ชื่อเรื่อง/Title การวิเคราะห์ผลตอบแทนทางการเงินของการลงทุนระหว่างการปลูกยางพาราและไม้สักในจังหวัดเลย / An Analysis of the Returns on Investment in Rubber and Teak Cultivation in Loei Province
     บทคัดย่อ/Abstract การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาศักยภาพในการขยายการปลูกยางพาราและไม้สักในจังหวัดเลย (2) เพื่อศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับผลตอบแทนทางการเงินของการปลุกยางพาราและไม้สักในจังหวัดเลย โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิที่รวบรวมจากหน่วยงานต่างๆ ทำการศึกษาในพื้นที่จังหวัดเลย ดครงการมีอายุ 25 ปี วิธีที่ใช้ในการวิเคาะห์ คือ มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (Net Present Value --NPV) อัตราผลตอบแทนต่อต้นทุน( Benefit Cost Ratio--B/C Ratio) อัตราผลตอบแทนในโครงการ (Internal Rate of Returm -- IRR) การวิเคราะห์ความอ่อนไหว และการทดสอบค่าความเปลี่ยนแปลง หลักเกณฑ์ที่ใช้ในการวิเคราะห์ NPV มากกว่า 0 B/C Ratio มากกว่า 1 และIRR มากกว่า อัตราคิดลดที่กำหนด โดยใช้อัตราคิดร้อยละ 8,10 และ 12 ผลการศึกษาพบว่า จังหวัดเลยมีศักยภาพในการปลูกยางพารา และไม้สัก เนื่องจากมีกลุ่มชุดดินที่เหมาะสม และยังสามารถขยายพื้นที่ปลุกได้อีกเป็นจำนวนมาก ผลการศึกษาการปลุกยางพาราภายใต้อัตราคิดลดร้อยละ 8,10,และ12 พบว่า เมื่อยางพารามีราคาที่ต่ำที่สุด คือ 18.05 บาท NPV เท่ากับ 58,384.45 บาท -3.332.87 บาท และ -44.117.18 บาท B/C Ratio เท่ากับ 1.10, 0.89 , ตามลำดับ และIRR เท่ากับ 9.89 เมื่อยางพารามีราคาเฉลี่ย 33.50 บาท NPV เท่ากับ 330505.46บาท 208,752.19 บาท และ123,134.37 บาท ์B/C Ratio เท่ากับ 1.44,1.34และ 1.24 ตามลำดับ และIRR เท่ากับ 17.21 เมื่อยางพารามีราคาสูงสุด 72.12 บาท NPV เท่ากับ 1,007,419. 88 บาท 763,086.71 บาท และ 538,824.36 บาท B/C Ratio เท่ากับ 1.84 1.76 และ 1.68 ตามลำดับ และIRR เท่ากับ 28.51 แสดงว่า การลงทุนปลูกยางพารามีราคาต่ำสุดจะได้รับผลตอบแทนคุ้มค่ากับการลงทุนที่ระดับอัตราคิดลบร้อยละ 8 เท่านั้น ส่วนกรณีที่ยางพารามีราคาเฉลี่ยและราคาสูงสุด ต่างให้ผลตอบแทนคุ้มค่ากับการลงทุน ที่ทุกระดับอัตราคิดลด ผลการศึกษาการปลูกไม้สัก พบว่า ไม้สักคุณภาพดี NPV เท่ากับ 1396,307.39 บาท 1007ม993.53 บาท และ 730,872.02 B/c Ratio เท่ากับ 3.60 3.22 และ2.87 ตามลำดับ และค่า IRR เท่ากับ 29.27 ไม้สักคุณภาพปานกลาง NPV เท่ากับ 225.724.91 บาท 122.658.92 บาท และ51677.38 บาท B/C Ratio เท่ากับ 1.53 1.33 และ1.16 ตามลำดับ และIRR เท่ากับ 14.27 ไม้สักคุณภาพเลว NPV เท่ากับ-226560.72 บาท -218766.96 บาท และ -209979.47 บาท B/C Ratio เท่ากับ 0.38 0.32 และ 0.26 IRR มีค่าน้อยกว่าระดับอัตราคิดลดที่กำหนด แสดงว่าไม้สักคุณภาพดี และคุณภาพปานกลาง ให้ผลตอบแทนไม่คุ้มค่ากับการลงทุน ที่ทุกระดับอัตราคิดลด การวิเคราะห์ความอ่อนไหวของโครงการในการปลูกยางพาราและไม้สักในกรณี(1) ต้นทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 และ15 ผลตอบแทนคงที่ (2) รายได้ลดลงร้อยละ 10 และ 15 พบว่าการลงทุนปลุกยา่งพารา และไม้สัก ต่างให้ผลตอบแทนคุ้มค่ากับการลงทุน การทดสอบค่าความเปลี่ยนแปลง (Switching value test ) พบว่า ต้นทุนการปลูกยางพารา สมารถเพิ่มขึ้นได้ร้อยละ 44.44 33.93 และ 23.78 ส่วนต้นทุนการปลูกยางพารา สามารถ เพิ่มขึ้นได้ร้อยละ 259.63 221.85 และ 186.95 และผลตอบแทนของการปลูก ยางพารา สามารถลดลงได้ร้อยละ 259.63 221.85 และ 19.21 ส่วนผลตอบแทนของการปลุกไม้สัก สมมารถลดลงได้ร้อยละ 72.19 ,68.93 และ 65.15 ตามลำดับ

     ผู้ทำ/Author
Nameอรอุมา รามศิริ
Organization มหาวิทยาลัยรามคำแหง
     เนื้อหา/Content
วิทยานิพนธ์ฉบับเต็มจากฐานข้อมูล TDC
     กลุ่มหัวเรื่อง: ยางพารา
     Contributor:
Name: วัลย์ลดา วิวัฒน์พนชาติ
Roles: คณะกรรมการที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยรามคำแหง
Address:
     Year: 2550
     Type: วิทยานิพนธ์/THESES
     Copyrights :
     Counter : 1103
     Counter Mobile: 43