ชื่อเรื่อง/Title ต้นทุนโลจิสติกส์ของอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันในจังหวัดกระบี่ / Logistics Cost of Oil Palm Industry in Krabi Province
     บทคัดย่อ/Abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากิจกรรมโลจิสติกส์ การประเมินต้นทุนโลจิสติกส์ และเสนอแนวทางการลดต้นทุนโลจิสติกส์ของอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันในจังหวัดกระบี่ โดยมีขอบเขตการศึกษาที่ครอบคลุมกิจกรรมโลจิสติกส์ตั้งแต่เกษตรกรจนกระทั่งขนส่งถึงหน้าโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มดิบเท่านั้น ในการศึกษาเก็บข้อมูลจากเกษตรกร จำนวน 216 ราย และผู้ประกอบการลานเท/สหกรณ์ปาล์มน้ำมัน จำนวน 53 ราย กิจกรรมที่เกี่ยวข้องเริ่มจากการเก็บเกี่ยวผลปาล์มน้ำมันจนกระทั่งขนส่งผลปาล์มน้ำมันถึงหน้าโรงงาน ผลการศึกษาพบว่า กิจกรรมโลจิสติกส์ของเกษตรกร แบ่งเป็น 3 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมที่ 1 คือ กิจกรรมเกี่ยวกับการจัดการวัสดุต่างๆ หรือการเก็บเกี่ยวและเคลื่อนย้ายผลปาล์ม ซึ่งส่วนใหญ่จ้างแรงงานเก็บเกี่ยว คิดเป็นร้อยละ 83.33 กิจกรรมที่ 2 คือ กิจกรรมขนส่ง มีการจ้างผู้อื่นขนส่ง คิดเป็นร้อยละ 50.46 ระยะทางไปกลับในการขนส่งส่วนใหญ่อยู่ระหว่าง 6 - 10 กิโลเมตร และเลือกจำหน่ายให้กับ ลานเทเอกชน คิดเป็นร้อยละ 66.67 ส่วนใหญ่ใช้รถกระบะทั้งกรณีเกษตรกรดำเนินการขนส่งเองและจ้างผู้อื่นขนส่ง คิดเป็นร้อยละ 90.65 และ 100 ตามลำดับ และกิจกรรมที่ 3 คือ กิจกรรมการสื่อสารในงานโลจิสติกส์ สำหรับกิจกรรมโลจิสติกส์ในการดำเนินงานของผู้ประกอบการลานเท/สหกรณ์ปาล์มน้ำมัน แบ่งเป็น 5 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมที่ 1 คือ กิจกรรมการจัดซื้อจัดหา กิจกรรมที่ 2 คือ กิจกรรมกระบวนการเกี่ยวกับการจัดการวัสดุต่างๆ กิจกรรมที่ 3 คือ กิจกรรมการจัดการคลังสินค้าและการจัดเก็บ ซึ่งลักษณะลานเท/สหกรณ์ปาล์มน้ำมันเป็นลานกว้างๆ ไม่มีหลังคา จึงทำให้เกิดน้ำหนักผลปาล์มลดลงกว่าปริมาณที่รับซื้อจริง กิจกรรมที่ 4 คือ กิจกรรมการขนส่ง ซึ่งส่วนใหญ่ลานเท/สหกรณ์ดำเนินการขนส่งเอง คิดเป็นร้อยละ 86.79 และขนส่งในระยะ 1 - 50 กิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 41.51 ส่วนใหญ่ใช้รถบรรทุก 10 ล้อพ่วง คิดเป็นร้อยละ 56.60 และกิจกรรมที่ 5 คือ กิจกรรมการสื่อสารในงานโลจิสติกส์ สำหรับผลการศึกษาด้านต้นทุนโลจิสติกส์รวมของอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันในจังหวัดกระบี่เท่ากับ 0.6056 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งเป็นต้นทุนโลจิสติกส์ของเกษตรกรเท่ากับ 0.4815 บาทต่อกิโลกรัม ประกอบด้วย ต้นทุนการเก็บเกี่ยวและเคลื่อนย้ายเท่ากับ 0.3242 บาทต่อกิโลกรัม ต้นทุนการขนส่งเท่ากับ 0.1572 บาทต่อกิโลกรัม และต้นทุนการติดต่อสื่อสาร เท่ากับ 0.0001 บาทต่อกิโลกรัม สำหรับต้นทุนโลจิสติกส์ของผู้ประกอบการลานเท/สหกรณ์ปาล์มน้ำมันเท่ากับ 0.1241 บาทต่อกิโลกรัม ประกอบด้วย ต้นทุนการเคลื่อนย้ายผลปาล์ม เท่ากับ 0.0269 บาทต่อกิโลกรัม ต้นทุนการจัดการลานเท/สหกรณ์เท่ากับ 0.0228 บาทต่อกิโลกรัม ต้นทุนการขนส่ง เท่ากับ 0.0742 บาทต่อกิโลกรัม และต้นทุนการติดต่อสื่อสาร เท่ากับ 0.0002 บาทต่อกิโลกรัม ข้อเสนอแนะในการจัดการโลจิสติกส์ สำหรับเกษตรกร ที่มีพื้นที่ปลูกน้อยกว่า 10 ไร่ และใช้รถสามล้อพ่วงในการขนส่งควรปรับเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งโดยจ้างขนส่งเนื่องจากปริมาณผลผลิตต่อครั้งน้อยจึงทำให้ต้นทุนการขนส่งสูงหากดำเนินการเอง สำหรับเกษตรกรขนาดกลางและใหญ่ควรดำเนินการขนส่งเอง ซึ่งรถกระบะเหมาะสมกับขนาดพื้นที่ปลูกน้อยกว่า 50 ไร่ และรถบรรทุก 6 ล้อเหมาะสมกับขนาดพื้นที่ปลูกมากกว่า 50 ไร่ อีกทั้งเกษตรกรที่มีพื้นที่ปลูกน้อยควรรวมกลุ่มกันในการขนส่งเพื่อลดต้นทุนการขนส่ง หน่วยงานภาครัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้องควรมีการอบรมและรณรงค์การเก็บเกี่ยวผลปาล์มน้ำมันที่ถูกต้องให้แก่เกษตรกรและ ผู้รับจ้างเก็บเกี่ยวควรจัดหาแรงงานในการตัดปาล์มน้ำมันให้กับเกษตรกรเพื่อลดปัญหาในการขาดแคลนแรงงาน สำหรับผู้ประกอบการลานเท/สหกรณ์ปาล์มน้ำมันควรดำเนินการขนส่งเอง ซึ่งรถบรรทุก 6 ล้อ เหมาะสมกับปริมาณการรับซื้อที่น้อยกว่า 10 ตันต่อวัน และรถบรรทุก 10 ล้อพ่วง เหมาะสมกับปริมาณการรับซื้อมากกว่า 25 ตันต่อวัน และควรร่วมมือเป็นพันธมิตรกับลานเท/สหกรณ์ปาล์มน้ำมันรายอื่นๆ เพื่อสร้างมาตรฐานในการดำเนินงานร่วมกัน

This objectives of the research are to study logistics activity and cost and to propose the ways of reducing of logistics costs for the Oil Palm Industry in Krabi. The data were collected from 216 Oil Palm agriculturists and 53 middlemen or cooperative (Lan Tay). The related activities that the researcher has studied began from the harvesting of Oil Palm crop until the transporting of them to the plant. The results of research revealed that the logistics activities of agriculturists can be divided into 3 activities. Activity 1 is the material handling or the harvesting and moving of the Oil Palm crops. This activity can mostly be done by hiring the worker at the percentage of 83.33. Activity 2 is upon the transporting of Oil Palm crops that can be finished by the ones who hire to transfer oil palm crop at the percentage of 50.46. The round-trip distance for transporting mostly is about 6-10 kilometers. The percentage of 66.67 of agriculturists have chosen to sell their crops to the middleman at Lan Tay. The pick-up trucks were used for transporting both by agriculturists themselves and hiring others at the percentage of 90.65 and 100 respectively. Activity 3 is upon the communication in the logistics cycle. The logistics activities of the middleman or cooperative (Lan Tay) for operating are divided into 5 activities: 1) purchasing and procurement, 2) material handling, 3) warehouse and storage management, 4) the transportation, 5) communication activity in the logistics cycle. For warehouse and storage management as the feature of Lan Tay which is a wide open space and roofless that affects to the weight of oil palm to become lower than the actual amount. For the transportation that has shown at the percentage of 86.79 by themselves. The percentage of 41.51 of middlemen or cooperative have transported their crops at the distance of 1-50 kilometers. The middlemen or cooperative have used 10 wheel truck trailers to transport their crops at the percentage of 56.60. The survey on total logistics costs of Oil Palm industry in Krabi reported finding at 0.6409 Baht/kilogram that can be separated into the logistics costs of agriculturists at 0.5168 Baht/kilogram, the cost of the material handling or the harvesting and moving of the Oil Palm crops at 0.3242 Baht/kilogram, the cost of transportation at 0.1925 Baht/kilogram and the cost of communication at 0.0001 Baht/kilogram. The logistics costs of the middleman or cooperative at 0.1241 Baht/kilogram consisted of the cost of Oil Palm transferring 0.0269 Baht/kilogram, the management 0.0228 Baht/kilogram, transportation 0.0742 Baht/kilogram and the communication 0.0002 Baht/kilogram. The recommendations on the logistics and supply chain management for agriculturists who have the plantation area less than 10 Rai and 3 ? wheel tow motorcycle to transport their crops that they should adjust their forms of transportation to the outsourcing of the transportation because of its small amount. By this reason the agriculturists can reduce the cost of transportation. For the agriculturists who have the medium or large area of plantation should transport their crops themselves. Thus the pick-up trucks are appropriate for the plantation area less than 50 Rai and the 6-wheel trucks are appropriate for the plantation area more than 50 Rai. The reducing of transportation cost is the reason why the agriculturists who have the small plantation area should join the group. Besides the agriculturists themselves should hold the useful course of training especially oil palm harvesting in the right way for the agriculturists. The harvest should provide sufficient workers for the agriculturists who own the palm plantation to reduce the problem of lack of workers. For the middlemen and cooperatives, they should transport their crops themselves so that the 6-wheel trucks are appropriate for the purchasing amount which less than 10 tons a day and the 10-wheel trucks are appropriate for the purchasing amount which more than 25 tons a day. They should collaborate with other middlemen and cooperatives to set the standard of cooperation.
     ผู้ทำ/Author
Nameนงค์รัตน์ แสนสมพร
Organization มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
     เนื้อหา/Content
วิทยานิพนธ์ฉบับเต็มจากฐานข้อมูล TDC
     กลุ่มหัวเรื่อง: ปาล์มน้ำมัน
     Contributor:
Name: พนิดา แช่มช้าง
Roles: คณะกรรมการที่ปรึกษา
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
Address:
     Year: 2555
     Type: วิทยานิพนธ์/THESES
     Copyrights :
     Counter : 2204
     Counter Mobile: 31