ชื่อเรื่อง/Title การศึกษากระบวนการจัดการโลจิสติกส์ของยางพาราเพื่อการส่งออกไปจีน / A Study of Logistics System for Exporting Natural Rubber to China
     บทคัดย่อ/Abstract โครงงานวิจัยอุตสาหกรรมเรื่อง ?การศึกษากระบวนการจัดการโลจิสติกส์เพื่อการส่งออกยางพาราไปจีน? นี้ เป็นการศึกษาวิจัยเพื่อศึกษาถึงสภาพปัจจุบันของอุตสาหกรรมการแปรรูปยางพาราและระบบ โลจิสติกส์ในการส่งออกยางพาราของไทย ตลอดจนนำเสนอแนวทางในการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของการส่งออกยางพาราไปยังประเทศจีน โดยมีขอบเขตการศึกษาเฉพาะผลิตภัณฑ์ยางพาราประเภท ยางแผ่นรมควันชั้น 3 (HS 4001.210.309) และยางแท่ง (HS 4001.292.107) การดำเนินการศึกษาวิจัยเป็นการศึกษาข้อมูลทุติยภูมิจากรายงานข้อมูลทางสถิติ ตลอดจนเอกสารวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นข้อมูล ประกอบการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างของสินค้ารวมถึงผู้ประกอบการอุตสาหกรรม และการเก็บรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิจากการสัมภาษณ์เชิงลึก (Depth Interview) ในลักษณะ Semi-Structure Interview กับผู้ ประกอบการที่เป็นผู้ผลิตและส่งออกยางพาราที่ทำการศึกษาไปยังประเทศจีน ผลการศึกษาพบว่า ห่วงโซ่อุปทานของยางพาราประกอบด้วย ชาวสวน พ่อค้า สหกรณ์ โรงงานแปรรูป ผู้ส่งออก ผู้ขนส่ง ศุลกากรและท่าเรือ/ด่านการค้าชายแดน โดยกระบวนการจัดการโลจิสติกส์เริ่มจาก ผู้ส่งออกได้รับคำสั่งซื้อจากประเทศจีน จากนั้นโรงงานแปรรูปทำการรวบรวมยางจากแหล่งต่างๆ ทำการแปรรูปยางแล้วขนส่งยางไปยังท่าเรือ/ด่านการค้าชายแดนเพื่อส่งออก ซึ่งมีต้นทุนโลจิสติกส์จาก ชาวสวนไปยังท่าเรือเซี่ยงไฮ้ประมาณ 26,750-42,410 บาทต่อตู้ หรือ 1.338-2.121 บาทต่อกิโลกรัม และไปยังท่าเรือชิงเต่าประมาณ 26,030-43,130 บาทต่อตู้ หรือ 1.302-2.137 บาทต่อกิโลกรัม ระยะเวลา ตั้งแต่ลูกค้าทำการสั่งซื้อจนกระทั่งถึงท่าเรือที่ประเทศจีนโดยเฉลี่ยประมาณ 18-27 วัน การพยากรณ์พื้นที่เพาะปลูกยางพาราของเกษตรกรในปี 2550-2555 พบว่ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกภาค ยกเว้นภาคใต้ตอนล่าง การพยากรณ์ปริมาณผลผลิตยางพาราของประเทศในปี 2549-2555 พบว่า ปริมาณผลผลิตโดยรวมของประเทศมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปีโดยมีอัตราการเพิ่มขึ้นจากปี 2548 เฉลี่ยร้อยละ 7.57 ต่อปี ข้อเสนอแนะ ภาครัฐควรมีการส่งเสริมและจัดการด้านโครงสร้างพื้นฐาน สิ่งอำนวย ความสะดวก และระเบียบข้อบังคับและสนับสนุนให้มีการขนส่งทั้งทางรถไฟและทางน้ำเรือมากขึ้น เพื่อเป็นทางเลือกให้กับผู้ประกอบการในการขนส่งสินค้าเพื่อส่งออก อีกทั้งรถไฟและเรือสามารถ ประหยัดเชื้อเพลิงและค่าใช้จ่ายได้ร้อยละ 71.64 และ 93.17 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับการขนส่งทางรถยนต์

?A Study of Logistics System for Exporting Natural Rubber to China? is an industrial research project that aim to study the current situation of natural rubber industry and its outbound logistics to China. The suggestions to develop the logistics system are also provided. Natural rubber products selected to study are Rubber Smoked Sheet Grade 3 and Block Rubber. The study started from secondary data collection from reports, statistical reports and related articles in order to calculate the populations and select samples. The Depth interview was then conducted with using semi-structure interview to collect data from farmers, firms, exporters, logistics service providers, customs, ports and gateways. It was found that the logistics process started from exporters received orders from China. The firm procured and processed natural rubber and the products were then transported to ports or gateways. The logistics cost from farmers to Shanghai port was 26,750-42,410 THB per TEU or 1.338-2.127 THB per Kilogram and that of Qingdao port was 26,030-43,130 THB per TEU or 1.302-2.137 THB per Kilogram. Total lead time from order receiving to the China ports arriving were 18-27 days. From the natural rubber plant area forecasting during 2550-2555, it was found that the products would be increased about 7.57 percent per year. The Thai government should construct and manage infrastructures, facilities and regulations, and promote exporters to use the rail and coastal ship mode to ship the products increasingly. Moreover, the rail and coastal ship mode can reduce fuel and cost more than truck about 71.64 percent and 93.17 percent respectively.
     ผู้ทำ/Author
Nameอนัตตา ไชยชมภู
Organization มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. คณะวิศวกรรมศาสตร์. สาขาวิชาวิศวกรรมระบบการผลิต
     เนื้อหา/Content
วิทยานิพนธ์ฉบับเต็มจากฐานข้อมูล TDC
     กลุ่มหัวเรื่อง: ยางพารา
     Contributor:
Name: เตือนใจ สมบูรณ์วิวัฒ
Roles: อาจารย์ที่ปรึกษา
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
Address:
     Year: 2549
     Type: วิทยานิพนธ์/THESES
     Copyrights :
     Counter : 2564
     Counter Mobile: 34