ชื่อเรื่อง/Title การผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันเมล็ดยางพารา / Preparation ofBiodiesel from Rubber Seed Oil
     บทคัดย่อ/Abstract งานวิจัยนี้เป็นการสกัดน้ำมันเมล็ดยางพาราใช้เฮกเซนเป็นตัวทำละลายโดยอาศัยค่าสัมประสิทธิ์การดูดซับ ซึ่งมีค่าเท่ากับ 1.27 สามารถสกัดน้ำมันได้ 30.24 มิลลิกรัม/เมล็ด 1 กรัม โดยมีค่าความหนือ 30.3 cSt และศึกษากระบวนการผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันเมล็ดยางพาราที้มีปริมาณองค์ประกอบของกรดไขมันอิสระตามแบบจำลองน้ำมันคือ 2 12 28 54 และ 81% มาปรับปรุงคุณภาพเพื่อใช้เป็นพลังงานทดแทนน้ำมันโดยใช้กระบวนการทรานส์เอธิลเลชันแบบ 2 ขั้นตอน ของน้ำมันเมล็ดยางพารา และเอธานอล ที่อุณหภูมิ 75 c โดยในขั้นตอนที่ 1 จะทำการเอสเทอริไฟด์น้ำมันโดยใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาชนิดกรด เพื่อลดปริมาณของกรดไขมันอิสระ พบว่าที่อัตราส่วนโมลของเอธานอลต่อน้ำมัน 30:1 สามารถเกิดปฏิกิริยาได้อย่างรวดเร็วที่สุดในทุกๆแบบจำลองน้ำมันซึ่งจะใช้เวลาเพียง 3-15 นาที จากนั้นขั้นตอนที่ 2 เป็นการใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาชนิดต่างๆ เพื่อทำกระบวนการทรานส์เอสเทอริฟิเคชันผลิตภัณฑ์ที่ได้จากขั้นตอนแรก ให้กลายเป็นสารเอธิลเอสเทอร์และกลีเซอรอล พบว่าที่อัตราส่วนโมลของเอธานอลต่อน้ำมัน 12:1 สามารถเกิดปฏิกิริยา ได้อย่างรวดเร็ว โดยใช้เวลาทำปฏิกิริยา 3 นาที สามารรถเปลี่ยนไตรกลีเซอไรด์เป็นเอธิลเอสเทอร์ได้สมบูรณ์และลดปัญหาการเกิดสบู่จากขั้นตอนการล้างลงได้ จากนั้นทำการศึกษาถึงคุณภาพของผลิตภัณฑ์พบว่า ค่าซีเทน 44.4 ซึ่งจะต่ำกว่ามาตรฐาน แต่ค่าความหรือเชิงจลศาสตร์เท่ากับ 4.39 cSt ซึ่งเห็นได้ว่า การทำปฏิกิริยาทรานส์เอธิลเลขันช่วยปรับปรุงคุณสมบัติของน่ำมันในเรื่องความหนือให้เหมาะสมกับการใช้งานกับเครื่องยนต์ดีเซล และค่าความร้อน 40.17 kJ / kg ก็อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ทำให้ไบโอดีเซลจากน้ำมันเมล็ดยางพารานั้นมีความเหมาะสมในการเลือกใช้เป็นเชื้อเพลงทดแทนน้ำมันเชื้อเพลงดีเซลปิโตรเลียมได้

In this research, the rubber seed oil was extracted by using hexane as solvent extraction and the adsorption coefficient (K) was 1.27. At this condition, one gram of rubber seed contained 30.24 mg of oil with 30.3 cts. of viscosity. To Study the biodiesel production from rubber seed oil, the rubber seed with 2, 12, 28, 54 and 81%of Free fatty acid (FFA) were used for oil models. In order to use it as an alternative fuel oil , it s chemical characteristics need to be improved by a two - step transethylation. In the first step, acid catalyzed (0.5 M H2S04) esterification was conducted to reduce the FFA content at ethanol/oil molar ratio 30: 1 at 75?C. The results showed that it took about 3-15 min. tomplete the reaction, which was the fastest condition in every oil model. In the second step, alkaline catalyzed (0.5% NaOH) transesterification process converted the products from the first step to esters and glycerol. The results showed that at ethanol / oil molar ratio of 12:1, the reaction was complete within only 3 min. and soap forming was also reduced in washing process. The cetane number of biodiesel from a two - step transethylation was 44.4 which was lower than standard. However, viscosity (4.39 cSt) and heating value (40.17 kJ / kg) can pass the biodiesel standard. This result supports that the production of biodiesel from rubber seed oil can be used as an alternative fuel for diesel.
     ผู้ทำ/Author
Nameพัชราพร ภาเรือง
Organization มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. สำนักหอสมุด.
     เนื้อหา/Content
วิทยานิพนธ์ฉบับเต็มจากฐานข้อมูล TDC
     กลุ่มหัวเรื่อง: ยางพารา
     Contributor:
Name: รัตนชัย ไพรินทร์
Roles: อาจารย์ที่ปรึกษา
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
Address:
     Year: 2552
     Type: วิทยานิพนธ์/THESES
     Copyrights :
     Counter : 1780
     Counter Mobile: 32