบัติทั้งสองนี้ ในขั้นแรกภาพของแผ่นยางจะถูกเปลี่ยนให้เป็น ภาพระดับเทาก่อน แล้วจึงนำไปหาค่าผลรวมของระดับความเข้มของภาพเพื่อใช้เป็นตัวแทนของความ ใส สำหรับการวัดปริมาณจุดด่างนั้น ทำได้โดยการนำภาพระดับเทาไปผ่านการเปลี่ยนเป็นภาพขาวดำ จำนวนพื้นที่จุดดำที่ได้เป็นตัวแทนของปริมาณจุดด่างในแผ่นยาง การแยกเกรดของแผ่นยางเป็น 4 เกรด ทำได้โดยการเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่ได้จากการเรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญ วิธีที่นำเสนอได้รับการ ทดสอบกับตัวอย่างแผ่นยางจำนวน 100 ตัวอย่างโดยสามารถคัดแยกได้ถูกต้อง 89 เปอร์เซ็นต์เมื่อ เทียบกับการคัดแยกโดยผู้เชียวชาญ

Currently, the grading of Para rubber sheet according to its quality is performed by experts, who are rare. This research study proposes a rubber sheet classification system based on image processing. In the proposed system, an image of light passing through a rubber sheet is taken using 3 light sources underneath the sheet. The taken image is preprocessed to become a gray-scale image, which is used to calculate the transparency and the dark spots. The amount of intensity per area is calculated to represent the transparency. For the dark spots measurement, the gray-scale image of the rubber sheet is converted to a black and white (binary) image, where its black area is considered to represent the amount of dark spots in the rubber sheet. The two features are used to classify the rubber sheet into 4 levels by comparing them with a rule based on the experts and the training of a data set. The proposed method was verified with 100 samples of rubber sheet from Ubonrachatanee province. The results showed the accuracy of the proposed classification is 89 percent.c
     ผู้ทำ/Author
Nameปรัชญา บำรุงกุล
Organization มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. สำนักหอสมุด.
     เนื้อหา/Content
วิทยานิพนธ์ฉบับเต็มจากฐานข้อมูล TDC
     กลุ่มหัวเรื่อง: ยางพารา
     Contributor:
Name: พินิจ กำหอม
Roles: อาจารย์ที่ปรึกษา
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
Address:
     Year: 2550
     Type: วิทยานิพนธ์/THESES
     Copyrights :
     Counter : 735
     Counter Mobile: 47