ชื่อเรื่อง/Title ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการดูแลสุขภาพตนเองของชาวมุสลิมจังหวัดชายแดนภาคใต้ : รายงานการวิจัย
     บทคัดย่อ/Abstract ????การศึกษาเรื่อง ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการดูแลสุขภาพตนเองของมุสลิมชายแดนภาคใต้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาภูมิปัญญาในการดูแลสุขภาพตนเองในมิติของความเชื่อ ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม รวมทั้งกระบวนการเรียนรู้และกระบวนการถ่ายทอดภูมิปัญญา ของชาวมุสลิมในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่างของประเทศไทย <br /> ????โดยการศึกษาจากเอกสาร และการเก็บข้อมูลจากพื้นที ผู้ให้ข้อมูลคนสำคัญได้แก่ ผู้นำศาสนา หมอพื้นบ้านต่อกระดูก ผดุงครรภ์โบราณ หมอพื้นบ้านที่ใช้คาถาเวทมนต์ในการรักษา<br /> ????ผลการศึกษาพบว่า ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการดูแลสุขภาพตนเองในภาวะปกติ ชุมชนมุสลิมใช้ชีวิตอยู่ภายใต้หลักการของศาสนาภายใต้ความศรัทธาของพระเจ้าองค์เดียว ปฎิบัติตามคำสั่งสอนของศาสนาอิสลามโดยเคร่งครัด ซึ่งบทบัญญัติต่างๆเหล่านี้ส่งเสริมการดูแลสุขภาพตนเองด้านส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค ทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว และชุมชน ส่วนภูมิปัญญาท้องถิ่นในการดูแลสุขภาพตนเองเมื่อเกิดภาวะเจ็บป่วย ได้แก่ การต่อกระดูก การรักษาไส้เลื่อนด้วยสมุนไพร การรักษาอาการอัมพฤกษ์อัมพาตด้วยการนวด การรักษาอาการชักด้วยสมุนไพร การรักษานิ่วด้วยสมุนไพร การรักษาอาการปวดฟันด้วยเวทมนต์ การดูแลก่อนคลอด การคลอดกับผดุงครรภ์โบราณ โดยภูมิปัญญาในการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคได้รับการถ่ายทอดจากการปฎิบัติตามบทบัญญัติทางศาสนาที่เคร่งครัด สำหรับผู้ให้การรักษา (หมอพื้นบ้าน) ในแต่ละประเภทได้รับการถ่ายทอดภูมิปัญญามาจากลักษณะเดียวหรือหลายลักษณะร่วมกัน อันได้แก่ การถ่ายทอดโดยการปฎิบัติสืบต่อกันมาจากบรรพบุรุษโดยการเป็นผู้ช่วยและพัฒนาขึ้นมาสู่การเป็นหมอพื้นบ้าน การเรียนรู้ด้วยตนเองภายใต้จิตสำนึกของความต้องการช่วยเหลือเพื่อนบ้าน ความนิยมในการรักษาแบบพื้นบ้านยังมีให้ปรากฎให้เห็น เนื่องจากผู้รักษาไม่ได้กำหนดค่ารักษาแต่จะเป็นลักษณะของการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน การสืบทอดภูมิปัญญาเหล่านี้จึงตกมาถึงปัจจุบัน<br /> ????ข้อเสนอแนะสำหรับการศึกษาครั้งนี้ คือ การให้ความสำคัญต่อภูมิปัญญาท้องถิ่นในพื้นที่อย่างจริงจังโดยปรับกระบวนการ บูรณาการเนื้อหา คำสอนของศาสนา ด้านการส่งเสริมสุขภาพบรรจุในแผนทั้งแผนในระดับนโยบายและแผนปฎิบัติการโดยผ่ายองค์กรทางศาสนา ทั้งนี้ประชาชนภูมิภาคนี้จะเกิดการยอมรับมากขึ้น นอกจากนี้น่าจะได้มีการศึกษาเพิ่มเติมถึงความเกี่ยวพันระหว่างภูมิปัญญาบางประเภทกับความสอดคล้องกับเหตุผลในทางวิทยาศาสตร์ เพื่อการนำภูมิปัญญามาใช้อย่างเป็นรูปธรรม ได้รับการยอมรับทั้งในด้านความนิยมและทางด้านการแพทย์

     ผู้ทำ/Author
Nameกิตติ สมบัติ
Organization
Nameนงพรรณ พิริยานุพงศ์
Organization
Nameสายันต์ อาจณรงค์
Organization
     เนื้อหา/Content
หน้าปก
บทคัดย่อ
สารบัญ
บทที่ 1 บทนำ
บทที่ 2 ทบทวนวรรณกรรม
บทที่ 3 ระเบียบวิธีวิจัย
บทที่ 4 ผลการศึกษา
บทที่ 5 บทสรุปและข้อเสนอแนะ
บรรณานุกรม
     กลุ่มหัวเรื่อง: วิถีชีวิตและประเพณี
ด้านสุขภาพอนามัย
--สุขอนามัยชุมชน
อิสลามศึกษา
     Contributor:
Name: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
Roles: สนับสนุนทุนการวิจัย
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
Address:สงขลา (Songkhla)
     Year: 2546
     Type: งานวิจัย/Research Report
     Copyrights :
     Counter : 9254
     Counter Mobile: 95