ชื่อเรื่อง/Title พฤติกรรมการบริโภคเสื้อผ้ามือสองของเยาวชนมุสลิม : กรณีศึกษานักเรียนโรงเรียนสายบุรีอิสลาม จังหวัดปัตตานี / Consumption of Used Clothes by the Muslim Youth : A Case Study of the Pupils of Saiburi Islam Wittaya School in Changwat Pattani
     บทคัดย่อ/Abstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) พฤติกรรมการบริโภคเสื้อผ้ามือสองของเยาวชนมุสลิมที่เป็นนักเรียนโรงเรียนสายบุรีอิสลามวิทยา อ.สายบุรี จ.ปัตตานี 2) กลไกหรือกระบวนการทางสังคมที่เสริมสร้างพฤติกรรมการบริโภคนิสัยของเยาวชนมุสลิม
โดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็น นักเรียนชายชั้นม.ปลาย จำนวน 15 คน
ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการบริโภคเสื้อผ้ามือสอง คือ เยาวชนมีเป้าหมายที่จะได้รับการยอมรับจากกลุ่มเพื่อนและผู้คนรอบข้าง โดยอาศัยการแต่งกายที่ใช้เสื้อผ้ามือสองที่มียี่ห้อดังๆ ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกซื้อเสื้ผ้ามือสอง ได้แก่ รสนิยมในการเลือกยี่ห้อง รูปแบบการแต่งกาย ราคา สถานที่อยู่อาศัย และการปฎิสัมพันธ์กับบุคคลที่นิยมเสื้อผ้ามือสอง ????แหล่งข้อมูลเสื้อผ้ามือสองได้มาจากกลุ่มเพื่อนโดยการซักถาม การมีส่วนรวมในการซื้อและได้รับข่าวสารข้อมูลจากสื่อต่างๆ กลุ่มผู้ซื้อเสี้อผ้ามือสองสามารถจัดกลุ่มได้ 2 กลุ่ม คือ กลุ่มเลียนแบบ และกลุ่มคิดประดิษฐ์ใหม่ กลุ่มแรกมีพฤตกรรมปรับรับเอาความทันสมัยได้เร็วกว่า ขั้นตอนการเลือกซื้อเสื้อผ้าเริ่มจากการสำรวจ และพิจารณาในรายละเอียด คือรูปทรง สี รอยตำหนิและยี่ห้อ และต่อรองราคา สื้อผ้ามือสองเป็นสินค้ามาจากประเทศมาเลเซีย พ่อค้าจะคัดแยกโดยพิจารณาจากคุณภาพและยี่ห้อ ก่อนจะนำมาขายแก่ผู้ซื้อ การวางขายเสื้อผ้ามือสองในตลาดจะแบ่งตามคุณภาพ โดยเสื้อผ้ามือสองที่คุณภาพดีจะแขวนบโครงร่มกันแดด คุณภาพปานกลางก็จะแขวนราวเหล็ก และคุณภาพต่ำก็จะกองบนพื้นการประเมินการซื้อเสื้อผ้ามือสองใช้เกณฑ์จาก รูปแบบ ยี่ห้อ ราคา กลุ่มเพื่อนและครอบครัว
กลุ่มเพื่อนเป็นกลไกหรือกระบวนการทางสังคมที่เสริมสร้างพฤติกรรมบริโภคนิยม กล่าวคือ การบริโภคเสื้อผ้ามือสองของนักเรียนโรงเรียนสายบุรีอิสลามวิทยาที่ขึ้นอยู่กับพิเคราะห์ยี่ห้อ ราคา สร้างภาพลักษณ์และกระแสความนิยมสมัยใหม่

This research was aimed at studying: 1) a consuming behavior pattern toward used clothes of young Muslim pupils in Saiburi Islam Wittaya School,Amphoe Saiburi, Changwat Pattani and 2) a social mechanism or process that
encouraged such consuming behavior of the Muslim youths through survey and in-depth interview with sample subjects of school boys attending the Upper Secondary at Saiburi Islam Wittaya School. The collected data was analyzed in
favour of a descriptive study as well as a case study .
The findings were as follows.
The Muslim youth sought acceptance from their peer groups and neighbouring persons through wearing the used clothes with famous brands. Factors influencing the decision-makings by the sample groups in choosing
different kinds of used clothes were : taste of clothes with brand names, styles,prices, places of residence and interaction with those who went in for the well ?
known used clothes. The sample groups learnt the sources of used clothes from their friends, direct experience and other sources. They were divided into 2 categories: the imitative and the innovative .The former was more effectively adjusted to modernity than the latter. The steps of purchasing the used clothes began with quality - checking, carefully examining their designs, colors, defects and brand names, followed by price bargaining. The used clothes were by and large the goods imported from Malaysia. Prior to selling, the traders sorted out
quality and brand names of the used clothes. The quality of used clothes would be determined by their placing sites i.e. those of the best quality which would be found hanging under umbrella clotheslines, the medium ones on ironed clotheslines and the lower ones were placed on the grounds. Evaluation of the used clothes was made by carefully scrutinizing at their styles, brand names,
prices ,suggestions by their peers and family members.
The peer groups were by and large the momentous social mechanism by means of which the consuming behavior pattern of the Saiburi Islam Wittaya School pupils was favorably encouraged, formed and fostered after carefully perusing the used clothes with their brand names , price, identity and modernity.
     ผู้ทำ/Author
Nameอับดุลรอฮิม สาเม๊าะ
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ บัณฑิตวิทยาลัย
     เนื้อหา/Content
หน้าปก
บทคัดย่อ
กิตติกรรมประกาศ
สารบัญ
บทที่ 1 บทนำ
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 3 ระเบียบวิธีวิจัย
บทที่ 4 ผลการวิจัย (หน้า 39-66)
บทที่ 4 ผลการวิจัย (หน้า 67-95)
บทที่ 5 บทสรุป อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ
บรรณานุกรม
ประวัติผู้เขียน
     กลุ่มหัวเรื่อง: วิถีชีวิตและประเพณี
     Contributor:
Name: ประจิตร มหาหิง
Roles: ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2545
     Type: วิทยานิพนธ์/THESES
     Copyrights :
     Counter : 12796
     Counter Mobile: 107