ชื่อเรื่อง/Title รายงานการวิจัยการศึกษากระบวนการปรับสภาพกากปาล์มน้ำมันเพื่อเพิ่มผลผลิตก๊าซไฮโดรเจนจากกระบวนการหมัก / Study of pretreatment processes on Hydrogen production from fermentation process
     บทคัดย่อ/Abstract งานวิจัยนี้ศึกษาการเพิ่มมูลค่าให้แก่กากปาล์มน้ำมันส่วนเส้นใยผลโดยนำมาผลิตให้ได้ก๊าซไฮโดรเจนแล้วศึกษาศักภาพของการเกิดก๊าซไฮโดรเจนเมื่อผ่านการปรับสภาพกากปาล์มด้วยการการบดและร่อนให้ได้ขนาดไม่ใหญ่กว่า 1 มิลลิเมตร ต่อจากนั้นทำการปรับสภาพ 3 แบบ คือ การปรับสภาพทางเคมีมี 2 วิธี คือ การต้มด้วยน้ำร้อนภายใต้ความดันและต้มด้วยกรดกรดซัลฟูริกเจือจาง 1 เปอร์เซ็นต์ภายใต้ความดัน 15 บาร์ ที่อุณหภูมิ 121 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 1 ชั่วโมง การปรับสภาพทางชีวภาพโดยใช้เอนไซม์ที่สกัดได้จากเชื้อรา Pithomyces maydicus BCC 5744, Aspergillus sp. BCC 4603 และเอนไซม์ผสมเข้มข้น 2 ชนิด คือ Celluclast และ Novozyme ในสารละลายซิเตรทบัฟเฟอร์ ความเข้มข้น 0.05 โมลาร์ ที่มีความเป็นกรดด่างเท่ากับ 5.0 ที่อุณหภูมิ 45 องศาเซลเซียส โดยใช้เวลาในการปรับสภาพ 72 ชั่วโมง และการปรับสภาพทางเคมีตามด้วยการปรับสภาพทางชีวภาพ จากนั้นนำกากปาล์มที่ผ่านการปรับสภาพแต่ละวิธีมาหมักในสภาวะแบบไม่ใช้ออกซิเจนเพื่อผลิตก๊าซไฮโดรเจนในขวดซีรั่มแก้ว ขนาด 100 มิลลิลิตรโดยใช้จุลินทรีย์จากระบบบำบัดน้ำเสียยูเอเอสบีของโรงงานเส้นหมี่ชอเฮงที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 14 วัน แล้วทำการวัดปริมาตรก๊าซรวมและวิเคราะห์องค์ประกอบของก๊าซรวม จากผลการทดลองพบว่ากากปาล์มน้ำมันส่วนเส้นใยผลสามารถผลิตก๊าซไฮโดรเจนได้และศักยภาพการผลิตก๊าซไฮโดรเจนในการปรับสภาพแบบต่างๆ พบว่า การปรับสภาพแบบต่างๆมีผลต่อการผลิตก๊าซไฮโดรเจนโดยการปรับสภาพกากปาล์มส่วนเส้นใยผลด้วยเอนไซม์จาก Aspergillus sp. BCC 4603 ทำให้ปริมาตรก๊าซไฮโดรเจนเพิ่มขึ้นจากกากปาล์มที่ไม่ผ่านการปรับสภาพ 1.53 เปอร์เซ็นต์ คิดเป็นปริมาตรไฮโดรเจน 0.40 มิลลิลิตรต่อ 1 กรัมของแข็งระเหยทั้งหมดของกากปาล์ม

The purpose of study is to convert oil-palm solid waste to valuable biofuel, biohydrogen. Fiber residue from palm-oil fruit was utilized as a raw material for biohydrogen production. The dried fiber was ground to a size less than one millimeter in diameter, and pretreated with two different methods; hot water under pressure, and dilute acid hydrolysis under pressure. The pretreated fiber was incubated with three types of enzyme, i.e., fungal crude enzyme produced from Pithomyces maydicus BCC 5744, Aspergillus sp. BCC 4603; and a mixture of commercial enzymes of Celluclast and Novozyme to liberate free sugar from the fiber. The enzymatic reactions were setup in 100-mL serum bottles, and the pH of the fiber and enzyme was controlled by 50 mM citrate buffer pH 5.0. The reactor content was incubated at temperature of 45o C for 72 hours. After 72-h incubation period a hydrogen-producing microorganism consortium was dispensed to the reactor and the reactor was incubated at 37 o C for 14 days. The evolvement of total volume of biogas and % hydrogen content was monitored. The result indicated that fiber with all three pretreatment methods followed by Aspergillus sp. BCC 4603 crude enzyme treatment increased the hydrogen volume by 1.53% (0.40 mL/ total volatile solid).
     ผู้ทำ/Author
Nameนิพนธ์ พิสุทธิ์ไพศาล
Organization คณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
     เนื้อหา/Content
วิทยานิพนธ์ฉบับเต็มจากฐานข้อมูล TDC
     กลุ่มหัวเรื่อง: ปาล์มน้ำมัน
     Contributor:
Name: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
Roles: ผู้ให้ทุน
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
Address:
     Year: 2550
     Type: งานวิจัย/Research Report
     Copyrights :
     Counter : 1143
     Counter Mobile: 36