ชื่อเรื่อง/Title การตรวจสอบรอยแตกของเปลือกยางพาราด้วยวิธีหาเส้นขอบเขตและคัดแยกด้วยตรรกศาสตร์คลุมเครือ / Bark Rubber Tree Crack Detection and Classification using Boundary Region and Fuzzy Logic
     บทคัดย่อ/Abstract ยางพาราเป็นพืชที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยอย่างมาก โดยประเทศไทยมีศักยภาพการผลิตและการส่งออกที่เพิ่มขึ้นทุกปีในรอบ 10 ปี อย่างไรก็ตามในปัจจุบันการเก็บเกี่ยวน้ำยางของชาวสวนยางซึ่งกระทำในช่วงเวลา 2.00 น. ถึง 6.00 น. ยังมีปัญหาอยู่เนื่องจากภัยจากการทำร้ายของสัตว์ อันตรายและคน นอกจากภยันตรายดังกล่าวแล้วพื้นผิวต้นยางบางพื้นที่ไม่สามารถจะให้น้ำยางได้ ซึ่งการเลือกว่าพื้นผิวใดดีไม่ดีอย่างมีประสิทธิภาพนั้น ยังต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญในการพัฒนาอยู่ ดังนั้นวิทยานิพนธ์นี้จึงนำเสนอวิธีการทางการประมวลภาพสำหรับแยกแยะพื้นผิวต้นยางจากการวิเคราะห์ภาพ ถ่ายของพื้นผิว วิธีการที่เสนออาศัยหลักความจริงว่าพื้นผิวที่ไม่ดีนั้นจะมีรอยแตกอยู่ โดยรอยแตกเหล่านี้สามารถใช้วิธีการหาขอบที่ปรับตามภาพในการ ตรวจจับ แต่วิธีการหาขอบนี้จะได้ผลลัพธ์ที่เป็นทั้งรอยแตกจริงและไม่ใช่รอยแตกจริง จึงเสนอวิธีการแยกแยะพื้นที่ปิดที่น่าจะเป็นรอยแตกโดยตรรกศาสตร์ คลุมเครือ โดยใช้ความกว้างและความยาวของพื้นที่ปิดเป็นอินพุทให้กับระบบตรรกศาสตร์คลุมเครือ ซึ่งฟังก์ชันลอจิกคลุมเครือขึ้นอยู่กับผลทางสถิติของ ภาพอินพุทจำนวนหนึ่ง ในการทดสอบวิธีที่นำเสนอ ได้นำภาพของผิวต้นยางพาราจำนวน 240 ภาพ โดยเป็นภาพของผิวที่ดีจำนวน 120 ภาพ และผิวที่ไม่ ดีจำนวน 120 ภาพมาเป็นอินพุท ส่วนภาพสำหรับการหาฟังก์ชันทางตรรกศาสตร์คลุมเครือนั้นเป็นภาพอีก 60 ภาพโดยเป็นภาพของผิวที่ดีและไม่ดีอย่าง ละครึ่ง ผลการแยกแยะพบว่าสามารถแยกแยะได้อย่างถูกต้อง 90 เปอร์เซ็นต์

The bark rubber trees produce natural latex which in turn can be processed to become natural rubber. The natural rubber products are very important for Thailand economy because of the increasing number of both production and export of the rubber in the past decade. However, the process of collecting latex from the trees, which takes place during 2 a.m. to 6 a.m. can be harmful because of the animal or human assaults and some bad surfaces of the trees that do not produce latex. Currently, only experts can identify those bad surfaces effectively. Hence, this thesis purposes an image processing method that can classify rubber tree surfaces into good or bad surfaces based on an image of the tree surface. The proposed method is based on the fact that a bad surface contains cracking areas which can be detected by an adaptive edge detection technique. However, since the results from the adaptive edge detection include both the actual cracks and bark edges that look similar to the cracks, the fuzzy logic technique is adopted to classify the crack candidates, which are bounded areas resulting from the edge detection. The width and height of a candidate are used as the input features to the rule-based fuzzy logic system, whose fuzzy logic functions are statistical-based obtaining from the results of a training set. The proposed method was verified with 240 images of rubber tree bark surfaces whereas 120 images are of good bark surfaces. The training set of images included 60 images of which the half is of good surfaces. The results showed that 90 % of the input surfaces were correctly classified.
     ผู้ทำ/Author
Nameภัทราวุธ บุญประคอง
Organization มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. คณะวิศวกรรมศาสตร์. สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
     เนื้อหา/Content
วิทยานิพนธ์ฉบับเต็มจากฐานข้อมูล TDC
     กลุ่มหัวเรื่อง: ยางพารา
     Contributor:
Name: โกสินทร์ จำนงไทย
Roles: อาจารย์ที่ปรึกษา
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
Address:
     Year: 2549
     Type: วิทยานิพนธ์/THESES
     Copyrights :
     Counter : 686
     Counter Mobile: 26