ชื่อเรื่อง/Title ศักยภาพการส่งออกเฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพาราไปสหภาพยุโรป / The Potentiality for Exporting Rubberwood Furniture to the European Union
     บทคัดย่อ/Abstract การศึกษาศักยภาพการส่งออกเฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพาราในครั้งนี้ เพื่อต้องการทราบถึงโครงสร้างงานอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพาราของประเทศไทย รวมถึง โครงสร้างการผลิตและการตลาด เปรียบเทียบส่วนแบ่งตลาดอัตราการขยายตัวของมูลค่าการส่งออกในตลาดสหภาพยุโรป และศักยภาพการแข่งขัน แนวโน้มและอุปสรรคตลอดจนแนวทางในการพัฒนาอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพาราของไทยให้สามารถแข่งขันในตลาดต่างประเทศ โดยข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาเป็นข้อมูลทุติยภูมิ (secondary Data)เก็บรวบรวมข้อมูลจากหน่วยงานของรัฐบาล รัฐวิสาหกิจ สมาคมต่างๆ บริษัทเอกชน และอุตสาหกรรมเชื่อมโยง ที่มีผลต่ออุปสรรคของเฟอร์นิเจอร์ ไม้ยางพาราไทย วิธีการศึกษามีการออกแบบสอบถาม และนำมาวิเคราะห์โดยใช้การวางแผนการจัดการเชิงกลยุทธ์ คือ Competitive Advantage Five Forces Model Diamond Model Value Chain SWOT analysis BCG Model ผลจากการออกแบบสอบถามพบว่าอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพารา มีการแข่งขันกันอย่างรุนแรงไม่ว่าจะเป็นด้านของราคา คุณภาพ และการจัดซื้อ ทั้งตลาดภายในและต่างประเทศ ทำให้ราคาของสินค้าที่ผลิตมีราคาที่ต่ำ กำไรไม่เหลือพอที่จะชำระหนี้หรือ ขยายกิจการ และพัฒนาผลิตภัณฑ์ ผู้ผลิตส่วนใหญ่อยู่ในฐานะผู้รับจ้างผลิตมีการพัฒนาแค่ด้านการผลิตด้านเดียว เช่น การลดของเสียในขบวนการผลิต และลดต้นทุนสินค้าต่อหน่วยให้ต่ำลงโดยไม่มีการคำนึงถึงการพัฒนาศักยภาพด้านอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นของผลิตภัณฑ์ การออกแบบตลอดจน คุณภาพที่ได้มาตรฐาน เพื่อให้เกิดช่องทาง เพื่อจะพัฒนาด้านการตลาด(เช่นการหาตลาดใหม่เพิ่มขึ้น)หรือเทคโนโลยีใหม่ๆที่เพิ่มศักยภาพในการเป็นผู้นำการผลิตเฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพารา ในภาคพื้นเอเชีย ซึ่งประเทศเพื่อนบ้านของเรา ประเทศมาเลเซีย รัฐบาลมีการยกเว้นภาษีเงินได้ให้กับผลิตเพื่อการส่งออกสินค้าประเภทนี้ ทำให้ผู้ผลิตสามารถลดต้นทุน การผลิตได้ส่วนหนึ่ง จึงเท่ากับเป็นการเพิ่มอำนาจในการเสนอราคากับลูกค้าให้เกิดความพงพอใจ และเป็นการจูงใจได้มากกว่า ส่งผลให้มีปริมาณการสั่งซื้อในประเทศมาเลเซียก่อน ส่วนที่เหลือจึงเป็นการสั่งซื้อจากไทย การวิเคราะห์โดยใช้ทษฎีของพอร์เตอร์ พบว่า Five Forces Model คู่แข่งขันในปัจจุบันอยู่ในระดับปานกลาง อำนาจต่อรองของผู้ซื้ออยู่ระดับปานกลาง อำนาจต่อรองของซับพลายเออร์อยู่ในระดับปานกลาง สินค้าทดแทนอยู่ในระดับค่อนข้างน้อย คู่แข่งรายใหม่อยู่ในระดับค่อนข้างน้อย ปัจจัยภายในประเทศไทยที่มีผลกระทบกับอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพาราคือวัตถุดิบที่ยังไม่มีการผลิตเพื่อเฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพาราโดยเฉพาะ เทคโนโลยีไทยยังไม่สามารถสู้กับประเทศคู่แข่งขันได้ และภาครัฐยังไม่ค่อยเข้ามาให้การดูแลอย่างเต็มที่มากนัก สำหรับปัจจัยภายนอก คือ เศรษฐกิจ สังคม การเมือง และกฎหมายของกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป ประเทศไทยสามารถเข้าไปแข่งขันในกลุ่มสหภาพยุโรปได้ การวิเคราะห์โยใช้ SWOT Analysis ด้วยวิธีถ่วงน้ำหนัก พบว่าการวิเคราะห์ จุดแข็ง จุดอ่อน ได้คะแนนเต็ม 2.95 จากคะแนนเต็ม 4 การวิเคราะห์โอกาสและข้อจำกัดได้คะแนน3.30 จากคะแนนเต็ม 4และการวิเคราะห์ BCG model ประเทศไทยอย่าในตำแหน่ง Question Mark และกลยุทธ์ที่ช่วยให้อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพารามีความได้เปรียบในการแข่งขันสูงกว่าคู่แข่ง คือ กลยุทธ์การเจาะตลาด

     ผู้ทำ/Author
Nameพรรณวดี จันทรสมบัติ.
Organization มหาวิทยาลัยรามคำแหง
     เนื้อหา/Content
วิทยานิพนธ์ฉบับเต็มจากฐานข้อมูล TDC
     กลุ่มหัวเรื่อง: ยางพารา
     Contributor:
Name: วันชัย ริมวิทยากร
Roles: คณะกรรมการที่ปรึกษาสารนิพนธ์
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยรามคำแหง
Address:
     Year: 2546
     Type: วิทยานิพนธ์/THESES
     Copyrights :
     Counter : 1158
     Counter Mobile: 408