ชื่อเรื่อง/Title การเชื่อมโยงความเจริญระหว่างระบบเกษตรกรรมและระบบอุตสาหกรรม : กรณีศึกษาของยางพาราในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย / Growth Inter-relationships between Agriculture and the Industrial sector : The Case of Para Rubber in the North-Eastern Region of Thailand
     บทคัดย่อ/Abstract การทำวิจัยเรื่องนี้ ได้รับผลสำเร็จในการเชื่อมสัมพันธ์ของทั้งสองประการคือ ระบบเกษตรกรรมและระบบอุตสาหกรรม โดยมีปัจจัยต่างๆหลายประการที่ใช้ในการวิเคราะห์ ปรากฏผลดังนี้ (1) การขยายพื้นที่ในการปลุกยางพารามีปัจจัยที่ใช้ในการพิจารณา 6 ประการ และเมื่อวิเคราะห์โดยใช้สมการถดถอยพหุคูณแบบคัดตัวแปรอิสระออกทีละตัว ปรากฏว่ามีปัจจัย 5 ประการ ที่ไม่มีผลต่อการขยายพื้นที่ปลูกยางพาราและมีปัจจัยที่มีอิทธิพลมากที่สุด คือ ความต้องการน้ำยางพาราและยางแผ่นที่แปรรูปมาจากน้ำยางพาราในรูปแบบต่างๆ ซึ่งเป็นการยอมรับสมมติฐาน ข้อที่ 1 (2) ตำแหน่งที่ตั้งโรงงานอุตสาหกรรมยางพารา และเพื่อเป็นการรักษาคุณภาพของน้ำยาพาราสด ประกอบด้วยปัจจัย 5 อย่าง คือ ดรงงานอุตสาหกรรมจะต้องตั้งอยู่ในช่วงระยะ1-30 กิโลเมตร ห่างจากพื้นที่ปลุกยางพารา ห่างจากถนนสายหลักไม่เกิน900เมตร ห่างจากพื้นที่ชุมชน 1 กิดลเมตร นอกจากนั้นจะต้องมีน้ำสะอาดใช้ไม่น้อยกว่า2000 แกลอนต่อวัน และแต่ละโรงงานจะต้องมีเครื่องจักรที่ใช้ดำเนินการอย่างน้อย 5 เครื่อง โดยมีน้ำยางสดเข้าดรงงานวันละ2ตัน ดังนั้น โรงงานอุตสาหกรรมจึงจำเป็นต้องตั้งอยู่ใกล้กับแหล่งปลุกยางพารา ซึ่งเป็นการยองรับสมมติฐานข้อที่ 2 เนื่องจากคุณลักาณะ เฉพาะของน้ำยางสด ซึ่งจำเป็นต้องแปรรูปเป็นยางแผ่นภายใน 2 ชั่วโมง ดังนั้นดรงงานอุตสาหกรรมจึงจำเป็นต้องตั้งใกล้แหล่งปลูกยางพารา เพราะฉะนั้นจึงยอรับสมมติฐานข้อที่ 3 (3) การหาตำแหน่งที่ตั้งโรงงานอุตสาหกรรมยางพารา และพื้นที่ปลูยางพาราในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยวิธีการซ้อนทับกันของข้อมูลด้วยระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ โปรแกรม Arc/Info พบว่าในปี พ.ศ. 2538 จะมีพื้นที่ปลูกยางพารา ทั้งหมดประมาณ 580000 ไร่ และมีพื้นที่ผลผลิตประมาณ 77000ไร่ ตำแหน่งที่เหมาะสมในการตั้งดรงงานอุตสาหกรรม ได้แก่ จังหวัดเลย อุดรธานี หนองคาย นครพนม บุรีรัมย์ สุรินทร์ และศรีสะเกษ อย่างไรก้ตาม ถ้ามีการปลุกยางพาราเพิ่มขึ้นเต็มพื้นที่ความเหมาะสมต่อการปลูกยางพารา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะสามารถตั้งโรงงานอุตสาหกรรมยางพาราได้ทุกจังหวัด

     ผู้ทำ/Author
Nameวินัย สายปรีชา.
Organization มหาวิทยาลัยรามคำแหง
     เนื้อหา/Content
วิทยานิพนธ์ฉบับเต็มจากฐานข้อมูล TDC
     กลุ่มหัวเรื่อง: ยางพารา
     Contributor:
Name: สุพรรณี ชะโลธร
Roles: คณะกรรมการที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยรามคำแหง
Address:
     Year: 2537
     Type: วิทยานิพนธ์/THESES
     Copyrights :
     Counter : 730
     Counter Mobile: 36