ชื่อเรื่อง/Title บทบาทและหน้าที่ของครอบครัวมุสลิมในชุมชนบ้านคลอง อ.ปะนาเระ จ.ปัตตานี / Role and Function of Muslim Family in Ban Khlong Amphoe Panare, Changwat Pattani
     บทคัดย่อ/Abstract การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทและหน้าที่ของครอบครัวในชุมชนบ้านคลอง อ.ปะนะเระ จ.ปัตตานี โดยเน้นที่บทบาทและหน้าที่ในการขัดเกลาทางสังคม<br /> กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ประชากรที่อยู่อาศัยในชุมชนบ้านคลอง แบ่งออกเป็นเขตภายในและรอบนอกชุมชน ประกอบด้วย ครอบครัวเดี่ยว 6 ครอบครัว และครอบครัวขยาย 6 ครอบครัว นอกจากนั้นยังได้แก่ กลุ่มตัวอย่างอีก 4 ครอบครัวซึ่งให้ข้อมูลเกี่ยวกับประเพณี และพิธีกรรมที่ได้เกิดขึ้นระหว่างการศึกษา<br /> การศึกษาปรากฎดังนี้ ครอบครัวเดี่ยวและขยายในชุมชนบ้านคลอง มีรูปแบบการแต่งงานแบผัวเดียวเมียเดียว ครอบครัวเดี่ยวส่วนใหญ่มีการตั้งบ้านเรือนแบบแยกอาศัยอยู่อย่างอิสระในที่ดินของฝ่ายภรรยา (4 ครอบครัว) มีเพียงส่วนน้อยที่ครอบครัวแยกอาศัยอยู่อย่างเป็นอิสระในที่ดินของฝ่ายสามร (2ครอบครัว) ส่วนครอบครัวขยายโดยส่วนใหญ่อาศัยร่วมกับพ่อตาแม่ยาย (5 ครอบครัว) มีเพียงส่วนน้อยที่อาศัยร่วมกับพ่อผัวแม่ผัว (1 ครอบครัว) แสดงให้เห็นว่าครอบครัวมุสลิมในชุมชนบ้านคลองมีค่านิยมการตั้งถิ่นฐานกับพ่อตาแม่ยาย หรือตั้งถิ่นฐานในที่ดินของฝ่ายภรรยาแต่ใกล้เคียงกับเครือญาติ <br /> ครอบครัวเดี่ยวและขยายในชุมชนบ้านคลอง ส่วนใหญ่มีบทบาทและหน้าที่เท่าเทียมกันระหว่าสามีและภรรยา แต่สามีจะเป็นผู้มีบทบาทอย่างสำคัญในเรื่องที่มีสาระสำคัญ สามีและภรรยาทำหน้าที่ในการหาเลี้ยงครอบครัว แต่สามีมักได้รับการยกย่อยจากภรรยาว่าเป็นหลักในการหาเลี้ยงครอบครัว ภรรยามีบทบาทหลักในการดูแลงานบ้านหรือครัวเรือน สามีและลูกๆช่วยเหลืองานบ้านเช่นเดียวกันแต่เป็นส่วนน้อย ส่วนในครอบครัวขยาย เครือญาติมีส่วนช่วยอย่างสำคัญในการดูแลเรื่องครอบครัวและเศรษฐกิจซึ่งมีการแบ่งหน้าที่ไว้อย่างชัดเจน<br /> ครอบครัวมีบทบาทหน้าที่ในการขัดเกลาทางสังคม โดยในกระบวนการของการขัดเกลามีพ่อแม่เป็นหลักในการถ่ายทอด ความเชื่อ ค่านิยม ประเพณีและพิธีกรรมทางศาสนาอิสลาม เครือญาติเข้ามามีบทบาทอย่างสำคัญในการขัดเกลาทางสังคมในครอบครัวขยายมากกว่าครอบครัวเดี่ยว นอกจากนั้นยังมีผู้นำทางศาสนา สถาบันการศานา โรงเรียนตาดีการ์ และสมาชิกในชุมชนเป็นผู้ขัดเกลาทางสังคมอีกทางหนึ่งซึ่งเป็นส่วนเสริม

The purpose of the study was to find out role and function of Muslim family in Ban Khlong Amphoe, Panare Changwat Pattani especially role and function in relation to socialization.<br /> The sample subject were taken by means of the purposive sampling from the villagers who were the residents of the internal zone and external one of community. They were consisted of six nuclear families and six extended ones. Added to these 12 families were those four families who had happened to organize the actual ceremonies, rites and rituals on birth, circumcision and death during the investigator?s field work. The findings were as fellows.<br /> The family patterns in Ban Khlong were organized in favor of both in nuclear family and extended family while marriage pattern went in favor of monogamy. The most nuclear families (4 families) were the neo-local type as well as the matrilocal one while the opposite were few (only two families). On the other hand, the extended family patterns stood up for the matrilocal pattern(5 families). There was only one family which was partrilocal one. This indicated that Muslim family pattern in Ban Khlomg was organized in favor of matrilocal family within the reach of kinship network<br /> The division of labor of nuclear family and extended family was the equalitarian between husband and wife. But husband will have the upper hand when it comes to the most signification decision-making. Although the husband and the wife do sharc familial function to earn there living, the husband is given the priority as a head of a family. The important role performed by the wife was that of home-care and household. Second to her in this regard is that of the husband and children For the extended family, kinship played an important role in the support the family in the matter of home-care and home economy based on the division of specialized function of the kinship.<br /> As far as the role and function in connection with socialization is concerned, both the father and the mother played significant part in transmitting beliefs, values conventions and religious activities based on Islam info the young generation. The kinship as well as the extended family played more part in this regard than nuclear family. In addition, the religious leaders, religious institutes, Tadika school and members of the community played a significant part in socialization second to the above-mentioned ones. <br />
     ผู้ทำ/Author
Nameซีดะห์ สาเมาะ
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ บัณฑิตวิทยาลัย
     เนื้อหา/Content
หน้าปก
บทคัดย่อ
กิตติกรรมประกาศ
สารบัญ
บทที่ 1 บทนำ
บทที่ 2 เอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 3 ระเบียบวิธีวิจัย
บทที่ 4 ผลการวิจัย (หน้า 39-80)
บทที่ 4 ผลการวิจัย (หน้า 81-124)
บทที่ 5 บทสรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ
บรรณานุกรม
ภาคผนวก
ประวัติผู้เขียน
     กลุ่มหัวเรื่อง: วิถีชีวิตและประเพณี
อิสลามศึกษา
     Contributor:
Name: มานพ จิตต์ภูษา
Roles: ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2545
     Type: วิทยานิพนธ์/THESES
     Copyrights :
     Counter : 3547
     Counter Mobile: 58