ชื่อเรื่อง/Title การวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์การผลิตและการส่งออกยางพาราของไทย / A Strategic Analysis of the Production and Export of Thai Rubber Products
     บทคัดย่อ/Abstract การผลิตยางพาราของไทยปัจจุบันมีความสำคัญต่อการพัฒนาของประเทศ เนื่องจาก ยางพาราเป็นสินค้าที่ตลาดโลกมีความต้องการมากเพราะยางพาราสามารถนำไปใช้ในอุตสาหกรรมต่อเนื่อง ได้หลากหลาย เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมล้อรถยนต์ และอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องอื่นๆ ความต้องการยางพาราที่มีการปรับตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็วในปีพ.ศ.2547-2551 ส่งผลให้อุตสาหกรรมต่างๆทั้งภายในประเทศและต่างประเทศมีการขยายตัวขึ้นอย่างรวดเร็วตามการขยายตัวของอุตสาหกรรมการผลิตยางพารา ทำให้ประเทศต่างๆ นิยมนำเข้ายางพาราเพื่อนำไปใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตต่างๆภายในประเทศของตนมากขึ้น การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษา เพื่อศึกษาโครงสร้างการผลิตและการส่งออกยางพาราโดยศึกษาถึงสภาพทางการแข่งขันระหว่างประเทศรวมถึงการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและสภาพแวดล้อมภายนอกเพื่อศึกษาถึง จุดแข็ง จุดอ่อนโอกาส และอุปสรรค์ ซึ่งทำการวิเคราะห์แบบเชิงพรรณนา(descriptive method) โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิระหว่างปีพ.ศ. 2547-2551 สภาพการแข่งขันระดับระหว่างประเทศระหว่างผู้ผลิตและส่งออกยางพาราด้วยกัน ประกอบด้วย (1)สภาพปัจจัยการผลิตยางงพาราในประเทศเนื่องจากต้นทุนการผลิตสูงกว่าคู่แข่งและการขาดพัฒนาทางเทคโนโลยีทางการผลิตทำให้ด้อยความสามารถในการแข่งขัน (2)สภาพการแข่งขันของอุตสาหกรรมการผลิตและส่งออกยางพาราที่ยังไม่สามารถแข่งขันทางด้านต้นทุนกาผลิตและการขาดแคลนแรงงานในภาคการผลิต นอกจากนี้เครื่องมือและเทคโนโลยีในการผลิตต้องนำเข้ามาจากต่างประเทศทำให้ต้นทุนการผลิตสูงกว่าประเทศคู่แข่ง (3)ความต้องการบริโภคยางพาราภายในประเทศมีสัดส่วนของกาบริโภคที่ยังน้อยอยู่มากเมื่อเปรียบเทียบกับปริมาณการผลิตโดยเน้นการส่งออกเป็นส่วนใหญ่ และ (4)อุตสาหกรรมสนับสนุนหรืออุตสาหกรรมต่อเนื่องพบว่ามีจุดอ่อนกล่าวคือ ภาครัฐขาดการเอาใจใส่ในการพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตยางพาราในประเทศทำให้ยางพาราที่ได้ส่งออกในรูปวัตถุดิบขั้นต้นเป็นหลัก ด้านการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและสภาพแวดล้อมภายนอกของการแข่งขัน(1)สภาพแวดล้อมภายในพบว่า มีจุดแข็งคือ ที่ภาครัฐให้การสนับสุนนในการขยายตัวขยายพื้นที่การเพาะปลูกเพิ่มขึ้น ในหลายพื้นที่และผลผลิตยางพาราของไทยเป็นที่ยอมรับจากประเทศผ้ำเข้าด้วยกันและจุดอ่อนพบว่าการขาดการพัฒนาของเทคโนโลยีในการผลิต เพราะการผลิตนั้นเน้นการส่งออกวัตถุดิบขั้นต้นเป็นหลัก ขาดการพัฒนาในอุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ยางพาราและ(2)สภาพแวดล้อมภายนอก พบว่าโอกาสของการส่งออกยางพารามีมีทิศทางการส่งออกที่ดี เนื่องจากมีการเปิดเสรีทางการค้า ทำให้สามารถแข่งขันกับประเทศต่างๆ ได้มากและอุปสรรค์ของการแข่งขันเนื่องจากในปัจจุบันมีการแข่งขันการส่งออกในตลาดโลกที่รุนแรงและขาดความรู้พื้นฐานในการค้าระหว่างทำให้เสียโอกาสและมีผลกระทบต่อการค้าของประเทศเป็นอย่างมาก

     ผู้ทำ/Author
Nameชญาณินทร์ อักษรสิทธิ์
Organization มหาวิทยาลัยรามคำแหง
     เนื้อหา/Content
วิทยานิพนธ์ฉบับเต็มจากฐานข้อมูล TDC
     กลุ่มหัวเรื่อง: ยางพารา
     Contributor:
Name: เอื้อมพร วงศาโรจน์
Roles: คณะกรรมการที่ปรึกษาสารนิพนธ์
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยรามคำแหง
Address:
     Year: 2552
     Type: วิทยานิพนธ์/THESES
     Copyrights :
     Counter : 926
     Counter Mobile: 48