ชื่อเรื่อง/Title การลงทุนระหว่างประเทศ : การขอสัมปทานปลูกยางพาราใน สปป.ลาว / International Investment: A Case Study of The Concession Request for Para Rubber Plantation in Lao
     บทคัดย่อ/Abstract วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการลงทุนระหว่างประเทศ กรณีศึกษาการขอสัมปทานปลูกยางพาราในสปป.ลาว โดยจะศึกษาเฉพาะกรณีการขอสัมปทานปลูกยางพาราระหว่างภาคเอกชนไทย ณ ที่นี้ คือ Lao Thai Hua Rubber Co.,Ltd กับรัฐบาลของสปป.ลาว โดยทำการศึกษาเกี่ยวกับ (1) สภาพทั่วไปของสปป.ลาวและผู้ลงทุน (2) ปัจจัยที่ทำให้นักลงทุนไทยไปลงทุนปลุกยางพาราในสปป.ลาว (3) แนวทางในการเจรจาต่อรองในการขอสัมปทานปลุกยางพาราในสปป.ลาว (4) ขั้นตอนการขอสัมปทานปลูกยางพาราในสปป.ลาว และ (5) ปัยหาและอุปสรรคในการขอสัมปทานปลุกยางพาราในสปป.ลาว การเก็บรบรวมข้อมูลที่นำมาทำการศึกษา จะเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิจากนั้น จึงรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิโดย (1) ข้อมูลปฐมภูมิ(Primary data ) ได้จาการสัมภาษณ์เชิงลึก ( Key informant in interview ) โดยใช้คำถามแบบเปิด ซึ่งในการสัมภาษณ์นี้จะทำการสัมภาษณ์จากบุคคลที่รู้เรื่องหรือมีข้อมูลในเรื่องเกี่ยวกับประเด็นที่กำลังวิจัยเป็นอย่างดีและทั้งนี้มีผู้เป็น key informant มีจำนวน 4 ท่าน รวมทั้งได้คัดเลือกผู้ให้ข้อมูลสำคัญจากประชากรด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบไม่คำนึงความน่าจะเป็น( Non-probability Sampling ) และวิ๊การคัดเลือกตัวอย่างแบบเจาะจงหรือแบมีจุดมุ่งหมาย(purposive Sampling ) (2) ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary data) ได้รวบรวมจากเอกสาร วารสาร บทความ หนังสือพิมพ์ วรรณกรรม และทษฎีที่สำคัญต่างๆ ที่เกี่ยวข้องจากนั้น นำข้อมูลที่ได้มาทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีเชิงพรรณา(descriptive analysis) โดยเป็นการวิเคราะห์ทางด้านบทบาททางด้านบทสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้รู้เรื่องหรือหรือมีข้อมูลในเรื่องเกี่ยวกับประเด็นที่กำลังศึกษาวิจัยเป็นอย่างดี (Key information in-depth interview) และจากประสบการณ์จริงของผู้วิจัย รวมถึงการวิเคราะห์ด้านเนื้อหา บริบท (contextual analysis) โดยใช้หลักการวิเคราะห์ตามทษฎี และข้อมูลอ้างอิงทางเอกสารอื่นๆที่เกี่ยวข้อง จากผลการวิจัยสามารถสรุปได้ว่า แนวทางในการเจรจาต่อรองในการขอสัมปทานปลุกยางพาราในสปป.ลาว ผู้ลงทุนควรจะพิจารณา (1) เข้าไปเจรจาต่อรองกับประชาชนในพื้นที่เองในกรณีที่ขอสัมปทานในพื้นที่ที่มีผลกระทบต่อประชาชน (2) ต้องก่อให้เิกดการจ้างงานและทำให้เกษตรกรมีรายได้มากขึ้นและ(3) ต้องสร้างความมั่นใจให้กับรัฐบาลว่าเมื่อได้สัมปทานแล้วจะไม่ไปขายต่อหรือทำผิดข้อตกลงที่ตกลงกับทางรัฐบาล สปป.ลาว ได้แบ่งการขออนุมัติการขอสัมปทานามขนาดของพื้นที่ และผู้มีอำนาจอนุมัติ ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ขนาด ดังนี้ (1) น้อยกว่า 3 เฮกเตอร์ หรือน้อยกว่า 18.75 ไร่ต่อนายอำเภอเป็นผู้อนุมัติ (2) น้อยกว่า 100 เฮกเตอร์ หรือน้อยกว่า 625 ไร่ ผู้ว่าแขวงเป็นผู้อนุมัติ (3) มากกว่า 100 เอกเตอร์ กรือมากกว่า 625 ไร่ รัฐบาลกลางเป็นผู้อนุมัติ การขอสัมปทานพื้นที่เพาะปลูกยางพาราใน สปป.ลาว ได้พบกับปัญหา และอุปสรรคต่างๆโดยแบ่งออกได้ 3 ส่วนดังนี้ (1) ในช่วงระบุพื้นที่การขอรับสัมปทาน พบว่า พื้นที่จริงกับพื้นที่ท่ปรากฎ ในแผนทีี่ไม่ตรงกันทำให้เสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการระบุพื้นที่ (2) ในช่วงสำรวจวพื้นยที่การขอสัมปทานพบว่า ในกรณีที่มีการติดต่ากับนายหน้า ในการขอสัมปทานแล้วเกิดปัญหาตามมาทีหลังทำให้เกิดปัญหาการลงทุนระหว่างประเทศและ (3) ในช่วงเสนอความเป็นไหปได้ของโครงการ และสัญญาข้อตกลงสัมปทานพบว่า จากการทีสปป.ลาว เป็นประเทศใหม่ทางด้านการลงทุนระหว่างประเทศทำให้การทำสัญญาข้อตกลงต่างๆไม่รัดกุม ทำให้เกิดช่องว่างของสัญญาและนโยบายการลงทุนเกิดความไม่เข้ากันภายในประเทศ

The main purpose of this thesis is to study international investment in a case study of the con concession request for para rubber plantation in lao PDR. The researcher focused on the study of investing of Thai investor in Lao PDR by concentrating on the study of the concession request for para rubber plantation between Thai investor ? in this case, Lao Thai Hua rubber co., Ltd. and Lao government. The study is about (1) general characteristics of Lao PDR and the investor (2) driving forces for for rubber planting in lao PDR (3) suggested guidance in negotiation for the concession request for para rubber plantation in lao PDR (4) procedures in the concession request for para rubber planting in lao PDR and (5) problem and difficulties in the concession request for para rubber planting in lao PDR and.Data collection from this study Is gathered from primary data and secondary data by (1) primary data is collected from key informant in-depth interview using open-ended question. Using in-depth interview techniques is to interview the key informant having expertise in the field or having first ? hand experience of negotiations in cases such as these, or being part of a negotiations team in a similar situation , the number of key informant totaling 4 altogether. The population sampling was done by using the non- probability sampling method, which is a purposive sampling technique. (2) secondary data from journals, article, newspaper, literature review, and theoretic foundation related to this research . after collecting the requisite data, a qualitative analysis of the data was conducted with (1) a descriptive analysis of the information derived from key informant in-depth interview , including the experience of the researcher in this field; and (2) a contextual analysis of the information gathered from a conceptual framework, the foundation of related theories, a review of the existing literature, and other related document.The result of the study can be concluded that suggested guidance in negotiation request for para rubber plantation in lao PDR the investor should come to consider (1) negotiating directly with framers in the area where the concession request is likely to menace to those framers,(2)increasing an employment rate and famer? income, and (3) building a trust with government that the investor would not resell the concession license or violate any agreement binded to the lao government. From the study, the researcher found that the procedures of the concession request are classified in accordance with a concession area and the authority who grants an approval into 3 categories as following : (1) less than 3 hectares or less than 18.75 rais and district-chief officer who drants an approval, (2) less than 100 hectares or less than 625 rais and district government who grants an approval, and (3) more than 100 hectares or more than 100 rais and central government who grants an approval. The concession request for para rubber plantation in lao PDR has confronted or difficulties as to the procedures as follow: (1) specifying the concession area. The study encountered that the ral concession area and the mapping area were significantly deviated to each other. Therefore, it wasted time and expenditure in specifying the concession area. (2)exploring the concession area, the study found that it was apt to make some repercussions quite often and easily doing the transection through the brokers. It may cause problem in to international investment. (3) proposing the feasibility study of the project and binding the concession contract, the study found that the contract is not much concise enough and not covered all the topics since lao PDR is a new emerging country for international investment. It can create loophole of a contract and then investment policy is not coherent within the country.
     ผู้ทำ/Author
Nameสมหวัง เกียรติศรีธนกร.
Organization มหาวิทยาลัยรามคำแหง
     เนื้อหา/Content
วิทยานิพนธ์ฉบับเต็มจากฐานข้อมูล TDC
     กลุ่มหัวเรื่อง: ยางพารา
     Contributor:
Name: กฤช ภูริสินสิทธิ์
Roles: คณะกรรมการที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยรามคำแหง
Address:
     Year: 2550
     Type: วิทยานิพนธ์/THESES
     Copyrights :
     Counter : 814
     Counter Mobile: 41